ดร.สมชาย ชี้ ทักษิณ กลับไทย สะท้อนความขัดแย้งแบ่งขั้วลดลง
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า การเดินทางกลับมาไทยของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สะท้อนได้ว่า ความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วการเมืองเก่าลดลง ไม่เช่นนั้นคงไม่เปิดโอกาสให้นายทักษิณ กลับมาได้ในวันนี้ เหตุผลน่าจะเป็นเรื่องของกาลเวลาที่ผ่านมายาวนาวเป็นตัวช่วย และสถานการณ์ของประเทศที่รอการแก้ไขปัญหาทำให้ต้องร่วมมือกัน อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า ปัญหาความขัดแย้งของการเมืองของไทยยังคงมีอยู่ ไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แต่จะมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นตามมมาจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ไม่รู้จักนายทักษิณ และไม่ยอมรับการจับมือของขั้วอำนาจเก่า รวมถึงปัญหาจากการบริหารงานของรัฐบาลผสม
“ความขัดแย่งอันเก่าชะลอตัวลง จึงเปิดโอกาสให้คุณทักษิณกลับมาได้ แต่จะความขัดแย่งอันใหม่จะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลต้องบริหารดี เป็นการความขัดแย้งของประชาชนหลาย กลุ่มโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมรับรัฐบาลเก่า และต้องการเรียกร้องการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ 2 กลุ่มเหมือนที่ผ่านมาแล้ว” รศ.ดร.สมชาย กล่าว
รศ.ดร.สมชายกล่าวต่อว่า ความไม่เห็นด้วยของคนรุ่นใหม่ จะใช้กระแสโซเชียลมีเดีย ทำให้การขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น เหมือนเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ดังนั้น ความสำคัญภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ รัฐบาลจะต้องบริหารให้เกิดดุลภาพของกลุ่มต่างๆได้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์ให้กลายเป็นความรุนแรง ซึ่งมองว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นโทจย์ใหม่ของรัฐบาลใหม่
อย่างไรก็ตาม จากบรรยากาศทางการเมืองดังกล่าว เอื่อต่อการเลือกนายกฯ ในรอบนี้ผ่านไปได้ เพราะสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว.ได้สิ่งที่ต้องการแล้ว คือ พรรคเพื่อไทยไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 และสว.เองก็รู้ถึงสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ คงไม่ปล่อยให้การจัดตั้งรัฐบาลยืดเยื้อต่อไป ทางด้านพรรค 2 ลุง ก็ช่วยให้ สว.ในสาย ให้การโหวตนายกฯรอบนี้ผ่านได้ตามเสียงที่สภาฯกำหนด แต่สิ่งที่สำคัญ แม้จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ปัญหาใหม่ยังมีโจทย์หินทางเศรษฐกิจรอให้แก้ไขอยู่ นั่นคือ จะบริหารเศรษฐกิจอย่างไรให้มีดุลยภาพ คือ กระตุ้นให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดี ควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยไม่กระทบเสถียรภาพการคลัง คู่ขนานไปกับ การลดภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งรัฐบาลที่มาจาก 11 พรรคร่วม จะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย
ส่วน นาย เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ที่สภาฯมีมติเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้น ไม่สามารถบอกได้ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวนายเศรษฐาว่า จะสามารถพิสูจน์ฝีมือในการบริหารเศรษฐกิจประเทศได้มากน้อยเพียงใด และนายเศรษฐาสามารถ จับมือกับ 11 พรรคเพื่อเดินหน้าบริหารประเทศได้แนบแน่นและยาวนานเพียงใด เพราะต้องยอมรับว่า รัฐบาลผสมจะไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงาน ถือเป็นโจทย์รัฐบาลควบคุมยาก
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.