ด่วน! มติศาลรธน.วินิจฉัย"พิธา"รอดคดีถือหุ้นiTV
ที่ศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ โดยมติเสียงข้างมาก เห็นว่า การถือครองหุ้นสื่อของนายพิธา ไม่ขัดต่อต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 89 (3) เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธาไม่สิ้นสุดลง ก้วยเหตุบริษัทไอทีวีไม่ได้ประกอบกิจการสื่อ
ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุในคำวินิจฉัยว่า แม้ iTV จะได้ยุติกิจการ และอยู่ระหว่างข้อพิพาทในคดีกับสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี iTV ได้เคยทำสัญญาเข้าร่วมงานกับสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2538 ระยะเวลา 30 ปี
ต่อมา สำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งมายัง สปน.แจ้งบอกเลิกสัญญาและ iTV ได้แจ้งไปยังสำนักงานประกันสังคมว่า ไม่มีพนักงาน เนื่องจาก ยุติการดำเนินกิจการชั่วคราว ตั้งแต่ 8 มีนาคม 2550 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากติดคดี และงบการเงินของบริษัท iTV เคยดำเนินดำเนินกิจการสื่อโทรทัศน์ โฆษณา แต่สำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรียกเลิกสัญญาแล้ว จึงไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว และบริษัทลูก ก็ได้ยุติการดำเนินกิจการไปด้วย แต่เพื่อพิจารณาเอกสารภาษีเงินได้ พบงบการเงิน และรายได้จากธุรกิจสื่อมวลชนเป็น 0 บาท และมีรายได้จากดอกเบี้ยรายรับ
ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุในคำวินิจฉัยว่า แม้ iTV จะได้ยุติกิจการ และอยู่ระหว่างข้อพิพาทในคดีกับสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี iTV ได้เคยทำสัญญาเข้าร่วมงานกับสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2538 ระยะเวลา 30 ปี
บริษัทไอทีวีฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการสื่อโทรทัศน์ รายการ และโฆษณา เป้นสื่อกลางในการส่งข่าวสารไปสื่อมวลชนได้เป็นการทั่วไป แต่เมื่อแบบงบการเงิน ตั้งแต่ปี 2560-2565 ปรากฏข้อมูลที่สอดคล้องว่า ไอทีวี ยุติการดำเนินกิจการตั้งแต่สำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี บอกเลิกสัญญา ทำให้คลื่นสัญญากลับมาเป็นของสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี และไอทีวี ไม่สัญญาณดำเนินกิจการได้ต่อไป จนเกิดข้อพิพาท ระหว่างไอทีวี และสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อพิพาทคดีดังกล่าว หากในท้ายที่สุดเป็นฝ่ายชนะคดี ก็ไม่ได้มีผลให้บริษัทไอทีวี ได้รับมอบคลื่นความถี่คืน ข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า ไอทีวี ไม่มีสิทธิ์ในการประกอบสื่อ ตั้งแต่ 7 มีนาคม 2550 และเมื่อไอทีวี ยังคงสถานะนิติบุคคลไว้ เพื่อดำเนินคดีในศาลเท่านั้น และยังไม่ปรากฏรายได้จากสื่อมวลชน แต่มีรายได้จากการลงทุน และดอกเบี้ยรับเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อวันที่นายพิธา ลงสมัครรับเลือกตั้ง บริษัทไอทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชนใด ๆ การถือหุ้นของนายพิธา จึงไม่มีลักษณะต้องห้าม และสามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ สส.ของนายพิธา ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
