สว.สอบ'หมอสรณ'ส่อขาดคุณสมบัติ'ประธานฯกสทช.'

รายงานข่าวแจ้งว่า สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. มีการตรวจสอบคุณสมบัติของนพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยได้รับโปรดเกล้าฯตั้งแต่ 13 เม.ย. 2565 เนื่องจากพบเอกสารที่ระบุว่า นพ.สรณ ไปสมัครหรือมีรายชื่อแต่งตั้งเป็น กรรรมการอิสระของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แม้ว่าก่อนหน้านี้ นพ.สรณ ได้รับการสรรหาจากสว.หลังจากสว.ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค. 2565 “รอรับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ” แต่งตั้งเป็นกรรมการ กสทช. ในฐานะ “ประธาน กสทช.” ในวันที่ 13 เม.ย. 2565 ดังกล่าว

สำหรับไทม์ไลน์คร่าวๆสรุปว่า จริงๆ นพ.สรณมีการลาออกจากการเป็นกรรมการแบงก์กรุงเทพก่อนแล้ว ในวันที่ 14 ม.ค. 2565 ตามที่วุฒิสภากําหนด หลังจากสภาโหวตรับรองในวันที่ 20 ธ.ค. 2564 เพราะฉะนั้น หลังจากวันที่ 17 ม.ค. 2565 เป็นต้นมา ไม่ควรมีการกระทำใดๆที่อาจจะเป็นการมิบังควรในระหว่างรอโปรดเกล้าโปรดฯแต่ข้อเท็จจริงพบว่า

วันที่ 21 ก.พ.2565 มีหนังสือแจ้งแต่งตั้งกรรมการ ของแบงก์กรุงเทพ พบ 1 ในรายชื่อ มีชื่อของนพ.สรณ จากนั้นในวันที่ 11 มีนาคม 2565 มีหนังสือ เชิญประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีของธนาคาร และมีวาระเพื่อมีมติรับรองนพ.สรณ เป็นกรรมการอิสระ โดยในประวัติของนพ.สรณ ได้มีการระบุว่าได้ดำรงตำแหน่ง ประธาน กสทช. ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่อย่างใดและทั้งๆที่รู้ว่าตนเองได้รับการสรรหาเป็น กสทช. ต้องทำงานให้กับองค์กรเต็มเวลา และต้องเป็นผู้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติที่กฎหมายกําหนด และเคยลาออกจากกรรมการแบงก์กรุงเทพไปแล้วในวันที่ 14 ม.ค. 2565 แต่กลับมาสมัครใหม่หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมีการเสนอชื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อรอโปรดเกล้าฯ

ด้าน พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข เลขานุการประจำประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ กล่าวว่า กสทช.ไม่ได้ทำหนังสือสอบถามเรื่องคุณสมบัติกับกฤษฎีกา แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ได้รับคำเชิญเป็นกรรมการอิสระตามที่ธนาคารกรุงเทพเชิญ และไม่มีการเข้าร่วมประชุม หรือ รับเบี้ยการประชุม แต่อย่างใด 

ทั้งนี้การตรวจสอบคุณสมบัติทั้งหมดเป็นการตรวจสอบหลายคณะ ทั้ง สว.และองคมนตรี หากคุณสมบัติไม่ผ่าน สว.ย่อมตรวจสอบได้ ในเมื่อประธานไม่ได้รับตำแหน่งถือว่าไม่ผิด

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกสทช.ระบุว่า หนังสือที่นายไตรรัตน์ ส่งถึงกฤษฏีกาเพื่อตีความคุณสมบัติของประธานนั้น เกิดจากความตั้งใจของประธานที่ต้องการให้สอบถามจริง แต่ในภายหลังได้มีการออกหนังสือยกเลิก ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีหนังสือตอบกลับจากกฤษฎีกา

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.