วันรัฐธรรมนูญ คือวันอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดธนาคารด้วยเช่นกัน หลายคนอาจสงสัยว่า วันรัฐธรรมนูญ คือวันอะไร วันรัฐธรรมนูญ สําคัญอย่างไร แล้วทำไมต้องหยุด วันนี้ sanook ได้รวบรวมข้อมูลให้ทราบกันค่ะ
คลิกอ่าน ประวัติวันรัฐธรรมนูญ
วันรัฐธรรมนูญ 2566 ตรงกับวันอะไร
วันรัฐธรรมนูญ 2566 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 ถือเป็นวันหยุดราชการ
วันรัฐธรรมนูญ คือวันอะไร
วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ สําคัญอย่างไร
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ที่ถือเป็นฉบับถาวร เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบรัฐสภา ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน โดยพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นหลายฉบับ มีการแก้ไขร่างกฏหมายหลายรอบ
เพื่อให้เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนไป ดังนั้นในวันรัฐธรรมนูญจึงเป็นวันหยุดราชการ ที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้แก่ประเทศไทย
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
- พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
- ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
- ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
- รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
- ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 กรกฎาคม 2557)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557-6 เมษายน 2560)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ุ6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญที่มักจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
- พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
- พิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
- การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ โดยหน่วยงานราชการ เช่น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น
- การจัดเสวนาวิชาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ โดยสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การจัดกิจกรรมจิตอาสา เช่น การทำความสะอาดชุมชน การจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมประชาธิปไตย เป็นต้น
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญเป็นโอกาสสำคัญที่ให้ประชาชนได้ระลึกถึงวันสำคัญนี้ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.