ต่อมา สำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งมายัง สปน.แจ้งบอกเลิกสัญญาและ iTV ได้แจ้งไปยังสำนักงานประกันสังคมว่า ไม่มีพนักงาน เนื่องจาก ยุติการดำเนินกิจการชั่วคราว ตั้งแต่ 8 มีนาคม 2550 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากติดคดี และงบการเงินของบริษัท iTV เคยดำเนินดำเนินกิจการสื่อโทรทัศน์ โฆษณา แต่สำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรียกเลิกสัญญาแล้ว จึงไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว และบริษัทลูก ก็ได้ยุติการดำเนินกิจการไปด้วย แต่เพื่อพิจารณาเอกสารภาษีเงินได้ พบงบการเงิน และรายได้จากธุรกิจสื่อมวลชนเป็น 0 บาท และมีรายได้จากดอกเบี้ยรายรับ
บริษัทไอทีวีฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการสื่อโทรทัศน์ รายการ และโฆษณา เป้นสื่อกลางในการส่งข่าวสารไปสื่อมวลชนได้เป็นการทั่วไป แต่เมื่อแบบงบการเงิน ตั้งแต่ปี 2560-2565 ปรากฏข้อมูลที่สอดคล้องว่า ไอทีวี ยุติการดำเนินกิจการตั้งแต่สำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี บอกเลิกสัญญา ทำให้คลื่นสัญญากลับมาเป็นของสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี และไอทีวี ไม่สัญญาณดำเนินกิจการได้ต่อไป จนเกิดข้อพิพาท ระหว่างไอทีวี และสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อพิพาทคดีดังกล่าว หากในท้ายที่สุดเป็นฝ่ายชนะคดี ก็ไม่ได้มีผลให้บริษัทไอทีวี ได้รับมอบคลื่นความถี่คืน ข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า ไอทีวี ไม่มีสิทธิ์ในการประกอบสื่อ ตั้งแต่ 7 มีนาคม 2550 และเมื่อไอทีวี ยังคงสถานะนิติบุคคลไว้ เพื่อดำเนินคดีในศาลเท่านั้น และยังไม่ปรากฏรายได้จากสื่อมวลชน แต่มีรายได้จากการลงทุน และดอกเบี้ยรับเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อวันที่นายพิธา ลงสมัครรับเลือกตั้ง บริษัทไอทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชนใด ๆ การถือหุ้นของนายพิธา จึงไม่มีลักษณะต้องห้าม และสามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ สส.ของนายพิธา ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
ขณะที่ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงสาเหตุความล่าช้าของคดีนี้ว่า ศาลฯ เคยแจ้งคู่ความในคดีนี้ ให้ทราบว่า ผู้ถูกร้อง หรือนายพิธา ได้ขอขยายเวลาการชี้แจงต่อศาล 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วัน รวม 60 วัน ทั้งที่คดีดังกล่าว ควรเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ 60 วันที่แล้ว โดยยืนยันว่า ศาลไม่ได้ล่าช้า และยังตำหนิการแสดงความเห็นเกี่ยวกับคดีในผ่านสื่อมวลชน ซึ่งถือว่า เป็นการกระทำที่ไม่สมควร และไม่เหมาะสม เพราะอาจเป็นการชี้นำกดดันศาลได้
ก่อนนี้ นายพิธา เคยให้สัมภาษณ์พิเศษผ่านรายการ"เนชั่นสุดสัปดาห์กับ 3 บก."ดำเนินรายการโดย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร และนายบากบั่น บุญเลิศ 3 บรรณาธิการบริหารเครือเนชั่น เผยแพร่ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 ในประเด็นถือหุ้นสื่อ ว่า “หากศาลตัดสินออกมาเป็นคุณ จะทำหน้าที่ต่อในสภาฯ ส่วนจะกลับไปเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกลอีกครั้งหรือไม่ นายพิธาแล้วแต่สมาชิกพรรคที่จะมีการประชุมใหญ่ช่วงปลายเดือน เม.ย.2567
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทันทีที่นายพิธารอดคดีถือหุ้น iTV จะกลับไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคก้าวไกลและจะแต่งตั้งให้ นายชัยธวัช ตุลาธน กลับมาทำหน้าที่เลขาธิการพรรคอีกครั้ง
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.