ส่งประวัติสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหางานอยู่ การเขียนประวัติส่วนตัว ทั้งการศึกษาและประสบการณ์เพื่อสมัครงานอย่างไรให้ถูกใจฝ่ายบุคคลเป็นเรื่องที่ควรจะเรียนรู้ก่อนจะลงมือเขียน เพราะไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานมานานแล้ว หรือเพิ่งเรียนจบ การเขียนจดหมายสมัครงานที่ต้องระบุประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานควรจะเป็นการสื่อสารที่ชัดเจน ถูกต้อง และไม่เกินจริงจนเกินไป วิธีการส่งประวัติสมัครงานให้ได้งาน มีการเขียนอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

1. เลือกรูปที่เป็นทางการ

ด่านแรกที่ฝ่ายบุคคลจะพิจารณาคือ รูปถ่ายที่ไม่ใช่เซลฟี แต่เป็นรูปถ่ายอย่างเป็นทางการ มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแต่งกายด้วยชุดสุภาพสอดคล้องกับสายงานที่เลือก งดใช้ภาพถ่ายสวมชุดครุย และที่สำคัญห้ามใช้ภาพถ่ายจากการเซลฟีเด็ดขาด เพราะนี่คือจดหมายสมัครงาน เป็นการส่งข้อความอย่างเป็นทางการของคุณไปสู่ว่าที่นายจ้างในอนาคต

2. จัดวางข้อความให้สะอาดตา และ ธรรมดาคือดีที่สุด

ฝ่ายบุคคลหลายที่มีเสียงบ่นเรื่องการทำจดหมายสมัครงานแบบใส่ค่าพลังในประวัติการทำงาน ความสามารถหรือ ประสบการณ์ แม้จะมีดีไซน์ที่ดูทันสมัย แต่ปรากฏว่าฝ่ายบุคคลมักจะคัดทิ้ง และให้ค่ากับจดหมายสมัครงานที่ใส่รายละเอียดการศึกษา ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน ได้อย่างชัดเจนและมีการจัดวางที่สะอาดตา ไม่สั้นหรือยาวเกินไปมากกว่า

ดังนั้น สีสันที่ใช้ควรเป็นไปในโทนที่ดูเรียบง่ายสบายตาไม่ฉูดฉาด เพียง 2-3 สีในเฉดที่ไม่ขัดแย้งกัน หรือเลือกใช้เป็นสีขององค์กรที่กำลังเข้าหาเพื่อให้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันแรงกล้า แบ่งพื้นที่บนหน้ากระดาษให้เหมาะสม ใช้สัญลักษณ์หรือไอคอนเข้ามาช่วยในการสื่อความหมาย ใส่ประวัติส่วนตัวสัก 10 เปอร์เซ็นต์ และแบ่งพื้นที่อื่น ๆ ให้กับทักษะและความสามารถที่คู่ควรกับงาน เลือกตัวอักษรที่อ่านง่ายและเป็นทางการ หลีกเลี่ยงตัวอักษรการ์ตูน เพราะความน่ารักเกินไปอาจทำให้ดูขาดวุฒิภาวะไปอย่างน่าเสียดาย

3. ความสามารถพิเศษ คือใบเบิกทางให้คุณได้งาน

ความสามารถพิเศษ คือองค์ประกอบสำคัญที่จะดึงดูดฝ่ายบุคคล อาทิ คุณมีความสามารถในภาษาที่ 3 อาทิ คุณสมัครงานในตำแหน่งฝ่ายการตลาด คุณใช้ภาษาได้ดีอยู่แล้วในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันคุณได้ภาษาจีนด้วย ถือเป็นความสามารถพิเศษ ที่ทำให้คุณได้รับการพิจารณา หรือตำแหน่ง Content Creator แล้วคุณมีใบประกาศเรียนออนไลน์จาก Google Garage ในคอร์ส Digital Marketing ถือเป็นความสามารถพิเศษเช่นกัน

ความสามารถพิเศษไม่ได้มาพร้อมกับปริญญาบัตร แต่เป็นสิ่งที่คุณสร้างขึ้นมาได้เองด้วยการเลือกที่จะศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน หรือ เข้าอบรมออนไลน์ให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งใบประกาศแนบท้ายจะทำให้คุณ ได้รับการพิจารณาที่ดีเป็นอย่างยิ่งจากฝ่ายบุคคล

4. ศึกษารายละเอียดตำแหน่งที่จะสมัครและบริษัทเรียกไปสัมภาษณ์งาน

อย่าลืมที่จะศึกษารายละเอียดหน้าที่การทำงานจากข้อมูลที่ผู้รับสมัครมีให้ และใส่ทักษะรวมถึงประสบการณ์ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานที่สมัครให้มากที่สุด บอกให้ชัดเจนว่าคุณสามารถใช้ความรู้เฉพาะด้านที่มีเพื่อการทำงานในตำแหน่งนี้ได้อย่างไร เด็กจบใหม่สามารถใส่กิจกรรมเด่น ๆ หรือโครงการที่เคยทำในช่วงที่ผ่านมาลงไปได้ อย่างประวัติการฝึกงาน การเป็นอาสาสมัคร หรือกิจกรรมที่เคยร่วมกับมหาวิทยาลัย เป็นต้น

5. ระวังการสะกดคำผิดและใช้คำไม่เหมาะสม

สิ่งที่ฝ่ายบุคคลใส่ใจมากเป็นพิเศษคือการสะกดคำและการใช้คำ เพราะเป็นด่านแรกที่จะทำให้รู้ว่าผู้สมัครนั้นมีความใส่ใจ และมีการศึกษาอยู่ในระดับไหน และยังสะท้อนความเป็นจริงจากประวัติส่วนตัวว่าเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ ดังนั้น อย่าลืมตรวจสอบไวยากรณ์ภาพรวม และแก้ไขให้ถูกต้องอีกครั้ง จัดหน้าให้เรียบร้อยก่อนส่งออกไปใช้งาน

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.