หน้าที่และภารกิจสำคัญของ “ดาวเทียม THEOS-2” มีไว้เพื่อใครบ้าง?

 

โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของโครงการดาวเทียม THEOS-2 กว่า 7,000 ล้านบาทกำลังส่งผลต่อพันธกิจต่างๆ ของประเทศไทยในระยะยาว นอกเหนือจากความคมชัด (ระดับส่องมือถือได้) ที่นับได้ว่ามีความชัดเจนและมีศักยภาพเทียบเท่ากับกลุ่มดาวเทียมรายละเอียดสูงมากที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก เช่น WorldView  GeoEye (ดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา) และ Pléiades (พลีอะดีส- ดาวเทียมสัญชาติฝรั่งเศส) มีอะไรอีกบ้าง ไปหาคำตอบกัน

 

หลายคนอาจจะคุ้นเคยข้อมูลภาพถ่ายของดาวเทียมกลุ่มนี้ดีอยู่แล้วผ่านแอปพลิเคชันแผนที่ออนไลน์ที่ให้บริการภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูงผ่านมือถือของทุกคน แต่ไม่แน่ว่าอีกไม่นานเราอาจจะได้เห็นข้อมูลจากดาวเทียม THEOS-2 บนแอปพลิเคชันเหล่านี้ได้สักวัน

 

โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ THEOS-2 เป็นโครงการด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เพื่อให้ประเทศไทยได้มีระบบวางแผน ระบบการตัดสินใจ ระบบการติดตาม ระบบการวิเคราะห์ และระบบการรายงานข้อมูลสถานการณ์เชิงพื้นที่ของประเทศหรือในรูปแบบแผนที่อย่างละเอียดและทันต่อเหตุการณ์

 

ในอนาคต ข้อมูลจากดาวเทียมและภูมิสารสนเทศของระบบ THEOS-2 จะช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถวางนโยบายพัฒนาประเทศได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ภายใต้โครงการ THEOS-2 จะมีดาวเทียม 2 ดวง 

ประกอบด้วยดาวเทียม THEOS-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงหลัก และดาวเทียม THEOS-2A  ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็กที่วิศวกรไทยร่วมออกแบบและพัฒนา ซึ่งได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จเช่นกัน เตรียมยิงขึ้นสู่อวกาศเดือนมกราคมปีหน้า (2567) นอกจากนั้นภายใต้โครงการ THEOS-2 ยังประกอบด้วยการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศอีกมากมาย

 

 

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ได้แบ่งความต้องการของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเป็น 3 ส่วนคือ

 

1. กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงเพื่อวางแผนบริหารจัดการด้านต่างๆ ซึ่งดาวเทียมหลักของ THEOS-2 สามารถถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 เซนติเมตรที่อยู่บนพื้นโลกได้

2. กลุ่มผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่น บริษัทผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ เป็นต้น

3. ผู้ใช้ที่ต้องการข้อมูลจากแอปพลิเคชันอันเกิดจากการบูรณาการข้อมูลจากดาวเทียม THEOS-2

 


สู่ความเป็น Smart City

ยิ่งกว่านั้น Gistda ระบุว่า การที่สังคมเราค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็น Smart City จะช่วยขับเคลื่อนตลาดของการซื้อขายข้อมูลจากดาวเทียม เนื่องจากการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยสนับสนุนจำนวนมหาศาลเช่น Internet of Things (IoT) รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่จะมีส่วนช่วยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์และลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

 

การที่ประเทศไทยมี THEOS-2 ทั้งจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้เล่นตัวสำคัญในตลาดซื้อขายภาพถ่ายจากดาวเทียมในระดับภูมิภาค และช่วยผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ๆขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน 

 

เป้าหมายการใช้เทคโนโลยี ข้อมูลและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อการจัดการเมืองให้มีความมั่นคงและมีความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของประชากร เช่น ระบบขนส่งสาธารณะแบบอัจฉริยะที่สามารถติดตามรถแบบเรียลไทม์และแม่นยำ ระบบวางแผนเส้นทางโดยใช้ข้อมูลการจราจรและสภาพถนนในเวลาจริงเพื่อแนะนำเส้นทาง ระบบจัดการสาธารณูปโภคแบบอัตโนมัติ เป็นต้น 

สรุปได้ว่า ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะต่อไปในอนาคต

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.