พูดไม่รู้เรื่อง ถามอย่างตอบอย่าง สาเหตุมาจากอะไร
เชื่อว่าในชีวิตของคุณต้องเคยประสบพบเจอคนที่เรารู้สึกว่ามาจากดางดวงอื่น กล่าวคือคนที่เราเข้าถึงไม่ได้ รู้สึกว่าเขาพูดไม่รู้เรื่อง สื่อสารกันไม่เข้าใจ พูดแปลกๆ ฟังไม่ออก และไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด จนยากที่จะบอกได้ว่าเขาคนนั้นแค่เป็นคนแปลกๆ หรือมีความผิดปกติทางสมองหรือไม่ Sanook! Health จะมาบอกอาการทั่วไปของคนประเภทนี้ ทำความเข้าใจเพวกเขาให้มากขึ้น รวมถึงคนที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ ให้ลองหาทางแก้กันดูค่ะ
อาการทั่วไปของคนที่พูดไม่รู้เรื่อง
- ถามอย่าง ตอบอย่าง เช่น “เมื่อกี้ฝนตกเหรอ” อาจจะตอบว่า “ไม่เป็นไร มีร่ม” เป็นต้น คือเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ตอบไม่ตรงคำถาม
- พูดสลับคำ สลับประโยค หรือพูดย่อเสียจนฟังไม่รู้เรื่อง เช่น อาจจะละประธานหรือกรรมไป จนทำให้เราไม่เข้าใจว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหนกันแน่
- พูดออกมากลางเรื่อง เหมือนส่วนประโยคตอนต้นจะหาย มีแต่ประโยคหลังๆ หลุดออกมาจากปาก ทำให้ไม่เข้าใจว่าเนื้อเรื่องเต็มๆ เป็นอย่างไร
- พูดเร็ว พูดไว และรูปประโยคที่พูดไม่สมบูรณ์
- ผลลัพธ์หรือบทสรุปของเรื่องเล่าอาจจะออกมาก่อนการปูเรื่องให้ฟัง
- เปลี่ยนเรื่องคุยเร็วจนตามไม่ทัน
กระบวนการคิดของคนที่มีปัญหาในการสื่อสาร
- สมองคิดรวดเร็วเกินไป จนข้ามช็อต แล้วสมองไปไวกว่าปาก จึงทำให้ตอบไม่ตรงคำถาม เพราะคิดคำตอบล่วงหน้าไปแล้ว เช่น ถามว่า “เมื่อกี้ฝนตกเหรอ” คำตอบจริงๆ คือ “ตก” แต่สมองคิดไปถึงช็อตว่า ฝนตกนะ แต่ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหา เพราะเอาร่มมาด้วย จึงตอบไปแค่ “ไม่เป็นไร เอาร่มมา”
- ด้วยความที่สมองคิดเร็ว จับรายละเอียดเก็บมาคิดวนๆ มากๆ จึงทำให้ไม่สามารถคิดคำพูดได้ทันตามสมอง เช่น จะเล่าจาก 1>2>3>4 ปากกำลังเล่า 1 อยู่ แต่พอสมองคิดไปถึง 3 แล้ว เลยข้ามไปพูด 3 แล้วพอรู้สึกว่ายังไม่ได้พูด 2 เลยวกกลับมาเล่า 2 อีกที
พูดไม่รู้เรื่อง อาการผิดปกติทางสมอง หรือแค่เป็นคนแปลกๆ?
เราจะไม่มีทางทราบได้เลยจนกว่าจะพบแพทย์ และลองคุย หรือทำแบบทดสอบที่แพทย์ให้เพื่อวัดผลการทำงานของสมองอีกที
วิธีพัฒนาทักษะการพูด การสื่อสารให้คนเข้าใจมากยิ่งขึ้น
1. พูดให้ช้าลง ก่อนพูดออกไปลองเรียบเรียงประโยคก่อนค่อยพูด อาจฟังดูเสียเวลา แต่เพื่อการฝึกฝนต้องลองทำ
2. หากจะเล่าอะไรยาวๆ และมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ ลองจดและเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ลงในกระดาษก่อน แล้วค่อยๆ พูดตามที่จดไว้ เพื่อฝึกการพูด การเล่าเรื่องให้ถูกลำดับ
3. ก่อนตอบคำถามคนอื่น ลองทวนคำถามของคนๆ นั้นอีกครั้ง เพื่อตรวจทานอีกครั้งว่าเขาถามอะไรกันแน่
4. ลองตอบคำถามสั้นๆ ไม่ต้องลงรายละเอียดมาก เพื่อฝึกไม่ให้ข้ามในสิ่งที่จะพูด แล้วไปลงแต่รายละเอียดแทน
5. หัดพิมพ์ในสิ่งที่จะพูดทั้งหมด ตรวจทานว่าอ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ และฝึกพูดจากสิ่งที่พิมพ์บ่อยๆ
นอกจากควรหมั่นสังเกตตัวเอง และถามไถ่เพื่อนรอบข้างแล้ว หากมีปัญหามาจนถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิต การทำงาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ จริงๆ แล้วคุณอาจไม่ได้เป็นโรคอะไรร้ายแรง แต่อาจต้องลองจัดระเบียบในสมองใหม่ เพื่อการสื่อสารกับคนในสังคมให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรคนรอบข้างก็ควรเป็นกำลังใจให้เขา มากกว่ามองว่าเขาเป็นคนแปลกประหลาด หรือเลิกคบเขาเสียก่อนนะคะ
ขอขอบคุณ Pantip.com กระทู้หมายเลข 32175689
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.