‘คนมีบุตรยาก’ เทรนด์ปัจจุบันและอนาคต ที่พ่อแม่ต้องเตรียมพร้อม
‘สภาวะมีบุตรยาก’ เทรนด์ปัจจุบันและอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น
จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า 17.5% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั่วโลก กำลังประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก โดยจำนวนตัวเลขของผู้ประสบภาวะมีบุตรยากในประเทศที่มีรายได้สูงอยู่ที่ 17.8% และ 16.5% สำหรับประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยในระดับปานกลาง เนื่องมาจากความพร้อมที่จะมีบุตรสวนทางกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ จนทำให้กว่าจะพร้อมมีบุตรก็อายุล่วงเลยมามากแล้ว สวนทางกับความพร้อมของร่างกาย โดยเฉพาะเพศหญิงที่จะมีความสามารถในการเจริญพันธุ์ได้ดีอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี และจากรายงานก็พบว่าปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ และอัตราการเกิดที่ลดลงของประชากรทั่วโลก
โดยส่วนใหญ่สาเหตุของการมีลูกยากมาจาก 3 กรณีด้วยกันคือ 1. ฝ่ายชาย มีอสุจิอ่อน หรือมีปริมาณน้อย หรือเป็นหมัน ซึ่งจะพบได้ร้อยละ 25-30 ของสาเหตุการมีลูกยาก 2. ฝ่ายหญิง มีความผิดปกติ เช่น ไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน หรือเนื้องอกมดลูก รวมไปถึงเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเป็นอาการที่เจอบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน พบได้ร้อยละ 30 ของสาเหตุ 3. ไม่ทราบสาเหตุ คือเป็นปัญหาโดยธรรมชาติของทั้งฝ่ายหญิงและชาย ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เพราะการท้องโดยธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะพบได้ร้อยละ 10-15 ของสาเหตุการมีลูกยาก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ทางด้านการใช้ชีวิตที่เป็นความเสี่ยงของภาวะการมีบุตรยากไม่ว่าจะเป็น อายุ ภาวะน้ำหนักเกิน การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีด้านการเจริญพันธุ์ จึงกลายเป็นตัวช่วยสำคัญของผู้ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบัน รวมทั้งกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากคู่แต่งงานทั่วโลก แม้แต่คู่แต่งงานในประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มประสบภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น และหันมาใช้บริการศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเพื่อเพิ่มความสำเร็จการมีบุตรมากขึ้น
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากภายในโรงพยาบาล 'ท่วงทันและครบวงจร'
นายแพทย์สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์ หัวหน้าศูนย์ เมดพาร์ค ไอวีเอฟ ให้สัมภาษณ์ในงานแถลงข่าวเปิดตัว ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เมดพาร์ค ไอวีเอฟ ณ Sky Lounge ชั้น 22 โรงพยาบาลเมดพาร์ค เพื่อประกาศความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ประสบภาวะมีบุตรยากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาจนถึงวันที่คลอดทารกอย่างปลอดภัย ว่าประสิทธิภาพของการตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้มีบุตรยากขึ้นภายในโรงพยาบาลเมดพาร์คคำนึงถึงการสร้าง ‘ดรีมทีม’ หมายถึงการมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ระดับสากลที่ครบครันซึ่งจะคอยช่วยเหลือผู้ต้องการมีบุตรในทุกขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสภาวะของผู้มีบุตรยากที่จะมีความซับซ้อนของการดูแลมากกว่าปกติ
‘ ประการแรกคือโรงพยาบาลนั้นมีความครบวงจร คือ การให้ความช่วยเหลือผู้มีบุตรยากอาจจะมีบางกรณีที่มีความเสี่ยงซึ่งมองไม่เห็น ต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มเติม หรือครรภ์มีความเสี่ยง สิ่งเหล่านี้ด้วยความเป็นโรงพยาบาลก็จะสามารถให้การรักษาได้ในที่เดียว .. อีกประการคือความทันท่วงที อาทิเช่น ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือลูกคลอดก่อนกำหนด ก็จะมีกุมารแพทย์เฉพาะทางเวชบำบัดวิกฤต (NICU) ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนของห้องวิกฤตเด็กอ่อนในประเทศไทย เมื่อเทียบกับผู้ป่วยนั้นเรียกได้ว่าไม่เพียงพอ แต่ที่เมดพาร์คเรามีส่วนนี้ซึ่งมาตรฐานทั้งหมดดังกล่าวจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่เข้ามารับการช่วยเหลือได้ ’
