สรรพาสามิต คาดประกาศราชกิจาฯ ลดภาษีสุราชุมชน-ไวน์ ภายในสัปาดห์นี้

นาย เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างภาษีอากร และภาษีสรรพสามิตร สุราและไวน์ ซึ่งจะประกอบด้วยไวน์พื้นบ้าน และไวน์นำเข้าจากต่างประเทศ โดยยกเลิกการจัดเก็บภาษีจากการแบ่งชั้นราคา และ กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเป็นอัตราเดียว ว่า คาดว่า ประกาศกฎกระทรวงของกรมสรรพสามิตโครงสร้างภาษีใหม่ จะประกาศได้ในราชกิจจานุเบกษาภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ภาษีปรับลดจากอัตรา 10% เหลือ 5% หรือ ราคาลดลงมาเหลือประมาณ 100 บาทต่อขวด เช่นเดียวกับโครงสร้างภาษีสุราพื้นบ้าน ตามนโยบายรัฐบาล ที่จะมีการประกาศในสัปดาห์เช่นกัน จากเดิมเก็บภาษี 5% เหลือ 0% และเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ หรือ ดีกรี อย่างเดียว เพื่อส่งเสริมรายได้ชุมชน 

 

“ในอดีตกรมฯ สามารถจัดเก็บภาษีสุรา และไวน์ได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท หากสามารถนำสินค้ากลุ่มนี้เข้าสู่ระบบภาษีได้มากขึ้น จะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นโดยตั้งเป้าไว้ต่อปีไว้ที่ประมาณ 900 – 1,000 ล้านบาท จากเดิมประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อปี” นายเอกนิติกล่าว

 

สำหรับแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีสุรา และไวน์ ของรัฐบาลจะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของไทย และยังช่วยเพิ่มรายได้ต่อหัวนักท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลักการสำคัญที่ปรับเพิ่มภาษีไวท์ เนื่องจากในอดีตมีการจัดเก็บภาษีทั้งตามมูลค่า และปริมาณ เช่น หากราคาเกิน 1,000 บาท เก็บตามมูลค่าที่ 10% ตามปริมาณประมาณ 150 ต่อขวด 
 


นายเอกนิติ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้กรมสรรพาสามิตได้นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการช่วยจัดเก็บภาษี เพียงสแกนลงไปที่สแตมป์ข้างขวดไวน์ จะพบข้อมูลของไวท์ขวดนั้นๆ ว่า มาจากประเทศอะไร ราคาเท่าใด ซึ่งจะสะท้อนราคาที่เป็นจริง ซึ่งจะช่วยให้การหลบเลี่ยงภาษีทำได้ยากมากขึ้น พร้อมกันนี้กำลังทำระบบที่สามารถตรวจสอบราคาไวน์ได้ตามสแตมป์ที่ติดบนไวน์ ซึ่งจะบอกได้ว่า สินค้านั้นเหลียกเหลี่ยงภาษีหรือไม่ หรือไม่ตรงกับขวด ซี่งเป็นการทำให้ระบบรัฐบาลโปร่งใสมาก

 

“ตอนนี้ระบบทำเรียบร้อยแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการชะลอเกณฑ์ใหม่เมื่อช่วงเข้าครม. ทำให้กฎหมายชะลอลงไป แต่คาดว่าสัปดาห์นี้น่าจะประกาศได้ เตรียมพร้อมให้เอกชนร่วมพิจารณากับเราด้วย” นาย เอกนิติ กล่าว

 

สำหรับเป้าการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพาสามิตปี 2567 ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังอยู่ที่ประมาณ 598,000 ล้านบาท แต่ด้วยที่กรมฯยังมีหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย และช่วยเหลือดูแลค่าครองชีพประชาชนตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการลดภาษีน้ำมันดีเซลในปีที่ผ่านมา  5 บาท/ลิตร และ 1 บาท/ลิตร ทำให้กรมฯ สูญเสียรายได้ประมาณ แสนกว่าล้านบาท 

 

นอกจากนี้  กรมฯ อยู่ระหว่างการผลักดันการกำหนดพิกัดบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไปอยู่ในพิกัดภาษีสรรพสามิต เนื่องจากการเข้าปราบปรามบุหรีผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการขายในระบบออนไลน์ได้ตรวจพบบุหรีไฟฟ้าจำนวนมาก หรือเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งยอมรับว่า ภาษีบุหรีไฟฟ้านั้น มีความซับซ้อน โดยในอดีตถือว่าเป็นสินค้าที่หาสิ่งทดแทนได้ยาก แต่ปัจจุบันทดแทนได้ง่าย คือ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งพบว่า มีจำนวนผู้บริโภคบุหรี่ลดลง สวนทางกับบุรหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้อยู่ในพิกัดกรมฯ ทำให้เมื่อตรวจพบไม่สามารถปราบปรามดำเนินการได้ เพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจ เช่น เดียวกับกัญชา ใบกระท่อม ต้องส่งให้ตำรวจดำเนินคดีเท่านั้น


“กรมยืนยันว่าการเพิ่มพิกัดบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้เป็นการเก็บภาษีเพื่อหวังผลรายได้ หรือทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการปราบปรามและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดเท่านั้น” นายเอกนิติ กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม กรมฯ ยังอยู่ระหว่างเตรียมจัดเก็บภาษีที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (Carbon TAX) เพราะรัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก อาทิ สินค้ากลุ่มพลังงานและกลุ่มขนส่ง ประมาณ 70-80% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งการจัดเก็บภาษีในส่วนนี้จะสอดคล้องกับกติกาโลก และมาตรฐานสากลด้วย

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.