จับตา'เศรษฐา'ถกครม.ศก.ของบกลางปี67แก้ปมGDPไทยโตต่ำสุดในอาเซียน

เศรษฐกิจไทยเวลานี้ รัฐบาลทั้งนายกฯเศรษฐา ทวีสิน และพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯรมว.คลัง ยอมรับตรงกันว่า อยู่ในสภาวะติดบ่วง ซึ่งในไตรมาสแรกของปี67 ไทยมีอัตราการเติบโตของจีดีพี อยู่ที่1.5 เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เวียดนามและฟิลิปปินส์ มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเท่ากันที่ 5.7  อินโดนิเซียที่5.1 มาเลเซีย 4.2 และสิงคโปร์ 2.7 ทำให้เกิดวาระพิเศษนัดประชุมครม.เศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า 27พ.ค.67

"ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปีนี้ที่2.5% เทียบกับหลายประเทศเพื่อนบ้านแล้ว เติบโตมากกว่าไทย โดยหลายประเทศเติบโตมากกว่า ถ้าเราเติบโตแค่2.5%แม้จะเป็นตัวเลขที่ดีกว่า แต่เราไม่ควรจะพึงพอใจแค่นี้ ควรหามาตรการทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ตามศัยภาพ หรือโตมากกว่า 2.5% โดยศักภาพเราคิดว่าไทยจะเติบโตได้มากกว่านี้ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเร่งหามาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ" พิชัย ระบุถึงเหตุผลของการนัดประชุมครม.เศรษฐกิจ วาระพิเศษดังกล่าว

การประชุมครม.เศรษฐกิจวาระพิเศษมีการวางกรอบที่จะขอเพิ่มงบประมาณกลางปี67 จำนวนสูงสุด 1.22แสนล้านบาท เพื่อทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจไทยในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ทว่าปัญหาว่าด้วยเรื่องงบประมาณและปัญหาเศรษฐกิจ ผูกติดอยู่กับรัฐบาลเพื่อไทย การลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายภาครัฐล้วนแล้วแต่ติดล่มทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องมาแก้ไขงบประมาณภาครัฐก่อน

แต่การขอ"งบประมาณกลางปี67" จำนวนสูงสุด 1.22แสนล้านบาทเป็นเรื่องที่ครม.ยังตกลงกันไม่ได้ เฉลิมพล เพ็ญสูตร ผอ.สำนักงบประมาณชี้ว่า "การของบกลางปี 67"มีข้อจำกัดจาก"งบประมาณปี67"ที่มีการจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานต่างๆแล้ว อีกทั้งได้มีการออกมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบฯ และเหลืองบฯไม่มาก ขณะที่เศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัว และปลายปีจะมีการโอนงบฯกรณีหากหน่วยงานรัฐมีการใช้ไม่หมดและต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน เพื่อนำไปสนับสนุนโครงการเงินดิจิทัลวอเล็ต อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวลง  

ดังนั้น กรรมวิธีการดิ้นเพื่อหาช่องในการใช้จ่ายงบฯให้ไทยรอดพ้นจีดีพีตกต่ำในกลุ่มอาเซียน จึงเป็นสิ่งท้าทายฝีมือรัฐบาลนายกฯเศรษฐา อีกประการคือที่มาของการชง"งบกลางปี67" เนื่องจากการบริหารจัดการ"งบประมาณรายจ่ายประจำปี2567"วงเงิน 175,000 ล้านบาท ที่มีวงเงินไม่เพียงพอเพราะมีการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของหน่วยราชการต่างๆไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และอีกสิ่งหนึ่งที่จะกดทับก็คืออัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากเงินกู้ทำให้กลายเป็นปัญหาที่"สลัดไม่หลุด"

การจัดตั้งงบฯกลางปี67 จำนวน1.22แสนล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตา สอดรับกับคำมั่นของ พิชัย รองนายกฯและรมว.คลัง ที่ยืนยันว่าการดำเนินการครั้งนี้ จะเป็นไปตามกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้อง3ฉบับทั้งพ.ร.บ.งบประมาณ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ รายละเอียดทั้งหมด สำนักงบฯจะเสนอคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลัง พิจารณารายละเอียดและจะเสนอครม.อีกครั้ง 28พ.ค.67 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.