แพทย์เฉพาะทางไขข้อข้องใจ ทำไมคุณแม่หลังคลอดมักมีอาการปวดหลัง

นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่าเนื่องจากการตั้งครรภ์ทำให้โครงสร้างร่างกายคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อแบกรับน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ และถ้าหากไม่มีการดูแลตัวเองในช่วงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ก็อาจทำให้คุณแม่ฟื้นตัวได้ช้าและมีอาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้น จนโครงสร้างกระดูกผิดปกติ หมอนรองกระดูกมีปัญหา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาจอันตรายถึงขั้นพิการได้

เพราะโดยปกติแล้วในช่วงหลังคลอดร่างกายจะปรับสู่สภาพปกติได้ใน 1-2 เดือน แต่หากไม่ระวังอิริยาบถ คือมีลักษณะท่าทางการอุ้มลูกที่ผิด หรือท่าทางในการให้นมที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจส่งผลให้คุณแม่ปวดคอ และปวดกล้ามเนื้อหลัง  เพราะอาการปวดมันเกิดจากการที่กระดูกสันหลังทำงานหนักมากเกินไป ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมทำให้ปวดหลังจากน้ำหนักเยอะ โดยเฉพาะคนที่มีลูกแฝดก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดหมอนเสื่อมได้มากกว่า  อย่างไรก็ตามอาการปวดหลัง หลังคลอดในบางรายส่วนใหญ่จะหายไปเอง เพราะพอน้ำหนักลงก็จะทำให้อาการปวดมักจะดีขึ้น แต่ว่าในรายที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือปลิ้นตอนช่วงที่ท้องอยู่อันนี้มันอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่ เมื่อไหร่ก็ตามไปอุ้มลูกเยอะๆ เดินเยอะๆ ยกของหนักเหมือนกัน ก็จะมีอาการปวดหลัง ร้าวลงขาหรือมีอาการชาที่น่องหรือปลายนิ้วเท้า

ทั้งนี้คุณแม่ควรสังเกตอาการตัวเองคือ 1. ถ้าอุ้มลูกแล้วมีอาการปวดหลัง  2. ถ้าอุ้มลูกแล้วมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาชัดเจน ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุ

นอกจากนี้ นพ.ชุมพล ยังแนะนำท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกสันหลังคือ 1.เวลาต้องอุ้มลูกก็คือต้องหลังตรงคุกเข่า ย่อเข่าลง อุ้มลูกขึ้นมาก่อนแล้วก็ค่อยยืนขึ้นแบบหลังตรง อันนี้คือจะใช้กล้ามเนื้อต้นขาจากสะโพกแขนหลัง  2.ในระยะยาวจะต้องเสริมกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เพราะแน่นอนน้ำหนักของลูกต้องโตขึ้นทุกวัน ทำให้น้ำหนักลูกเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นการใช้งานจะต้องเพิ่มขึ้น เราจึงต้องเสริมกล้ามเนื้อหลังของเราด้วยการออกกำลังกาย ส่วนกีฬาที่ดีที่สุดคือการว่ายน้ำ หรือถ้าไม่สะดวกว่ายน้ำ อาจจะต้องมีท่ากายบริหารทุกวันเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง และใช้งานได้โดยมีอาการปวด

นพ.ชุมพล ยกตัวอย่างเคสคุณแม่ที่เจอล่าสุดคือ คุณแม่ท่านนี้นั่งรถเข็นมาเพราะมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ความปวดอยู่ระดับ 9-10 เมื่อมาตรวจแล้วคนไข้ตัดสินใจผ่าตัดเลยเพราะไม่อยากกลับไปวนลูปกินยา กายภาพ และไม่หายสักที  ซึ่งก่อนหน้านี้เขาซื้อยากินเอง ไปคลินิกใกล้บ้านก็ได้ยามากิน ไม่ได้ x-ray หรือว่า MRI แต่มาที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แพทย์จะทำการ x-ray ร่วมกับการทำ MRI จึงพบว่าสาเหตุของอาการปวดเกิดจากที่มีหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทเยอะพอสมควร พอรักษาเสร็จอาการปวดสะโพกร้าวลงขาของเขาหายไปเหมือนไม่มีอาการปวด

นพ.ชุมพล ยังฝากทิ้งท้ายว่าหากคุณแม่มีความกังวลเรื่องอาการปวดหลังอยากให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางและโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ เพราะการรักษาที่มีความแม่นยำอาศัยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดจะทำให้การรักษาลุล่วงไปด้วยดีและปลอดภัย อย่างที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ ที่นี่ไม่ได้มีเพียงเทคนิคการรักษาแบบใหม่เท่านั้น แต่โรงพยาบาล เอส สไปน์ ยังมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือทางการแพทย์เฉพาะทาง และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เน้นประสิทธิภาพในการรักษา ทำให้แพทย์สามารถรักษาคนไข้ได้อย่างมั่นใจและประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา 

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.