"ภาวะดื้ออินซูลิน" คืออะไร มีอาการอย่างไร เช็กซิคุณเข้าข่ายหรือเปล่า

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) เป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อ อินซูลินฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยลงส่งผลให้อินซูลินทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ร่างกายจึงต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

อันตรายของภาวะดื้อต่ออินซูลิน

  • เพิ่มความเสี่ยง ของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • เพิ่มความเสี่ยง ของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เพิ่มความเสี่ยง ของโรคความดันโลหิตสูง
  • เพิ่มความเสี่ยง ของโรคไขมันในเลือดผิดปกติ

น่ากังวลคือภาวะดื้อต่ออินซูลินมักไม่มีอาการที่ชัดเจน ดังนั้นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ โดยแพทย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

กลุ่มเสี่ยงของภาวะดื้อต่ออินซูลิน

  • บุคคลที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยเฉพาะไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง
  • บุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • บุคคลที่มีความดันโลหิตสูง
  • บุคคลที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ
  • บุคคลที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย

สาเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลิน

สาเหตุหลักของภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน

กลไกเป็นดังนี้

  1. เมื่อรับประทานอาหาร ร่างกายจะย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เปลี่ยนเป็นน้ำตาล (กลูโคส)
  2. น้ำตาลในเลือดจะกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน
  3. อินซูลินทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลจากกระแสเลือด เข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน
  4. หากร่างกายได้รับน้ำตาลจากอาหารมากเกินไป เป็นเวลานาน ตับอ่อนจำเป็นต้องผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  5. ภาวะอินซูลินสูงเป็นเวลานาน ส่งผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อ ไขมัน และตับ ทำให้เซลล์เหล่านี้ดื้อต่ออินซูลิน
  6. เมื่อเซลล์ดื้อต่ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น
  7. วัฏจักรนี้หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ

ภาวะดื้อต่ออินซูลินควรพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ

หากคุณมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน สิ่งสำคัญคือการปรึกษาแพทย เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ แพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือ hemoglobin A1c (HbA1c or A1C เป็นประจำเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวานได้แก่

  • กระหายน้ำมาก
  • หิวบ่อยแม้เพิ่งทานอาหารไป
  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน
  • รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มตามมือหรือเท้า
  • อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
  • ติดเชื้อบ่อย
  • ผลเลือดแสดงระดับน้ำตาลในเลือดสูง

นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่เป็นภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจมีภาวะผิวหนังดำด้านซึ่งเป็นลักษณะผิวหนังเป็นปื้นหนาสีคล้ำ มักปรากฏบริเวณท้ายทอย ขาหนีบ และรักแร้ สาเหตุของภาวะผิวหนังดำด้านยังไม่ชัดเจน แต่แพทย์บางท่านเชื่อว่าอินซูลินส่งผลต่อเซลล์ผิวหนังบางชนิดทำให้เซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตมากผิดปกติ

ภาวะผิวหนังดำด้านไม่มีทางรักษาหายขาด แต่หากภาวะนี้เกิดจากโรคอื่นแพทย์อาจรักษาโรคดังกล่าวเพื่อให้สีผิวกลับคืนสู่สภาวะปกติ กรณีที่ไม่มีอาการแพทย์มักใช้ผลเลือดในการวินิจฉัยเบาหวานแฝง (prediabetes) หรือโรคเบาหวาน

  • สัญญาณเตือนโรคเบาหวาน จะมีอาการอย่างไร
  • 7 สัญญาณอันตราย “เบาหวาน” ไม่อ้วนก็เป็นได้

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.