นายแพทย์สุภักดียังได้ยกตัวอย่างเคสที่เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์ ว่า มีคนไข้จากประเทศอินเดียซึ่งมีบุตรยาก ได้รับการทำเด็กหลอดแก้วในประเทศอินเดียแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อเดินทางมายังที่ศูนย์และได้รับการตรวจผลปรากฎว่า คนไข้มีภาวะพิเศษคือต่อมใต้สมองไม่ผลิตฮอร์โมนเพื่อไปกระตุ้นรังไข่ ทางศูนย์ก็จะทำการรักษาก่อนด้วยการให้ฮอร์โมน จนสามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จ หรือคนไข้บางคนที่เป็นเนื้องอกที่มดลูก เราก็จะให้การรักษาเนื้องอกที่มดลูกก่อน เพื่อให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ มิฉะนั้นก็จะตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงความสำคัญว่าทำไมทีมแพทย์ของศูนย์ผู้มีบุตรยากถึงต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างครบวงจร
ทางด้าน นายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ สูตินรีแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์มากว่า 30 ปี ได้เล่าถึงกระบวนการรักษาที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากว่า หากคู่สามี-ภรรยา มาหาแพทย์ แพทย์จะหาสาเหตุก่อน เพื่อประเมินว่าร่างกายของผู้ที่เข้ามารับความช่วยเหลือผิดปกติส่วนไหน และสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง เช่น หากฝ่ายชายมีอสุจิน้อย ก็จะให้ยาหรือแนะนำคนไข้ให้เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ให้ดีขึ้น เป็นต้น เพื่อให้ทั้งคู่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติก่อน แต่ถ้าหากยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติก็จึงเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีช่วยการตั้งครรภ์ต่อไป
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เพิ่มเปอร์เซนต์การตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีตั้งแต่การผสมเทียม ซึ่งจะมีผลสำเร็จได้ร้อยละ 10-15 และการทำ IVF หรือเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ (ICSI - Intracytoplasmic Sperm Injection) ซึ่งมีอัตราความสำเร็จสูงถึงร้อยละ 55 นอกจากนี้ เมดพาร์ค ไอวีเอฟ ยังมีการนำอุปกรณ์รุ่นใหม่ และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพระดับสากล เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ เช่น
การคัดเลือกตัวอ่อนด้วยระบบเอไอชื่อว่า ไอด้าสกอร์ (iDAScore) ซึ่งเป็นการให้คะแนนและติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนทุกตัว ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี Timelapse กล้องบันทึกภาพซึ่งติดตั้งอยู่ในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Embyoscope Plus ทำหน้าที่ติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนและนำมาเรียงเป็นวิดีโอ ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำตัวอ่อนออกมาจากตู้เพื่อส่องกล้องจุลทรรศน์แบบตู้รุ่นเก่า ซึ่งเป็นการรบกวนตัวอ่อนและมีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์
นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งชิป (RFID Tags) บนภาชนะเก็บไข่ สเปิร์ม และตัวอ่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น การสลับไข่กับสเปิร์มของคู่อื่น การสลับตัวอ่อนคุณภาพดีกับตัวอ่อนผิดปกติ เป็นต้น โดยจะนำมาใช้ควบคู่กับระบบระบุตัวตนของผู้เข้ารับบริการ เช่น การสแกนลายนิ้วมือ และการสแกนใบหน้า โดยทุกกระบวนการของการให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก จะถูกออกแบบให้อยู่ภายในศูนย์ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ โดยไม่ต้องถูกส่งตัวไปตรวจหรือรักษาตามแผนกต่าง ๆ ร่วมกับคนไข้ทั่วไป
รวมไปถึง การใช้เทคโนโลยีตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม ตรวจโครโมโซมเพื่อหาความผิดปกติของตัวอ่อนอย่างละเอียด ด้วยเครื่อง Next-generation sequencing (NGS) ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 60 - 70% และลดความเสี่ยงที่จะแท้งลงกว่า 3 เท่า
ทั้งนี้ ทางทีมแพทย์ของศูนย์เมดพาร์ค ไอวีเอฟ ย้ำว่าการรักษาทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญ เมดพาร์คตั้งใจที่จะสร้างศูนย์ซึ่งมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในทุกๆ สาขา และเชี่ยวชาญด้านคนไข้มีมีบุตรยากโดยตรง เพราะมีความซับซ้อนของการดูแลและรักษามากกว่าการตั้งครรภ์ตามปกติ รวมไปถึงจัดหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพ เพื่อสร้าง ‘ดรีมทีม’ ขึ้นมาเพราะรู้ว่าหากมองข้ามสิ่งใดไปแม้เพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ทันที.
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.