กทม.ค่าฝุ่นพิษPM2.5ติดTOP10โลก 'เศรษฐา'ห่วงสุขภาพประชาชนสั่งรับมือ

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนและจะเข้าฤดูหนาว มีแนวโน้มความกดอากาศที่สูงขึ้น อากาศไม่ถ่ายเท จะทำให้มีฝุ่นละอองสะสม และจากการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า สถานการณ์ที่ฝุ่นละอองอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) จะคงอยู่อีก 1 - 2 วัน จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ปรับปรุงค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (เดิม 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ) และปรับปรุงค่าดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (Air Quality Index : AQI) ให้มีความสอดคล้องกับค่ามาตรฐานใหม่ ทำให้ระบบการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร การรายงานคุณภาพอากาศ การคาดการณ์คุณภาพอากาศ ได้รวดเร็วขึ้นผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4Thai พร้อมขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 

โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้เตรียมและยกระดับมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงปี 2567 อาทิ การกำหนดพื้นที่เป้าหมายแบบมุ่งเป้าลดพื้นที่เผาไหม้ในพื้นที่เผาซ้ำซาก คือ 10 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ การจัดระเบียบควบคุมผู้ใช้ประโยชน์ การทำกติการ่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพการบัญชาการสถานการณ์ไฟป่า การตั้งจุดตรวจสกัด พร้อมดึงประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วม และเร่งนำระบบการรับรองผลผลิตทางเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM 2.5 Free) มาใช้ สร้างกลไกการบริหารจัดการระดับชาติและระดับจังหวัด ยกระดับการเจรจาเป็นระดับทวิภาคีและใช้เงื่อนไขทางการค้าเพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยดึงภาคเอกชนร่วมลงทุนแก้ไขปัญหา โดยให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจตอบแทน โดยมีเป้าหมาย ดังนี้ 

1) พื้นที่เผาไหม้ 10 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวน ลดลงร้อยละ 50 
2) พื้นที่เกษตรกรรมเผาไหม้ ลดลงร้อยละ 50 
3) ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ลดลงร้อยละ 40 
และ 4) จำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน ลดลงร้อยละ 30

“รัฐบาลคำนึงถึงคุณภาพอากาศที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำชับให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังสถานการณ์ วางแผนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ขอให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว ระมัดระวังและดูแลตัวเองเป็นพิเศษ พร้อมเน้นย้ำให้ประชาชนติดตามสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด” นายสัตวแพทย์ชัย กล่าว

อากาศกทม.แย่ติดอันดับโลก

เว็บไซต์ IQAir เก็บข้อมูลและรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก รายงานสถานการณ์ล่าสุด เมื่อเวลา 07.30 น. พบว่า คุณภาพอากาศของ "กรุงเทพมหานคร" อยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประเทศไทย ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ณ เวลา 07:00 น. ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ  โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 24.6 - 55.7 มคก./ลบ.ม.

เปิด48พื้นที่กทม.ค่าฝุ่นมีผลกระทบสุขภาพ

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) พบว่า ตรวจวัดได้ 29.8-55.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 48 พื้นที่ ดังนี้..

1.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 55.7 มคก./ลบ.ม.
2.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 52.7 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
4.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 52.0 มคก./ลบ.ม.
5.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 51.4 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 50.1 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 49.8 มคก./ลบ.ม.
8.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 48.6 มคก./ลบ.ม.
9.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 47.9 มคก./ลบ.ม.
11.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.
12.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.

13.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 46.6 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 46.4 มคก./ลบ.ม.
15.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 46.4 มคก./ลบ.ม.
16.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
17.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 46.1 มคก./ลบ.ม.
18.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 45.6 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
20.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 44.8 มคก./ลบ.ม.
21.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 44.6 มคก./ลบ.ม.
22.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 44.3 มคก./ลบ.ม.
23.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 44.1 มคก./ลบ.ม.
24.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.

25.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 42.9 มคก./ลบ.ม.
26.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 42.6 มคก./ลบ.ม.
27.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
28.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 42.0 มคก./ลบ.ม.
29.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 41.9 มคก./ลบ.ม.
30.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
31.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
32.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 41.5 มคก./ลบ.ม.
33.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
34.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.
35.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.
36.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.

37.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
38.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
39.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
40.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 39.0 มคก./ลบ.ม.
41.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
42.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 38.3 มคก./ลบ.ม.
43.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 38.0 มคก./ลบ.ม.
44.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.
45.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
46.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
47.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
48.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.

ข้อแนะนำสุขภาพ ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์ 

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร : ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.