บริการรอบกรุงฯ ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย AI รู้ผลไว เพิ่มโอกาสรอดชีวิต

แก้จุดบอด ‘มะเร็งปอด’ มักตรวจพบในระยะที่ 4

 

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประเทศไทย ที่มีอัตราการเสียชีวิตกว่า 80,000 คน ต่อปี โดยมีมะเร็งปอดเป็นสาเหตุอันดับต้นของการเสียชีวิต โดยโรคมะเร็งปอดเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยมักตรวจพบในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย เนื่องจากมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ เมื่ออาการแสดงในช่วงลุกลามแล้วมารักษาจึงส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับการรักษามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น

 

ดังนั้น การตรวจคัดกรองเพื่อให้ทราบล่วงหน้าจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้  จากการศึกษา NLST และ NELSON พบว่าการตรวจคัดกรองเบื้องต้นสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 20%

 

นอกจากนี้ในสวนของค่าใช้จ่ายทางการรักษาก็พบว่า ยิ่งระยะของโรคเพิ่มขึ้น มีความสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่สูงขึ้นตามมา ...

 

ใช้ AI เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรอง

 

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เริ่มดำเนินงานภายใต้โครงการ “Don’t Wait. Get Checked.” โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการใช้เทคโนโลยี AI ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นให้แก่ประชาชนคนไทย โดยใช้เทคโนโลยี AI หรือซอฟต์แวร์ “qXR” ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Qure.ai บริษัทผู้พัฒนาโซลูชัน AI หนึ่งในพันธมิตรของแอสตร้าเซนเนก้า มาช่วยพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น  ซึ่งโซลูชันนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อเป็นเครื่องมือแพทย์ปัญญาประดิษฐ์ ที่นำความสามารถในการเรียนรู้เชิงลึกมาระบุความผิดปกติจากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดได้สูงสุด 29 รายการ รวมไปถึงการระบุขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อ หรือร่องรอยอาการที่อาจบ่งชี้โรคมะเร็งปอดได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

 

ความแม่นยำดังกล่าวนั้น คือการอ่าน Digital chest x-ray image ซึ่งเป็นเครื่องมือวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ถูกนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคทางปอด ตลอดจนในการตรวจสุขภาพประจำปี โดยในแต่ละปีมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกปริมาณมาก แต่มีเพียงไม่เกินร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ได้รับการแปลผลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยา ภาพถ่ายส่วนที่เหลือมักได้รับการแปลผลโดยแพทย์ทั่วไป

จากการศึกษาหลายฉบับพบว่า แพทย์ทั่วไปมีโอกาสแปลผลผิด (Misdiagnose) หรือ มองไม่เห็นรอยโรค (Missed Diagnose) ได้ถึงร้อยละ 20-50 ของภาพถ่ายที่มีรอยโรคมะเร็งปอดและการแปลผลโดยแพทย์ทางรังสีวิทยาเพียงคนเดียวก็ยังมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้ร้อยละ 5-9 ดังนั้น การแปลผลภาพถ่ายรังสีวิทยาทรวงอกด้วย AI เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อช่วยในการคัดกรองภาพถ่ายรังสีทรวงอกที่มีรอยโรคหรือความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ก่อนได้รับการแปลผลซ้ำโดยรังสีแพทย์

 

ทั้งนี้ นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย กล่าวว่า “แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับเส้นทางสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันที่ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมและก้าวไปสู่การดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล จากความร่วมมือในครั้งนี้ เราตั้งเป้าหมายที่จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นแก่ประชาชนกว่า 500,000 รายให้ได้ภายในปี 2567 เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วยต่อไป”

 

 

สำหรับรายละเอียดจุดคัดกรองเคลื่อนที่ และโรงพยาบาลในเครือของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  • โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
  • โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
  • หน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่สำนักอนามัย
  • และอีกหลายโรงพยาบาลภายใต้กรุงเทพมหานครอีกในอนาคต

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.