ปัญหาหัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีแก้ไขในคุณแม่ให้นมลูก
อาการเจ็บและหัวนมแตก มักเกิดกับคุณแม่มือใหม่ที่ให้นมลูก ภาวะนี้มีลักษณะเป็นผิวหนังแห้งและแตก บริเวณหัวนม ทำให้เกิดอาการไม่สบาย และเจ็บปวดระหว่างให้นมบุตร เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่จะต้องเข้าใจสาเหตุและเรียนรู้วิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้ คุณแม่จึงสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เติมเต็มความสุขได้มากยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาหัวนมแตกในคุณแม่ให้นมบุตร
ปัญหาหลักๆ คือ เด็ดทารกดูดนมด้วยความรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ และส่งผลให้เกิดแผลเจ็บปวดได้ ทำให้ทารกดูดนมได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หัวนมแตกได้ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตร การรักษาความสะอาดบริเวณหัวนมมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณแม่จะกังวลมากเกินไป เกี่ยวกับสุขอนามัยและใช้แอลกอฮอล์ หรือสบู่ที่รุนแรงมากเกินไป ในการทำความสะอาดหัวนม ซึ่งการทำเช่นนี้อาจทำให้ผิวหนังแห้งและแตก ส่งผลให้หัวนมเจ็บได้ง่าย นอกจากนี้ การใช้เครื่องปั๊มนมอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้หัวนมเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแม่ปั๊มแรงเกินไป จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเร่งกระบวนการปั๊มนม เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หัวนมได้มากขึ้น
วิธีบรรเทาอาการเจ็บหัวนมจากปัญหาหัวนมแตก
- หากหัวนมแน่นหรือแข็ง ให้บีบหรือนวดหัวนมเบา ๆ เพื่อให้นิ่มก่อนปล่อยให้ทารกดูดนม
- เปลี่ยนตำแหน่งการให้นม หรือปรับตำแหน่งของทารก เพื่อหลีกเลี่ยงการดูดบริเวณรอยแตกครั้งก่อน
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทารกดูดเต้านมได้อย่างถูกต้อง โปรดจำไว้ว่าจมูก แก้ม และคางของทารก ควรสัมผัสกับเต้านม ริมฝีปากบนและล่าง ควรกางออก
- หากหัวนมของคุณแม่ยังเจ็บอยู่ ให้บีบน้ำนมออกเล็กน้อย เพื่อให้หัวนมนิ่มก่อนให้นมลูก วิธีนี้จะช่วยป้องกันอุปสรรคในการดูดนมของทารก
- เริ่มต้นด้วยการให้ทารกดูดนมจากด้านข้างที่เจ็บน้อยกว่า หากทั้งสองข้างเจ็บเท่ากัน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ แล้วนวดเบา ๆ ที่เต้านม เพื่อให้น้ำนมไหลง่ายขึ้น
- หากจำเป็นให้เพิ่มความถี่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ควรลดระยะเวลาในการให้นมแต่ละครั้งลงประมาณ 10-15 นาที หรือจนกว่าเต้านมจะนิ่มมากขึ้น
หากคุณเป็ยคุณแม่มือใหม่ที่มีอาการเจ็บและหัวนมแตก แนะนำหยุดให้นมบุตรชั่วคราว เป็นเวลา 1-2 วัน ในช่วงเวลานี้ให้ทาครีมหัวนมแล้วปล่อยให้แห้ง ทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล สามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายได้เช่นกัน ในขณะที่งดการให้นมบุตร สิ่งสำคัญคือต้องปั๊มนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง และป้อนให้ทารกด้วยช้อน สิ่งสำคัญคืออย่าให้ทารกดูดนมจากขวดโดยตรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดความสับสน และกลายเป็นความยากลำบากในการเปลี่ยนกลับไปเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากปัญหายังคงอยู่หรือมีอาการรุนแรง เช่น มีเลือดออกมากเกินไปจากหัวนมแตก แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เช่น สูติแพทย์ พยาบาล หรือที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.