สตรีหมายเลข 1 ดัน 'บำรุงราษฎร์' ยกระดับ 'เวชศาสตร์อายุยืน' รับสังคมสูงวัย

ในปี 2566 มีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และในปี 2583 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุถึง 30% ซึ่งแน่นอนว่าผลที่ตามมาจากจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นคือ การเพิ่มขึ้นของโรคและภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับความชรา

 

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก รายงานว่า โรค NCD หรือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย นับเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรโลก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากกองควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข โดยแสดงให้เห็นถึงจํานวนผู้เสียชีวิตจากโรคเหล่านี้ในประเทศไทยที่ยังคงเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยง อาทิเช่น การรับประทานอาหารหวานจัด มันจัด อาหารปิ้งย่าง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ไม่ออกกําลังกาย นอนดึก มีความเครียดสูง พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการทําลายเซลล์ในร่างกาย ดังนั้น การส่งเสริมเรื่องการดูแลสุขภาพที่ดีอย่างยืนยาวควบคู่ไปกับการมีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ

 

 

ภายในงาน Exclusive Talks หัวข้อ “Longevity Medicine: Upskilling the Physicians of Tomorrow” และ หัวข้อ “Longevity Medicine: Shaping the Future of Healthy Aging” ซึ่งจัดขึ้นโดย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการบริบาลสุขภาพระดับโลกมากว่า 43 ปี และ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในฐานะผู้บุกเบิกการแพทย์ด้านเวชศาสตร์การมีอายุยืน (Longevity Medicine) อย่างมีคุณภาพมากกว่า 20 ปี  มีการแลกเปลี่ยนความรู้และยกระดับการแพทย์ด้าน Longevity Medicine โดยใช้ประโยชน์จากการวิจัยล่าสุดและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ เพื่อป้องกันหรือชะลอปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพ และ เพื่อเสริมสร้างการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว

 

โดยได้รับเกียรติจาก พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน สตรีหมายเลข 1 ของประเทศไทย และ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและความงามด้านผิวพรรณ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ และ ได้รับเกียรติจากผู้ชำนาญการด้านสุขภาพและนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติด้าน Longevity medicine 3 ท่าน ได้แก่ ดร. ไบรอัน เคนเนดี้, ดร. คอลลิน อีวาลด์ และดร. เอเวอร์ลีน บิสชอฟ มาเป็นวิทยากรรับเชิญในงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของศาสตร์การชะลอวัยในปัจจุบัน

 

 

พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน สตรีหมายเลข 1 ของประเทศไทย และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและความงามด้านผิวพรรณ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การแพทย์เพื่ออายุยืนยาวแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และเป็นการยกระดับการดูแลสุขภาพไปอีกขั้น ซึ่งไม่ใช่แค่การรักษาโรคเมื่อเจ็บป่วยเท่านั้น แต่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพที่ดีตลอดชีวิตของเรา ความรู้ทางการแพทย์ในเรื่อง Longevity Medicine นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดอนาคตด้านการดูแลสุขภาพ ทำให้แพทย์สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้เพื่อให้การดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม เป็นการดูแลสุขภาพเชิงรุกและเฉพาะบุคคลมากขึ้น และยังช่วยในเรื่องของการพัฒนาประเทศในอนาคต เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อีกทางหนึ่ง

ทางด้าน ดร. ไบรอัน เคนเนดี้ บุคคลที่มีชื่อเสียงในสาขาการวิจัยเรื่องอายุ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาของการสูงวัย และการวิจัยที่เน้นเรื่องการชะลอปัจจัยที่ทำให้เกิดความชรา รวมถึงงานวิจัยเรื่องการศึกษาพันธุศาสตร์ ชีววิทยาของเซลล์ บทบาทของยีนบางชนิดและสารประกอบต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อความชรา ตลอดจนประสิทธิผลของการอดอาหารและการจำกัดแคลอรี่ และศักยภาพของยา เช่น ราปามัยซิน ในการยืดอายุขัย ควบคู่ไปกับความสำคัญของวิธีการออกกำลังกายอย่างยั่งยืน อาหารเพื่อสุขภาพ การจัดการความเครียด และการนอนหลับที่มีคุณภาพเพื่อการมีอายุยืนยาว

ดร. คอลลิน อีวาลด์ นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิส ที่โด่งดังจากงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกระดับโมเลกุลของการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี แสดงให้เห็นถึงงานวิจัยที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทและความชรา และเขาได้มีส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจบทบาทของการส่งสัญญาณอินซูลิน/IGF-1 ต่อโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมดุลของคอลลาเจนในช่วงอายุยืนยาว รวมถึงการกำหนดโปรตีนที่สร้างเมทริกซ์นอกเซลล์ ทีมงานของดร. คอลลิน ใช้ข้อมูลการแสดงออกของยีนเพื่อทำนายยาที่สามารถชะลอความชราได้

นอกจากนี้ ดร. เอเวอร์ลีน บิสชอฟ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ และเป็นผู้นำในการบูรณาการด้านการใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นในเชิงการแพทย์อายุยืนยาว ดร.เอเวอร์ลีน ได้แสดงให้เห็นถึงงานในด้านวิทยาผู้สูงอายุและการพัฒนาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับการวินิจฉัย

แนวคิดดังกล่าวจะเป็นการปฏิวัติแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกในเรื่องผู้สูงวัยและมะเร็งโดยใช้ข้อมูลเฉพาะบุคคล โดยศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็งในคนอายุ 100 ปี ว่ามีประวัติทางพันธุกรรมได้อย่างไร และยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดทางชีวภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความชรา เช่น นาฬิกาแสดงการแก่ชรา เพื่อบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติทางคลินิก แนวทางนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านการแพทย์เพื่อการมีอายุยืนยาวและพัฒนาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

 

 

ตลอดการสัมนา มีทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมสัมนาครั้งนี้อย่างล้นหลาม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงการผลักดันขอบเขตของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในเรื่องสุขภาพและการดูแลป้องกันอีกด้วย ผลงานวิจัยต่างๆ ที่นำมาเผยแพร่ทำให้เห็นว่า แนวทางการแพทย์เพื่อการมีอายุยืนยาวสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกไกลและเกิดศักยภาพสูงสุดได้ 

 

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ได้พัฒนาศาสตร์ด้านการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยนวัตกรรมและวิธีการที่ทันสมัย การวิจัยโดยมุ่งไปที่การดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงอายุ และบุคคลที่มีความแตกต่างกัน  เพื่อจุดหมายแห่งการมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และเต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ในทุกช่วงวัย

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.