ผลวิจัยชี้ คนดื่มเหล้าแล้วหน้าแดง เสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่า
ผลวิจัยชี้ คนดื่มเหล้าแล้วหน้าแดง เสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่า
มะเร็ง โรคร้ายที่หลายคนกลัวและตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ มีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือลักษณะพันธุกรรมของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์แล้วมักหน้าแดง ตัวแดง โดยไม่จำเป็นต้องถึงขั้นเมามาย กลับเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป
ยีนหน้าแดง เสี่ยงมะเร็ง
รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงดุลยพร ตราชูธรรม หัวหน้ากลุ่มวิชาการและวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ และกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย (ภาคปกติ และภาคพิเศษ) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างวัยเรียนและวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-50 ปี และไม่เคยป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะทางพันธุกรรมตามข้อมูลทางมานุษยวิทยา ได้แก่ กลุ่มคนทั่วไป และกลุ่มผู้ที่มี “ยีนหน้าแดง” (Mutant ALDH2)
“ยีนหน้าแดง” (Mutant ALDH2) ดังกล่าว มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า ผู้ที่มีเชื้อสาย “จีนฮั่น” สีผิวขาวเหลือง มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “ยีนหน้าแดง” นี้ ซึ่งเกิดจากความบกพร่องในการกำจัดสารพิษ “อะเซตัลดีไฮด์” (Acetaldehyde) ที่มาจากการดื่มแอลกอฮอล์ สารพิษดังกล่าวเป็นต้นเหตุของอาการเมาสุรา และเป็นสารก่อมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งช่องปากและคอหอย มะเร็งลำไส้ เป็นต้น
ผลวิจัยพบว่า ผู้ที่มียีนหน้าแดงหลังดื่มแอลกอฮอล์เพียงแก้วเดียวจะมีผื่นแดง ขึ้นที่หน้า หู ลำคอ หรือตามลำตัว มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง สูงกว่าคนทั่วไปหลายเท่า
- จริงหรือไม่? ดื่มแอลกอฮอล์แล้วหน้าแดง เสี่ยงมะเร็ง?
- แพทย์แนะนำ วิธีที่ป้องกันมะเร็งที่ดีที่สุด
นมเปรี้ยวช่วยลดพิษของแอลกอฮอล์
ผู้วิจัยได้ให้ทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนทั่วไป และกลุ่มผู้ที่มียีนหน้าแดง ทดลองดื่ม “นมเปรี้ยว” เพื่อทดสอบผลต่อการลดพิษของแอลกอฮอล์ โดยเป็นนมเปรี้ยวที่บ่มด้วยจุลินทรีย์ที่มีสายพันธุ์เฉพาะซึ่งไม่มีจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไป เพื่อการวิจัยเสริมคุณค่าในการป้องกันโรค และขยายผลสู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพต่อไปในอนาคต
ผลคือ เมื่อให้ผู้เข้ารับการทดสอบดื่มนมเปรี้ยวในปริมาณ 150 มิลลิลิตร ประมาณ 5 นาทีก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าสามารถช่วยลดระดับการเกิด “อะเซตัลดีไฮด์” (Acetaldehyde) ในเลือดและน้ำลาย ทั้งในคนที่มียีนหน้าแดงและคนทั่วไป ผลวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Food and Function”
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.