ปวดประจำเดือนแบบไหน ควรพบแพทย์ด่วน เรื่องใกล้ตัวที่สาวๆ ต้องรู้
ประจำเดือนเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยจะมาพร้อมกับอาหารปวดประจำเดือน หลายจึงคนมักพึ่งพายาแก้ปวด หรือใช้ถุงน้ำร้อน และแผ่นประคบร้อน เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว หากอาการปวดทุเลาลง ก็ถือเป็นอาการปกติของอาการปวดประจำเดือน แต่หากใครมีอาการปวดกะทันหันและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะรับประทานยาแล้ว อาการปวดก็ยังขัดขวางการทำกิจกรรมประจำวัน หรือแย่ลงในแต่ละรอบที่เป็นประจำเดือน แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพราะอาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะทางการแพทย์ได้
อาการผิดปกติที่ควรระวัง เมื่อเริ่มปวดประจำเดือนหนัก
การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือ ภาวะที่มีอาการปวดจากสาเหตุโรคประจำตัว หรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ ซึ่งถ้าคุณมีอาการปวดแบบผิดปกติเหล่านี้ แนะนำให้รีบพบแพทย์ คือ
- มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง และจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป ช่วงแรกอาจสามารถทนความเจ็บปวดได้ แต่อาการปวดนี้กลับทวีคูณขึ้นกว่าเดิม
- ความรุนแรงของอาการปวด จำเป็นต้องรับประทานยาแก้ปวดมากกว่าวันละครั้ง หรือแม้แต่การฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการ
- ช่วงมีประจำเดือน มีอาการปวดท้อง และจำเป็นต้องถ่ายอุจจาระอย่างเร่งด่วน แต่ไม่มีอุจจาระเลย
- มีอาการปวดเฉพาะที่ บริเวณช่องท้องส่วนล่างทั้งสองข้าง ซึ่งมักจะลามไปยังช่องคลอดด้านเดียวกัน หรือแม้แต่ขา
- นอกจากอาการปวดประจำเดือนแล้ว มีเลือดออกเป็นระยะ ๆ หรือมากเกินไป ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 เดือน
- มีอาการปวดท้องในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
แนะนำการรักษาเบื้องต้น เมื่อมีอาหารปวดประจำเดือน
วัตถุประสงค์หลักของการรักษาอาการปวดประจำเดือน คือ บรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และลดการกระตุ้นโดยตรงของตัวรับความเจ็บปวด แต่การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วย การตอบสนองของแต่ละคน และความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่ทำการรักษา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งแพทย์และผู้ป่วย ในการทำงานร่วมกันและตัดสินใจร่วมกัน ตัวเลือกการรักษาจะมีดังนี้
1.การใช้ยาฮอร์โมน
การรักษาด้วยยาฮอร์โมน สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยับยั้งการตกไข่ ลดการแบ่งเซลล์ และลดการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก การรักษาด้วยฮอร์โมน สามารถทำได้หลายวิธี รวมถึงยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน รวมในรูปแบบของยารับประทาน แผ่นแปะผิวหนัง หรือห่วงในช่องคลอด โดยมีอัตราความสำเร็จสูงถึง 80%
2.การใช้ยาต้านอักเสบ
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ถูกเลือกให้เป็นยารักษาเบื้องต้นโดยแพทย์ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ยาเหล่านี้ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรเทาอาการปวดได้โดยตรง ขอแนะนำให้เริ่มรับประทาน NSAIDs ประมาณ 1-2 วัน ก่อนเริ่มมีประจำเดือน และใช้ยาตามกำหนด วิธีการนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการจัดการความเจ็บปวดได้ดีมาก
3.การรักษาทางเลือก
วิธีการรักษาทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา มีหลายวิธีในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยมีงานวิจัยชัดเจ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ในการลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือน คือ การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า ผ่านคลื่นความถี่สูงที่ผิวหนัง การฝังเข็ม การประคบร้อน การออกกำลังกาย โยคะ อาหารเสริม และวิตามินอี นอกจากนี้ สารสกัดจากขิงยังพบว่ามีประสิทธิผล ในการลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้
อาการปวดประจำเดือน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน ในช่วง 2 ปีแรก การรักษาเบื้องต้นที่แนะนำ สำหรับอาการนี้คือการใช้ยา โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ เป็นการรักษาขั้นแรกที่แพทย์ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้ จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินประสิทธิผลของการรักษา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ถ้าอาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาได้ ด้วยการกินยาแก้อักเสบ ก็สรุปได้ว่าอาการปวดนั้น ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรงใด ๆ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.