'สรรเพชญ'ชี้รัฐกู้เงินแจกดิจิทัลสร้างหนี้กว่า1.1ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา ได้ให้ความเห็น กรณีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่ง ความเห็นกรณี การออก พ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อจัดทำนโยบาย Digital Wallet กลับมายังกระทรวงการคลัง ว่าตามที่ตนได้รับทราบข่าวกฤษฎีกาไม่ได้ฟันธงว่ารัฐบาลสามารถจัดทำนโยบาย Digital wallet ได้หรือไม่ แต่กฤษฎีกาทำหน้าที่ส่งความเห็นในเชิงกฎหมายเพียงเท่านั้น โดยตนเห็นว่ากฤษฎีกากำลังบอกรัฐบาลว่าหากจะจัดทำนโยบาย Digital Wallet ต้องพิจารณาภายใต้กฎหมายใดเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ เห็นว่านโยบายรัฐบาล คือฉันทามติของสังคมที่ไม่สามารถหักล้างได้ ขณะเดียวกัน หากสุดท้ายมันผิดกฎหมายจริงๆ  รัฐบาลจำเป็นรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและการเมืองเป็นอย่างน้อย เพราะมันคือนโยบายหาเสียงที่จำเป็นตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ก่อนจะประกาศหาเสียงเลือกตั้ง 

กรณีตัวนโยบาย Digital Wallet 10,000 บาท เป็นนโยบายเรือธงของพรรคเพื่อไทยที่ประกาศโดยนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ภายใต้ความฮือฮาก็มีข้อกังขาถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย มาจนถึงวันนี้ ความชัดเจนของนโยบายก็ยังไม่คืบหน้า เพราะรัฐบาลไม่มีเงินที่จะมาทำนโยบาย อีกทั้งรัฐบาลเองก็มีความสับสนในช่วงแรกว่าจะกู้หรือไม่กู้ จะใช้เงินผ่าน Platform หรือ Application ซึ่งรัฐบาลเองก็ยังไม่มีความ โดยนโยบาย Digital wallet ที่พรรคเพื่อไทยได้ยื่นไว้กับ กกต. ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เรื่องของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องให้จ่ายเงิน พบว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล วงเงิน 560,000 ล้านบาท ซึ่งที่น่าสังเกตคือที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการโดยจะมาจาก 4 แหล่ง คือ

          1) รายได้ที่รัฐจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในปี 2567 จำนวน 260,000 ล้านบาท
          2) ภาษีที่ได้มาจากผลคูณต่อเศรษฐกิจจากนโยบาย 100,000 ล้านบาท
          3) การบริหารจัดการงบประมาณ 110,000 ล้านบาท
          4) การบริหารงบประมาณที่ซ้ำซ้อน 90,000 ล้านบาท 
          
ซึ่งไม่มีเรื่องของการกู้ จึงหมายความว่า นโยบายนี้จะสามารถดำเนินการได้โดยใช้เงินที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างภาระให้กับประเทศเพิ่ม  

นอกจากนี้ นายสรรเพชญ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าการทำนโยบาย Digital Wallet หากรัฐบาลจะดึงดันให้สามารถดำเนินการภายในปี 2567 เท่ากับรัฐบาลนายเศรษฐาจะต้องกู้เงินถึง 1.1 ล้านล้านบาท เพราะเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ซึ่งในรายละเอียดไม่ปรากฎนโยบาย Digital Wallet และร่าง พ.ร.บ. งบ 67 มีการกู้เงินเพื่อชดใช้เงินคงคลังกว่า 600,000 แสนล้านบาท และหากจะดำเนินการ นโยบาย Digital Wallet  รัฐบาลจะต้องกู้อีก 560,000 ล้านบาท รวมแล้วรัฐบาลนายเศรษฐา จะสร้างหนี้กว่า 1.1 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ การกู้เงินของรัฐบาลจะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรา 53 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 9 ที่ระบุไว้ว่า “คณะรัฐมนตรีต้องไม่บริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว”

          
อีกทั้งหากพิจารณาเรื่องของหนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือน พฤศจิกายน 2566 รัฐบาลมีหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งหากต้องกู้เพื่อทำนโยบาย Digital Wallet ตนไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว การกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวมันมีอยู่หลากหลายแนวทาง หลายแนวทางมันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ การฝึกทักษะใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ 

          
นายสรรเพชญ กล่าวในตอนท้ายว่า “ความท้าทายของรัฐบาล หรือพรรคเพื่อไทย คือมาตรฐานนโยบายการเมืองกับความถูกต้องทางกฎหมาย และจำเป็นต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของนโยบายที่ให้ไว้เป็นสัญญาประชาคมว่า Digital Wallet จะเป็นนโยบายที่ไม่ต้องกู้เงิน ซึ่งรัฐบาลจะต้องนำไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง”
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.