เปิด 6 เรื่อง “ฉลากอาหาร” ปลอดภัยแบบใหม่ SME เตรียมพร้อม ก่อนบังคับใช้ 2 ก.ค.67

“ฉลากอาหาร” ถือเป็น “หัวใจ” สำคัญของสินค้าเพื่อการบริโภค เพราะคือสิ่งที่จะช่วยบ่งบอกถึงรายละเอียดและส่วนประกอบสำคัญในตัวสินค้า ที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แต่ฉลากอาหารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ที่หันมาสนใจในเรื่องของโภชนาการอาหารเพิ่มมากขึ้น ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 445-448 เกี่ยวกับฉลากโภชนาการ, อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม แบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amount), การกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารบนฉลาก และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม SME อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์ 7 สนับสนุน SME จึงได้จัดสัมมนาพิเศษ “เตรียมความพร้อมด้านฉลากสินค้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 445-448”ให้กับผู้ประกอบการ SME และผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่เป็นคู่ค้าและผู้ที่สนใจทั่วไปได้ updateข้อมูล โดยมี นางสาวนฤมล ฉัตรสง่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหารและการบริโภคอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข มาเป็นผู้ให้ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ ในการปรับตัวให้ทันต่อกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้า เพราะเมื่อถึงกำหนดบังคับใช้ฉลากอาหารฉบับใหม่แล้วผู้ประกอบการที่ไม่เปลี่ยนฉลาก สินค้าก็จะถูกถอนออกจาก Shelf จำหน่ายโดยอัตโนมัติในทันที

โดยใจความสำคัญของประกาศทั้ง 4 ฉบับ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบถึงข้อมูลชนิดและปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากการบริโภค เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารกับอาหารประเภทเดียวกันได้ พร้อมรายละเอียดต่างๆ กำหนดคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหาร

1.รูปแบบกรอบข้อมูลโภชนาการ : ต้องเป็นกรอบแบบมาตรฐาน (ไม่มีกรอบแบบย่อ) กรณีนอกเหนือจากรูปแบบที่กำหนด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารวมถึงมีการปรับข้อความ “หนึ่งหน่วยบริโภค” และ “จำนวนหน่วยบริโภค” เป็น “กินได้.. ครั้งต่อ...” ตลอดจนกำหนดจำนวนรายการสารอาหารบังคับน้อยลง จาก 15 รายการ เป็น 9 รายการได้แก่ พลังงาน ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล โปรตีน คาร์โบไฮเดรตน้ำตาลทั้งหมด โซเดียม และโพแทสเซียมพร้อมกำหนด “โพแทสเซียม” เป็นสารอาหารบังคับเพิ่มเติม

2.ปรับข้อกำหนดเงื่อนไขการแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการ : การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการนั้น การแสดงสีของพื้นกรอบข้อมูลให้ใช้สีขาว ตัวอักษรต้องใช้สีที่เห็นและอ่านได้ชัดเจน และต้องเป็นสีเดียวกันสีเส้นกรอบ ขนาดของตัวอักษรต้องมีขนาดดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 และ 2 ความสูงไม่น้อยกว่า 1.5 มม. ส่วนที่ 3,4 และ 5 ความสูงไม่น้อยกว่า 1 มม. พร้อมแสดงข้อมูลพลังงานและสารอาหารทุกรายการตามที่กำหนด แม้ว่าจะมีปริมาณที่ไม่มีนัยสำคัญก็ตาม การแสดงข้อมูลสารอาหารอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดให้แสดงในกรอบข้อมูลโภชนาการ ต้องแสดงตามลำดับก่อนหลังตามเงื่อนไขที่กำหนด กำหนดค่าการแปลงหน่วย (Conversion factors) และการคำนวณค่าพลังงาน, การคำนวณค่าพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด, ค่าการแปลงหน่วยของวิตามินและแร่ธาตุ ปัดตัวเลขวิตามินและแร่ธาตุกรณีปริมาณไม่มีนัยสำคัญจาก “

 

