“PM2.5” อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ “แก่ก่อนวัย” แต่ป้องกันได้ อย่างไร?

 

รู้ไหมว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่แฝงตัวอยู่ในอากาศที่เราเรียกว่า PM 2.5 นั้น ถ้ามีการสัมผัสเป็นเวลานาน เจ้า PM 2.5 ที่ว่านี้สามารถแทรกผ่านชั้นผิวหนังของเราได้ โดยมันจะเข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าได้โดยตรง โดยเฉพาะบริเวณเซลล์ที่ใบหน้า

กรมการแพทย์ได้เผยผลวิจัยออกมาแล้วว่า 

 

PM 2.5 จะกระตุ้นการลดประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ เกิดการทำลายคอลลาเจนในชั้นผิว เพิ่มโอกาสการเกิดจุดต่างดำและริ้วรอย รวมถึงการทำให้ความอวบอิ่มและภูมิต้านทานของผิวอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่และการโดนรังสี UV

 

PM 2.5 ไม่ได้เพียงก่อให้เกิดความแก่เชิงโครงสร้างของเซลล์ผิดเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงก่อให้เกิดความแก่ทางจิตใจได้ไม่น้อยไปกว่ากัน ทุกครั้งที่ตัวเลขดัชนีคุณภาพอากาศสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการวิตก กังวล รวมถึงอาการแสบตา และความติดขัด หรือไม่สะดวกในกระบวนการหายใจ ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้เป็นเวลานาน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการแก่ก่อนวัย ด้วยประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้หลาย ๆ คน เลือกที่จะไม่ออกไปไหน และอาศัยอยู่ในอาคารเพื่อลดความความเสี่ยง และความกังวลที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ

 

สุขภาวะของที่อยู่อาศัยหรืออาคารสถานที่ทำงานจึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมากในการลดความเสี่ยงในการดูแก่ก่อนวัยจากการสัมผัส PM 2.5 

อาคารเขียว หรือ อาคารที่ยั่งยืน ภายใต้การตอบสนองต่อการดำรงค์อยู่ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และชีวิตมนุษย์ ซึ่งหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป อีกสองส่วนก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น อาคารเขียวจึงเป็นตัวเลือกและเป็นทางออก ในการป้องกันผลกระทบที่ได้รับจาก PM 2.5

 

 

"อาคารเขียว" หมายถึงอาคารที่คำนึงถึง การประหยัดพลังงาน ที่ตั้งโครงการ การประหยัดน้ำ คุณภาพอากาศในอาคาร และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ปัจจุบันมีองค์กรที่ตรวจวัดระดับคุณภาพอาคารเขียวในระดับสากลอยู่หลายองค์กรทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย มี สถาบันอาคารเขียวไทย (Thai Green Building Institute) TGBI ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีเกณฑ์ตามมาตรฐานประกอบด้วย การบริหารจัดการอาคาร ผังบริเวณและภูมิทัศน์ การประหยัดน้ำ พลังงานและบรรยากาศ วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม โดยมีการให้ระดับคุณภาพของอาคารเขียว เริ่มจาก Certified, Silver, Gold, และสูงสุดคือ Platinum 

 

อาจดูเหมือนว่าอาคารเขียว หรืออาคารยั่งยืน ต้องเป็นอาคารที่ใหม่อย่างเดียว แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าเราทำความเข้าใจในส่วนของข้อกำหนดในแต่ละส่วนของเกณฑ์ตามมาตรฐาน และนำมาปรับ ประยุกต์ใช้ในบริบทที่เราสามารถทำได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ หรือย้ายที่อยู่ใหม่ เช่นการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว ควบคุมแหล่งมลผิดจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร ประสิทธิภาพการกรองอากาศผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน เลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อมลพิษ การควบคุมแสงสว่างและการใช้แสงธรรมชาติภายในอาคาร และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ภาวะน่าสบาย

 

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราก็สามารถที่จะปลอดภัยจาก PM 2.5 ได้อย่างยั่งยืน และจะไม่แก่ก่อนวัยด้วย 

 

ฉันฑิต สว่างเนตร

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.