เรืองไกร จี้ ยุบก้าวไกล ตัดสิทธิกก.บห. ชูแก้ม.112 เล็งเอาผิด เศรษฐา อุ๊งอิ๊ง
วันที่1 ก.พ. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.)เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เพื่อยื่นหนังสือ ขอให้ กกต. รีบยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พรรคก้าวไกลกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา92 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือไม่ และเข้าข่ายจะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรรมการบริหารพรรคก้าวไกล หรือไม่
โดยเนื้อหาในหนังสือระบุว่า ข้าพเจ้า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ขอให้กกต. รีบยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พรรคก้าวไกล กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2560 มาตรา92 วรรคหนึ่ง(1) (2)หรือไม่ และเข้าข่ายจะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรรมการบริหารพรรคก้าวไกลหรือไม่ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ข้อ1. ตามที่อ้างถึง1. ข้าฯ เคยร้องขอให้กกต. ดำเนินการเรื่องนี้มาแล้ว ซึ่งรายละเอียดควรทราบดีแล้วนั้น
ข้อ 2. ตามที่อ้างถึง 2. ข้าฯ ได้ร้องย้ำขอให้ กกต. ดำเนินการเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรายละเอียดต้องทราบดีแล้วนั้น
ข้อ 3. ต่อมาวันที่ 31 มกราคม 2567 ตามข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่5/1567 ได้เผยแพร่ผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่า "ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
อีกทั้งไม่ให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรมนูญมาตรา 49 วรคสอง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 74"
ข้อ4. เนื่องจากผู้ถูกร้องทั้งสอง ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่1) และพรรคก้าวไกล(ผู้ถูกร้องที่ 2) กรณีจึงน่าจะมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับคำร้องของข้าฯ ตามที่อ้างถึง 1. และ 2. ซึ่งกกต. ยังไม่ได้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 49 แล้ว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด ผูกพันกกต.ด้วย ดังนั้นโดยผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่อ้างถึง3.
กกต.จึงต้อง นำไปดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ. 2560 มาตรา 92 (1) หรือ (2) เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ กกต. รีบยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พรรคก้าวไกลกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง(1) (2) หรือไม่ และเข้าข่ายจะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรรมการบริหารพรรคก้าวไกล หรือไม่
นายเรืองไกร เปิดเผยด้วยว่ากกต. ต้องทำตามหน้าที่และอำนาจ ไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นความที่ปรากฎแล้ว จะอยู่เฉยไม่ได้ กกต.ไม่ได้ผิดที่เคยยกคำร้องก่อนหน้านี้ เพราะเป็นดุลยพินิจในชั้นของนายทะเบียน จากนี้จึงขอให้ไปดำเนินการต่อ และหลังจากนี้จะไปร้อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป
ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองอื่น รวมถึงพรรคเพื่อไทย มีนโยบายแก้ไขมาตรา 112 นายเรืองไกร กล่าวว่า กำลังเก็บรวบรวมหลักฐานอยู่ ไม่ต้องห่วง หากมีน้ำหนักพอ จะยื่นเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ รวมถึง นายเศรษฐา ทวีสิน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ที่เคยหาเสียงในประเด็นแก้ไขมาตรา112 ด้วย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.