3.วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคกับจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ: ปรับแก้ไขนิยามของ “หนึ่งหน่วยบริโภค หรือ ปริมาณที่กินต่อครั้ง” โดยเน้นใช้คำว่า “ปริมาณที่กินต่อครั้ง” ให้สอดคล้องกับข้อความที่ใช้ในกรอบข้อมูลโภชนาการ ขยายกลุ่มอาหารจาก 7 กลุ่ม เป็น 14 กลุ่ม พร้อมชนิดอาหาร และปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง ปรับหลักเกณฑ์การก าหนดปริมาณที่กินต่อครั้ง วิธีการกำหนดจำนวนครั้งที่กินได้ต่อภาชนะบรรจุ ปรับเศษเป็นจำนวนเต็ม ให้ใช้ตามหลักการทางคณิตศาสตร์สากล

4.ปรับชื่อบัญชี : “ค่าอ้างอิงสารอาหารต่อวันสำหรับคนไทย (THAI REFERENCE DAILY INTAKES-THAI RDIs)” เพื่อเป็นค่ากลางสำหรับอ้างอิงการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหาร ปรับลดช่วงอายุอ้างอิงจาก “อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป” เป็น “อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป” ไม่กำหนดค่า Thai RDIs ของฟลูออไรด์

5.ค่าอ้างอิงต่อวันของสารอาหาร : กำหนดค่าอ้างอิงต่อวัน (Thai RDIs) ของสารอาหารจำนวน 33 รายการ พิจารณาบนพื้นฐานของปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Daily Intake Reference Value, DIRVs) ของประชากรทั่วไปสุขภาพดีในช่วงอายุ 19-50 ปี และค่าพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน 2,000 กิโลแคลอรี ปรับลดช่วงอายุอ้างอิงจาก “อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป” เป็น “อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป” อ้างอิงตามมาตรฐาน CODEX เพื่อแบ่งกลุ่มประชากรให้ชัดเจน โดยแยกกลุ่มทารกและเด็กเล็ก (อายุ 0-3 ปี) ออกจากกลุ่มประชากรทั่วไป ไม่กำหนดค่า Thai RDIs ของฟลูออไรด์ สอดคล้องกับหลักการพิจารณากำหนดค่า DRIs ของกรมอนามัย

6.เกณฑ์และเงื่อนไขการกล่าวอ้างทางโภชนาการ : ปรับเงื่อนไขการคำนวณปริมาณสารอาหารกรณีอาหารที่มีปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงไม่เกิน 30 กรัม หรือไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ จากการคำนวณ “ต่อ 50 กรัม” เป็น“ต่อ 2 เท่า ของปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง” และมีการเพิ่มเงื่อนไขปริมาณ “น้ำตาลทั้งหมด มากกว่า 13กรัม” สอดคล้องกับเงื่อนไขการแสดงข้อความ“เพื่อสุขภาพ” และการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหาร ปรับเงื่อนไขข้อความกล่าวอ้าง ไขมันอิ่มตัวต่ำ” “โซเดียมน้อย” “ไม่เติมน้ำตาล/ไม่ใส่น้ำตาล” “เป็นแหล่งของ, มี” “สูง, อุดม”กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารค่าต่ำสุด = 15% THAI RDIs ค่าสูงสุด = ปรับชนิดและปริมาณตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ

สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารที่ยื่นขออนุญาตแสดงฉลากโภชนาการก่อนวันที่ประกาศฉบับใหม่บังคับใช้ ผู้ประกอบการยังคงสามารถจำหน่ายต่อไปได้ โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ แต่ต้องไม่เกินสามปี นับแต่ฉบับใหม่บังคับใช้คือ ไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2570 หลังจากนั้นต้องแสดงฉลากโภชนาการตามประกาศฯฉบับใหม่

อีกหนึ่งบทบาทสำคัญของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัดมหาชน ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารนอกจากสรรหาอาหารคุณภาพมีความปลอดภัยสูงให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังจัดให้มีโครงการเสริมความรู้ใหม่ๆ ให้กับคู่ค้าและผู้ประกอบการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่อง

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.