10 อาหารต้านมะเร็ง ยิ่งทานยิ่งสตรอง!
ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นโรคมะเร็งใช่ไหมคะ แต่จะให้ซื้อยา หรืออาหารเสริมมาทานก็ไม่แน่ใจในเรื่องของประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง หรือแม้กระทั่งราคาที่แพงลิบลิ่ว Sanook! Health จึงขอแนะนำอาหารธรรมดาๆ หาได้ตามท้องตลาด แต่ต้านมะเร็งได้อยู่หมัดมาให้เลือกทานกันตามใจชอบเลยค่ะ
มะเร็ง คืออะไร ?
มะเร็ง คือ โรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ฉะนั้น เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้จึงสามารถแพร่กระจายและลุกลามไปทั่วร่างกาย มีผลทำให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ รวมถึงอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก่อให้เกิดโรคและมีอาการต่างๆ เกิดขึ้นตามมา หากว่าเกิดมะเร็งในอวัยวะสำคัญๆ หรือเซลล์มะเร็งนั้นได้แพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะสำคัญ ทำให้อวัยวะนั้นๆ ล้มเหลว ทำงานได้ไม่ปกติ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุด อวัยวะสำคัญที่อาจเป็นเป้าหมายของเซลล์มะเร็ง ได้แก่ ตับ ปอด สมอง กระดูก ไขกระดูก และไต
มะเร็ง เกิดขึ้นได้อย่างไร
สาเหตุของการเกิดมะเร็งนั้นยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นและมีการแพร่กระจายได้อย่างไร แต่ในปัจจุบันแพทย์ได้มีการวิจัยและพบปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งก็มีความเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดน่าจะมาจากปลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน น้อยมากที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยเดียว โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็ง ได้แก่ ..
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดขึ้นได้จากมั้งพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดและไม่ถ่ายทอด
- การสูบบุหรี่
- การดื่มเหล้า
- ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
- ขาดการกินผักและผลไม้
- กินอาหารจำพวกไขมัน หรือเนื้อแดงต่อเนื่องเป็นประจำ
- การสูดดมสารพิษบางอย่างเป็นประจำ
- ร่างกายได้รับโลหะหนัก จากการหายใจ อาหาร และ/หรือน้ำดื่ม เช่น สารปรอท
- ติดเชื้อไวรัสบางชนิด อาทิ ไวรัสเอชไอวี (HIV) ไวรัสเอชพีวี (HPV)
- ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด อาทิ เชื้อเอชไพโลริในกระเพาะอาหาร
- ติดเชื้อพยาธิบางชนิด อาทิ พยาธิใบไม้ตับ
- มีการใช้ยาฮอร์เพศอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- อยู่ในวัยสุงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้น เซลล์ในผู้สูงอายุก็จะมีการเสื่อมและซ่อมแซมตัวเองอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสาเหตุให้เซลล์กลายพันธ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ง่าย
มะเร็ง ต่างจากเนื้องอกอย่างไร ?
บางคนอาจจะยังมีความสงสัยอยู่ว่าการเป็นโรคมะเร็งกับการเป็นเนื้องอกนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างของทั้งสองอาการให้เห็นกันชัดๆ โรคมะเร็งนั้นจะต่างจากการเป็นเนื้องอกก็ตรงที่ ก้อนเนื้อ หรือแผลที่เป็นมะเร็งนั้นจะลุกลามเข้าสู่อวัยวะข้างเคียงได้เร็วกว่า เข้าต่อมน้ำเหลือ แพร่กระจายเข้าสู่หลอดเลือด เข้าสู่กระแสเลือด ตลอดจนหลอดน้ำเหลืองต่อเนื่องไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย โดยมากมักแพร่สู่ปอด ตับ สมอง กระดูก และไขกระดูก ฉะนั้น โรคมะเร็งจึอาจมองได้ว่าเป็นโรคที่เรื้อรัง รุนแรง มีการรักษาที่ซับซ้อนและต้องทำอย่างต่อเนื่อง
เนื้องอก หรือโรคเนื้องอก อันได้แก่ การมีก้อนเนื้อที่ผิดปกติ จะแตกต่างจากก้อนเนื้อของมะเร็งตรงที่ก้อนเนื้อนั้นโตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียง ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสโลหิต ตลอดจนกระแสน้ำเหลือง ฉะนั้น การเป็นเนื้องอกทำการรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด
คราวนี้เมื่อรู้ถึงที่มาที่ไปของโรคมะเร็งแล้ว เรามาดูกันซิว่าการรับประทานประเภทไหนบ้างที่จะช่วยให้เรานั้นห่างไกล หรือมีโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งได้น้อยลง ...
