รู้จัก7อรหันต์พิทักษ์ระบบคุณธรรมตำรวจ ก่อนนัดชี้ขาดชะตา"บิ๊กโจ๊ก"

คณะกรรมการระบบพิทักษ์ข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) ได้นัดประชุม เวลา 15.00น.พิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน กรณีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผบ.ตร.  ยื่นคำร้องว่า พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผบ.ตร. รักษาการผบ.ตร.ออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

คณะกรรมการ ก.พ.ค.ตร. เปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ยื่นคำแถลงเป็นหนังสือ และแถลงด้วยวาจาเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการแสวงหาข้อเท็จจริงจากนั้น ก.พ.ค.ตร.จะนัดประชุมเพื่อมีคำวินิจฉัย วันที่ 1 ส.ค. 2567 (เวลา 13.30 น.)โดยผู้ช่วย เลขานุการ ก.พ.ค.ตร.จะเป็นผู้ให้ข่าวและแจ้งคำวินิจฉัยให้คู่กรณีตามที่อยู่ซึ่งแต่ละฝ่ายแจ้งไว้  

สำหรับคณะกรรมการ ก.พ.ค.ตร.มีทั้งสิ้นทั้งหมด7คน ลงนามแต่งตั้งโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 356/2566  ลงวันที่ 28 พ.ย. 2566 ประกอบด้วย 

1.นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์  อดีตเป็นประธานแผนกคดีบริหารงานบุคคล ในศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน ก.พ.ค.ตร.

2.นายธวัชชัย ไทยเขียว อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็น กรรมการ ก.พ.ค.ตร.

3.พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี  อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อดีตผบ.ตร. เป็น กรรมการ ก.พ.ค.ตร.

4.นายวันชาติ สันติกุญชร  อธิบดีอัยการสำนักงานคณะกรรมการอัยการ อัยการอาวุโส เป็น กรรมการ ก.พ.ค.ตร.

5.พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็น กรรมการ ก.พ.ค.ตร.

6.พล.ต.อ.อำนาจ อันอาตม์งาม อดีต ที่ปรึกษา สบ10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็น กรรมการ ก.พ.ค.ตร.

7.พล.ต.ท.ปัญญา เอ่งฉ้วน อดีตผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็น กรรมการ ก.พ.ค.ตร. และ เลขานุการ

ก.พ.ค.ตร.มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงครั้งเดียวมีอำนาจหน้าที่ เสนอแนะต่อ ก.ตร. เพื่อจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารงานบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับพิทักษ์ระบบคุณธรรม พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์

พิจารณาเรื่องคุ้มครองระบบคุณธรรม ออกกฎ ก.พ.ค.ตร.ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อปฏิบัติ ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ ก.พ.ค.ตร.

คำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.ตร. เกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ หากเป็นการวินิจฉัยว่า กฎ ก.ตร. ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ ในส่วน พล.ต.อ.วิเชียร หนึ่งในคณะกรรมการได้ยื่นถอนตัวตั้งแต่ที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เริ่มยื่นอุทธรณ์คำสั่งออกจากราชการ เนื่องจากเคยมีข้อพิพาทระหว่างกันหลายเรื่องในอดีต

ทั้งนี้ การพิจาณาของก.พ.ค.ตร.มีความเป็นไปได้ใน4แนวทาง ประกอบด้วย 

1.ไม่รับอุทธรณ์ เพราะไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ ก.พ.ค.ตร. จะรับไว้พิจารณาได้ เช่น เป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจ หรือผู้อุทธรณ์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ตามกฎหมาย หรือยื่นพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นเรื่องที่เคยอุทธรณ์ และ ก.พ.ค. ตร.ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนั้นแล้ว  

2.อุทธรณ์มาแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณา ก.พ.ค.ตร. ก็จะมีคำวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ และจำหน่ายออกจากสารบบ โดยไม่ต้องพิจารณาในเนื้อหาของอุทธรณ์ ซึ่งกรณีคำร้องอุทธรณ์ของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กรรมการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งรับไว้พิจารณาแล้วดังกล่าวข้างต้น

3.ยกอุทธรณ์ ด้วยคำสั่งทางปกครองที่นำมาอุทธรณ์เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น ให้แก้ไข เพราะคำสั่งที่นำมาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องบางส่วน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายบางส่วน จึงวินิจฉัยให้แก้ไขในส่วนที่ไม่ถูกต้อง

4.ยกเลิกคำสั่งลงโทษ และอาจมีคำสั่งให้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์ด้วยก็ได้ รวมทั้งเร่งรัดติดตามการเยียวยา หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่จะมีคำวินิจฉัยให้เพิ่มโทษไม่ได้และ เนื่องมาจากคำสั่งที่นำมาอุทธรณ์นั้น เป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฏหมาย อุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์นั้นฟังขึ้น จึงวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่ง ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับให้เพิกถอนคำสั่ง

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.