“ปากเบี้ยว-หน้าเบี้ยวครึ่งซีก” สัญญาณอันตรายโรคระบบประสาท

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา แนะหากอ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูอื้อข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ดื่มน้ำลำบากพูดไม่ชัด เป็นผลมาจาก เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ

ปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า โดยยังไม่สามารถทราบสาเหตุของอาการอักเสบของเส้นประสาทได้แน่ชัด แต่อาจมีแนวโน้มมาจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะปากเบี้ยว ได้แก่ โรคงูสวัส เป็นต้น ส่งผลให้หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นผลมาจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้างทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ยิ้ม ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้นและส่งต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบส่งผลต่อการรับรส การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย 

กลุ่มเสี่ยงอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)

ปากเบี้ยวถือเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปากเบี้ยว เช่น หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่อายุครรภ์มาก หรือหลังคลอดภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วย ที่เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด

อาการของ Bell’s palsy

แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า  ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้

  1. กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว 

  2. หลับตาไม่สนิท 

  3. มีน้ำไหลที่มุมปาก

  4. อาจพูดไม่ชัด 

  5. การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ 

  6. ปวดศีรษะ 

  7. หูได้ยินเสียงดังขึ้นข้างเดียว 

  8. ดื่มน้ำลำบาก 

ดังนั้นผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเพื่อรีบรักษา ซึ่งการรักษา อาการปากเบี้ยว ประกอบด้วยการรักษาด้วยยา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิม 

การรักษาอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)

การรักษาอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) แบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ 

  • การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น กระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือนวดใบหน้า ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็ง 

  • การผ่าตัด 

การป้องกันอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)

อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน เนื่องจากสาเหตุเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าที่มักจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายภายในระยะเวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือน แต่จะมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่อาจกลับเป็นปกติต่ำกว่าหรือใช้ระยะเวลานานกว่า เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ

  • แขนขาชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว สัญญาณอันตราย "หลอดเลือดสมอง"
  • 5 สัญญาณอันตราย “หลอดเลือดสมอง” รีบส่งรพ. ภายใน 4.30 ชม.

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.