1. ผัก
ผักหลายชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น
- ผักสีเข้ม ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว ส้ม แดง ม่วง เช่น ผักโขม แครอท มะเขือเทศ
- กะหล่ำต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี บล็อกโคลี กะหล่ำดอก
- หัวหอม และกระเทียม
2. ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ที่นอกจากจะช่วยต้านมะเร็งแล้ว ยังดีต่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนที่ดี และกากใยอาหารตามธรรมชาติ ขับถ่ายได้สะดวกอีกด้วย
3. ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเล่ย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ต้านมะเร็งก็ดี วิตามินบีก็ได้ ลดความดันโลหิตก็เยี่ยม
4. สาหร่ายทะเล เป็นแหล่งแร่ธาตุชั้นดี เต็มไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกายมากมาย มีให้เลือกทานหลายชนิด แต่ควรเลือกทานสลับชนิดกันไปเรื่อยๆ ไม่ควรทานสาหร่ายชนิดเดียวติดต่อกันนานเกินไป หรือใครอยากลองสาหร่ายพวงองุ่นก็ดีนะคะ เทรนด์กำลังมาเลยล่ะ (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ประโยชน์ของสาหร่ายพวงองุ่น ที่นี่)
5. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ทั้งสตอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ ทั้งอร่อยสดชื่น และมีประโยชน์มากมาย ทั้งวิตามินต่างๆ และกากใยอาหาร ทานสดจะได้คุณค่าสูงสุดค่ะ
6. ปลาน้ำเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นปลาทะเล เช่น แซลมอน ที่มีโอเมก้า 3 และไขมันที่ดีต่อร่างกาย ปลาคอท ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน
7. เครื่องเทศต่างๆ เช่น เก๋ากี้ (หรือโกจิเบอร์รี่) พริกไทย กระเทียม หัวหอม ขิง โรสแมรี่ สามารถนำมาทำอาหาร หรือทานสดได้ (หากทานได้) ช่วยต้านมะเร็ง และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย
8. โยเกิร์ต ไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องการขับถ่าย และช่วยควบคุมน้ำหนักได้เท่านั้น แต่ยังช่วยต้านมะเร็ง เพราะมีสารอนุมูลอิสระ ช่วยการหมุนเวียนของโลหิต และชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย หรือจะลองกรีกโยเกิร์ต ที่เข้มข้นกว่า สารอาหารมากกว่า และมีโปรไบโอติกส์ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ดีกว่าด้วย
9. เห็ดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดออรินจิ และอื่นๆ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด มีเส้นใยอาหารที่ช่วยเรื่องการย่อย และการขับถ่ายให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินต่างๆ ที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย
10. น้ำดื่มธรรมดาๆ นี่แหละ น้ำดื่มสะอาด ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้คล่องตัวขึ้น เป็นตัวกลางสำคัญที่จะทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการนำพาเอาของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้นอีกด้วย
มะเร็ง รักษาหายหรือไม่ ?
อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป สำหรับใครที่เคยได้ยินมาว่า โรคมะเร็ง นั้นเป็นโรคที่รักษาไม่หาย หรือเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดยาก เพราะเท่าที่ได้มีการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวเรื่องโรคมะเร็งมา พบว่า โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โอกาสในการรักาาให้หายก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้ ..
- ระยะของโรค
- ชนิดของเซลล์มะเร็ง
- วิธีการรักษา สามารถผ่าตัดได้หรือไม่ หากผ่าตัดได้ จะสามารถนำก้อนมะเร็งออกได้ทั้งหมดหรือไม่
- มะเร็งชนิดที่พบในผู้ป่วย เป็นชนิดที่ดื้อต่อรังสีรักษา และ/หรือยาเคมีบำบัด และ/หรือยาที่ใช้รักษาตรงเป้าหรือไม่
- ช่วงอายุ
- สุขภาพของผู้ป่วย
ถ้าจะให้อธิบายกันอย่างเห็นภาพแล้วละก็ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งนั้นในภาพรวมอัตราการรอดจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปี ภายหลังที่ทำการรักษา โดยแบ่งเป็นรายละเอียดดังนี้ ..
- โรคมะเร็งระยะ 0 โอกาสหายจะอยู่ที่ 90 - 95%
- โรคมะเร็งระยะที่ 1 โอกาสหายจะอยู่ที่ 70 - 90%
- โรคมะเร็งระยะที่ 2 โอกาสหายจะอยู่ที่ 70 - 80%
- โรคมะเร็งระยะที่ 3 โอกาสหายจะอยู่ที่ 20 - 60%
- โรคมะเร็งระยะที่ 4 โอกาสหายจะอยู่ที่ 0 - 15%
แพทย์จะรู้ได้อย่างไรว่าป่วยเป็นมะเร็ง
การที่จะรู้ได้ว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาเป็น โรคมะเร็ง หรือไม่นั้น แพทย์จะสามารถตรวจสอบได้จากประวัติอาการต่างๆ ของผู้ป่วย , การตรวจร่างกาย , การตรวจเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่มีอาการ ผ่านการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอ แต่หากต้องการรู้ผลที่แม่นยำ แพทย์ก็จะทำการเจาะ หรือดูดเซลล์จากก้อนเนื้อเยื่อเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา หรือตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาโดยแพทย์เฉพาะทาง
เห็นไหมคะว่าอาหารแต่ละอย่างอยู่รอบตัวเราทั้งนั้น แค่ปลานึ่ง ผักต้ม น้ำพริก แกงจืด ยำเห็ด ตบด้วยน้ำผลไม้ปั่น ทุกอย่างรสชาติดี และมีประโยชน์ในราคาสบายกระเป๋า เพราะฉะนั้นเรามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีด้วยกันดีกว่าค่ะ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.