เช้าหรือเย็น? ออกกำลังกายให้ได้ผลสูงสุด

คำถามที่มักจะเป็นหัวข้อถกเถียงสำหรับคนที่คิดจะเริ่มต้นออกกำลังกาย และหวังจะลดน้ำหนักให้ได้อย่างรวดเร็ว มักจะถามกันว่า ออกกำลังในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นดีกว่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการออกกำลังกายไม่ว่าจะช่วงเวลาไหนนั้นล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ หากแต่มีข้อพึงระวังของแต่ละช่วง และเพื่อให้การออกกำลังกายของคุณได้ผลสูงสุด ลองมาดูว่าการออกกำลังกายในช่วงเช้า มีวิธีการอย่างไรที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการออกกำลังกายในช่วงเย็น ควรจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังอาหาร มาดูรายละเอียดกันเลย

การออกกำลังกายในช่วงเช้า

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าตอนเช้าอากาศสดชื่น มลพิษน้อย อากาศเย็นร่างกายยังสดชื่น เพราะได้พักมาทั้งคืน แต่การตื่นนอนในช่วงเช้าร่างกายเราไม่มีพลังงานให้กล้ามเนื้อแขนและขา เพราะฉะนั้น ควรรับประทานอาหารก่อนออกกำลังกาย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารและพลังงานไปยังอวัยวะต่าง ๆ

อาการของการออกกำลังกาย เมื่อไม่ได้ทานอาหารในช่วงเช้า

  1. หน้ามืด เป็นลม
  2. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต

ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังกายตอนเช้า

  1. ถ้าต้องการออกกำลังกายตอนช้า ควรรับประทานอาหารก่อนเล็กน้อย เช่น ขนมปัง แซนวิช เครื่องดื่มมอลต์สกัด ซึ่งใช้เวลาย่อยประมาณ 30-60 นาที จะเป็นพลังงานเพียงพอต่อการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น เดิน แต่ไม่ใช่วิ่ง หรือเต้นแอโรบิก
  2. การออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อเนื่องนานกว่า 1.5 ชั่วโมง จะทำให้ตับทำงานหนักเกินไป ซึ่งมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง

การออกกำลังกายในช่วงเย็น

เมื่อรับประทานอาหารเย็นแล้ว อีก 2 ชั่วโมงต่อมา จึงออกกำลังกายต่อเนื่องได้ และจะทำให้สารอาหารถูกใช้เป็นพลังงานจนเหลือสารอาหารน้อยที่สุด ทำให้เวลานอนหลับ จะมีไขมันพอกที่หลอดเลือดหรือเพิ่มไขมันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังกายช่วงเย็น

การออกกำลังกายตอนเย็นจะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายเพิ่มขึ้น และช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อไข้หวัดได้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการออกกำลังกายมีผลต่อภูมิต้านทานอย่างไร ของ แอนตรูว์ เคท พบว่าการออกกำลังกายปานกลาง ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายได้ แต่การนั่ง ๆ นอน ๆ หรือออกกำลังหนักมากเกินไปจะส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าการออกกำลังกายปานกลางเป็นประจำยิ่งจะเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.