"ไตรกลีเซอไรด์" คืออะไร ทำไมเลขสูงต้องกังวล พร้อมวิธีลดอย่างได้ผล
ช่วงนี้หลายๆ คนคงเริ่มไปตรวจสุขภาพประจำปีก่อนจะสิ้นปีกันแล้ว ค่าตัวเลขหนึ่งที่สร้างความกังวลใจให้ใครต่อใครไม่น้อยคือ "ไตรกลีเซอไรด์" ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย ว่าแต่เจ้าไตรกลีเซอไรด์นั้นแท้จริงคืออะไร ทำไมตัวเลขสูงต้องกังวล และจะรับมืออย่างไรหากตัวเลขเกินมาตรฐาน
ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร
ไตรกลีเซอไรด์เปรียบเสมือนไขมันสะสมในร่างกายของเรา เกิดขึ้นได้จากสองกระบวนการหลัก คือ
- การสังเคราะห์ภายในร่างกาย: ตับของเราจะผลิตไตรกลีเซอไรด์ขึ้นมาจากพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ เช่น คาร์โบไฮเดรตจากข้าว แป้ง น้ำตาล
- การรับจากอาหาร: เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนย หรือน้ำมันต่างๆ ไขมันเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นไตรกลีเซอไรด์และสะสมในร่างกาย
ทำไมไตรกลีเซอไรด์จึงสำคัญ
ไตรกลีเซอไรด์ทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดพลังงาน ไตรกลีเซอไรด์จะถูกนำออกมาใช้ แต่ถ้าหากมีไตรกลีเซอไรด์สะสมมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
เมื่อไหร่จะเรียกว่าไตรกลีเซอไรด์สูง
การตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด จะช่วยให้เราทราบว่าร่างกายมีการสะสมไขมันมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปแล้ว ค่าไตรกลีเซอไรด์ที่ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากผลตรวจออกมาสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังจากอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง แสดงว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ของคุณสูงกว่าปกติ และร่างกายอาจมีปัญหาในการกำจัดไขมันส่วนเกิน
อันตรายจากไตรกลีเซอไรด์สูง
หากระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: ไตรกลีเซอไรด์สูงอาจทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและอุดตัน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วน: ไตรกลีเซอไรด์ส่วนเกินจะถูกสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- โรคตับ: ไตรกลีเซอไรด์ที่สะสมในตับมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
- โรคตับอ่อนอักเสบ: ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของตับอ่อน
- โรคอื่นๆ: เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด
วิธีป้องกันและควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์
- ควบคุมอาหาร: ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตขัดสี และน้ำตาล
- ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเผาผลาญพลังงานและลดระดับไตรกลีเซอไรด์
- ควบคุมน้ำหนัก: การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไตรกลีเซอไรด์
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น
- รับประทานยา: หากมีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อช่วยควบคุมระดับ
- 7 อาหารช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ไร้กังวลไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือด
- “ตัวเลข” จากข้อมูลใบตรวจสุขภาพ บอกอะไรเราบ้าง?
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.