GML ปตท. จับมือ PAN ASIA กางยุทธศาสตร์การขนส่ง กัมพูชา-ไทย-จีน
นายชาญศักดิ์ ชื่นชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างบริษัท Global Multimodal Logistics (GML) ในกลุ่มปตท. กับกลุ่มพันธมิตรด้านการขนส่งบริษัท แพน-เอเชีย ซิลค์โรด ( PAN ASIA ) และผู้ประกอบการฝั่งกัมพูชา เพื่อเตรียมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกัมพูชา - ไทยว่า เนื่องจากเส้นทางนี้มีการเปิดใช้แต่หยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 2564 จึงมาดูว่าเกิดปัญหาอะไร แต่เห็นว่าเส้นทางนี้มีศักยภาพมากเนื่องจากปัจจุบันการขนส่งสินค้าจากไทยไปกัมพูชาใช้เส้นทางทะเลและทางรถเป็นหลัก เมื่อถึงฤดูฝนก็ไม่สามารถที่จะขนส่งได้เนื่องจากสภาพถนนทางฝั่งประเทศกัมพูชา จึงเห็นว่าเส้นทางการขนส่งด้วยรถไฟน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น
‘ ท่านนายกและทางรัฐบาลทราบปัญหาดีแล้ว และเห็นท่านได้มอบหมายและสั่งงานให้หน่วยงานราชการดำเนินการให้เรียบร้อย เรื่องการตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากรต่างๆ ทางปตท. ก็มั่นใจว่าแนวทางที่เราปรับปรุงระบบการขนส่งทางราง จะเสริมจังหวัดสระแก้วให้มีศักยภาพ ผมเชื่อว่าการตัดสินใจของรัฐมีความชัดเจน และเห็นปัญหาชัดเจน หน่วยงานราชการมีแนวทางแน่นอน ก็ไม่นานที่จะทำให้ขนส่งมีประสิทธิภาพเต็มศักยภาพ’
หากเส้นทางนี้ประสบความสำเร็จจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรางที่จะเชื่อมโยงการขนส่งทั้งภูมิภาคโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ด้านนาย จู ซีจวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แพน-เอเชีย ซิลค์โรด และอดีตผู้บริหารระดับสูงการขนส่งของประเทศจีน กล่าวว่าทุกวันนี้ส่งของจากกัมพูชาไปจีนใช้เวลาเยอะมาก แต่ถ้าขนส่งทางนี้จะเหลือ 4-5 วัน
‘ เราก็ไปทดลองเกือบทุนเส้นทางของเมืองจีน และเราจะเซ็นสัญญากับ 5 มณฑล ครอบคลุมจำนวนประชากร 500 ล้านคน ซึ่งสามารถใช้ระบบการขนส่งทางรถไฟขนสินค้าเกษตรจากเมืองไทย- จีน นอกจากนี้เราจะขนส่งสินค้า กัมพูชามาประเทศไทย และใช้ไทยเป็นศูนย์กลางส่งไปจีนมากยิ่งขึ้น’
ทั้งนี้ การขนส่งโดยระบบรางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางขนส่งระบบราง ไทย-ลาว-จีน โดยเส้นทางสินค้าจากกัมพูชาจะถูกส่งมายังประเทศไทย รวมไปถึงสินค้าจากทางมาเลเซียเช่นกัน ผ่านระบบขนส่งรางของไทยเข้าไปยังชายแดนลาวและสู่ประเทศจีนได้ ซึ่งในปัจจุบัน การขนส่งไทยจากจีนโดยส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางเรือ โดยขนสินค้าไปยังท่าเรือฝั่งตะวันออกและใช้ขนส่งทางบกของจีนขยายสินค้า ส่วนการขนส่งจากไทย-ลาว ก็ยังไม่เต็มศักยภาพเช่นกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องดำเนินการต่อไป
นายชาญศักดิ์ ชื่นชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จากเป้าหมายของรัฐบาลมั่นใจว่าประเทศไทยทำได้ด้วยการบริหารจัดการระบบที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การจราจรข้ามแม่น้ำโขงระยะสั้น และขยายการลงทุนเท่าที่จำเป็น ส่วนฝ่ายรัฐแก้ไขระเบียบข้อจำกัดต่างๆ และเอกชนก็จะเข้ามาในส่วนที่ทำได้ หากเกิดการร่วมมือกันก็แน่นอนว่าจะไปได้ไกล
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.