สส.อดีตก้าวไกล ไม่กลัวดาบ2 เรืองไกร ยื่นป.ป.ช.ฟันข้อหาผิดจริยธรรมร้ายแรง

กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.)ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดทางไปรษณีย์ EMS ถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้รีบดำเนินการไต่สวนตามอำนาจหน้าที่และส่งส่งเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1) ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสังกัดพรรคก้าวไกล 44 คน มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง หรือไม่ ซึงมีบทลงโทษสูงสุด คือเพิกถอนสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกลและเพิกถอนกรรมการบริหารพรรค 10ปี รณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ระหว่างการหาเเสียงเลือกตั้งปี2566 


นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ  สส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ไม่มีความกังวลอะไร จริยธรรมทางการเมืองว่าเป็นเรื่องของรายบุคคล ซึ่งเชื่อว่าสส.แต่ละคนก็สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงในส่วนของตัวเองได้ว่ากระทำสิ่งนั้นไปเพื่ออะไร และยืนยันว่าทุกคนไม่ได้ทำผิดจริยธรรม แค่มุ่งหวังให้การแก้ไขกฎหมายต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า

ขณะที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคและอดีตสส.พรรคก้าวไกล บอกเพิ่มเติมว่า เรื่องที่ถูกร้องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบจริยธรรมครั้งนี้ ไม่กังวลแต่ไม่ประมาท ยังยืนยันในความบริสุทธิ์ใจ พร้อมทั้งตั้งคำถามกลับว่า จริยธรรมของคนทุกคนไม่เหมือนกัน และไม่มีมาตรฐานที่ตายตัว ไม่ถึงขั้นผิดกฎหมายด้วยซ้ำแต่โทษกลับรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิตทางการเมือง ตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนทางกฎหมายสิ่งที่กระทำกับโทษที่ต้องรับไม่สอดคล้องกันหรือไม่

ก่อนหน้านี้ นายเรืองไกร กล่าวว่า การที่สส.44คนอดีตสังกัดพรรคก้าวไกลร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการลดทอนคุณค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วมีผลผูกพันองค์กรอิสระด้วย การร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นพฤติการณ์ร้ายแรง  รัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคสาม จึงอยู่ในอำนาจการไต่สวนของป.ป.ช.

"กรณีมีเหตุอันควรขอให้ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจด้วยการรีบส่งเรื่องให้ศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1) เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 บัญญัติว่า การพิจารณาคดีให้ใช้ระบบไต่สวน... และมาตรา 76 บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้ว ย่อมเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพัน ป.ป.ช.หาจำต้องไต่สวนข้อเท็จจริงใหม่แต่อย่างใด”นายเรืองไกรกล่าว 
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.