สุดทางแล้ว “รัฐบาลดิจิทัล” เมื่อโลก “หลังยุคดิจิทัล” เริ่มขึ้น

 

การเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล (หรือ Digital Government) ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และรัฐบาลหลายแห่งกำลังก้าวเข้าสู่โลกหลังยุคดิจิทัล (หรือ Post-Digital) ซึ่งเป็นช่วงที่เคสทางธุรกิจ (Business Case) เกิดขึ้นเพื่อเน้นกระตุ้นการลงทุนเพิ่มเติมมากกว่าผลตอบแทนที่ลดลง (Diminishing Returns) โดยเกิดจากความพยายามปรับปรุงประสบการณ์ของประชาชนหรือส่งมอบประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพิ่มเติม เคสทางธุรกิจต่าง ๆ จะต้องสามารถมอบประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับภารกิจหรือเป้าหมายด้านสาธารณะของแผนกหรือหน่วยงานของรัฐฯ ได้โดยตรง

 

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ ระบุว่าองค์กรภาครัฐมากถึง 90% กำลังอยู่ในกระบวนการขยายรัฐบาลดิจิทัล หรือ มีการขยายส่วนงานหลักขององค์กรไปเป็นดิจิทัลแล้ว ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามว่า ทำไมถึงควรต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มกับเทคโนโลยีอีก?

 

 

รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (หรือ Post-Digital Government) กำหนดให้องค์กรต่าง ๆ รีเซ็ตความตั้งใจใหม่และมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายสาธารณะ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2569 รัฐบาลทั่วโลกมากกว่า 75% จะวัดความสำเร็จในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้วยการวัดผลกระทบของภารกิจที่ยั่งยืน แทนการพิจารณาเพียงแค่จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลง ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น หรือความพึงพอใจของประชาชนเท่านั้น

 

การตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้น ในช่วงเวลาที่ต้องรัดเข็มขัดในการใช้จ่ายและหนี้ทางเทคนิค (Technical Debt) ที่เพิ่มขึ้น บังคับให้องค์กรภาครัฐฯ ต้องมองหาความสามารถและแนวทางที่ใช้ในปัจจุบันให้ต่างออกไป หากต้องการบรรลุผลภารกิจที่ยั่งยืนพวกเขาต้องค้นหาช่วงเวลาสำคัญ (The Moments That Matter) หมายถึงต้องเข้าใจมุมมองของผู้อื่นเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

รัฐบาลต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกเพื่อคาดการณ์การมีส่วนร่วมที่เหมาะสมที่สุดและรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังต้องมองหาการพัฒนาระบบนิเวศของพันธมิตรที่เน้นผลลัพธ์ร่วมกัน

 

 

เปิดใจรับฟังเสียงและความคิดของผู้อื่น

เราจะเข้าถึงหัวใจสำคัญที่แท้จริงของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร? นอกจากการให้บริการดิจิทัลหรือการมีส่วนร่วมทางธุรกรรม คำตอบคือ การพัฒนาความสามารถในการเข้าใจมุมมองของผู้อื่น สร้างความเข้าใจครบถ้วนและแม่นยำยิ่งขึ้นในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจช่วงเวลาสำคัญที่กำลังจะสร้างความต่างและวิธีการที่รัฐบาลได้รับผลกระทบต่อสิ่งเหล่านั้น

 

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ รัฐบาลจะต้องระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม และเข้าใจ Journey ที่พวกเขากำลังประสบระหว่างการทำธุรกรรมหรือการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการทำความเข้าใจกระแสทางธุรกรรม โดยจะช่วยให้พวกเขาจัดทำแผนผังว่าความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการเปลี่ยนแปลงในจุดต่าง ๆ อย่างไรและอะไรทำให้เกิดความคับข้องใจ ไม่ไว้วางใจ ไม่สบายใจ หรือมีส่วนร่วม

 

แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยความต้องการ (Need-Driven Approach) จะต้องดำเนินการสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแนวทางนี้ช่วยให้สามารถระบุช่วงเวลาสำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้ความรู้ว่าเมื่อใดควรปรับเป็นเชิงรับหรือเชิงรุก

 

การออกแบบที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design หรือ HCD) เป็นแนวทางสรุปสิ่งนี้ โดยเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโดยใช้ความเข้าใจเป็นรากฐานสำคัญ โดยให้ประชาชนเป็นหัวใจของการแก้ปัญหา

 

 

ดึงศักยภาพข้อมูลเชิงลึกมาปรับใช้

เพื่อขับเคลื่อนประสบการณ์ไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด รัฐบาลหลังยุคดิจิทัลต้องนำเสนอบริการเฉพาะบุคคลขั้นสูง (Hyper-Personalized Services) ที่รวมข้อมูลเชิงลึกด้านความเข้าใจผนวกเข้ากับข้อมูลเชิงลึกการปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์และนำไปปฏิบัติได้ในระหว่างกระบวนการตัดสินใจ

 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2567 กว่า 60% ของการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรภาครัฐฯ จะใช้เพื่อการตัดสินใจและสร้างผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ 

 

การสำรวจของการ์ทเนอร์ ช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2566 จากองค์กรภาครัฐทั่วโลก 161 แห่ง แสดงให้เห็นว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ 70% ขององค์กรภาครัฐฯ จะนำ Generative AI ไปปรับใช้ หรือ อยู่ในขั้นวางแผนนำไปใช้ 

 

การนำ AI มาปรับใช้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการสร้างช่องทางข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ซึ่งรัฐบาลกำลังใช้ AI เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่และเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ แต่เพื่อให้เกิดผลกระทบอย่างแท้จริง ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ใหม่จะต้องนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางการทำงาน

 

ภาครัฐฯ จะต้องสามารถจัดทำผังการไหลเวียนของข้อมูล เปลี่ยนข้อมูลนั้นให้เป็นข้อมูลเชิงลึก ต้องเข้าใจว่าข้อมูลเชิงลึกนั้นส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างไร และเปลี่ยนสิ่งนั้นให้เป็นการกระทำที่จับต้องได้

 

จัดระบบนิเวศใหม่

รัฐบาลดำเนินการในระบบนิเวศรูปแบบหนึ่งมาโดยตลอด ซึ่งมักจะจัดทำขึ้นรอบ ๆ แผนกหรือหน่วยงาน แต่ระบบนิเวศดิจิทัลกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของสังคมและเปลี่ยนความคาดหวังของประชาชน โดยระบบนิเวศที่จัดทำขึ้นเพื่อคำนึงถึงปัญหาหรือผลลัพธ์ร่วมกัน มีแนวโน้มสร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งมอบผลลัพธ์ภารกิจที่ยั่งยืนตามที่รัฐบาลทุกแห่งต้องการ

 

ในการเชื่อมระบบนิเวศเหล่านี้เข้าด้วยกันจำเป็นต้องมีการประเมินคุณค่าและสิ่งจูงใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบคอบ ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่การสร้างแพลตฟอร์มใช้ร่วมกัน เพิ่มการเข้าถึงชุดข้อมูลย่อยของรัฐบาล การช่วยให้มีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมกับภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง หรือการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรร่วมกัน

 

ไม่ว่าจะเป็นความสามารถใหม่หรือความสามารถเดิมที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีสนับสนุนใหม่ ๆ ที่จะต้องรวมอยู่ในแผนงานด้านเทคโนโลยีขององค์กรภาครัฐฯ ในอนาคต โดยรัฐบาลจะไม่ลงทุนเพียงเพราะมันเป็นไอเดียที่ดี ดังนั้นผู้บริหารต้องสามารถเชื่อมโยงแผนงานเทคโนโลยีเข้ากับผลลัพธ์ภารกิจที่มุ่งเน้นในยุคหลังดิจิทัลให้ได้

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.