Smart Mobility: “การจราจรอัจฉริยะ” ลดอุบัติเหตุแบบ real-time ทำได้อย่างไร?
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ 1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 2) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) 3) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) 4) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 5) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) 6) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) คือ 1 ในหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ทั้ง 7 ด้าน
เรามารู้จัก “Smart Mobility” กันให้มากขึ้น ก่อนจะเป็น “Smart City”
Smart Mobility คือหนึ่งในแกนสำคัญของการพัฒนา Smart City อย่างเต็มรูปแบบ ในภาพรวม Smart Mobility จึงหมายถึง การพัฒนาโครงข่ายการสัญจร ทั้งระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะจากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่าง Big Data และ AI เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพการสัญจรในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ เป็นระบบด้านจราจรและขนส่งที่เกิดจากการนำเอาเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาที่สูญเสียไปในการเดินทาง แก้ไขปัญหาจราจรติดขัด ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง และที่สำคัญจะต้องช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ด้วย
และเมื่อเป็น Smart Mobility อย่างแท้จริงก็ต้องมีส่วนช่วยพัฒนาการขนส่งภาคอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่พัฒนาการคมนาคมในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปเท่านั้น แต่ Smart Mobility นั้น ยังครอบคลุมไปถึงการพัฒนาการขนส่งภาคอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น รถพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Hyperloop) ที่นอกจากจะใช้เพื่อการคมนาคมได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังเป็นประโยชน์ในด้านการขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกต่างประเทศอีกด้วย
จุดประสงค์หลักของ Smart Mobility คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านของการเดินทาง และการขนส่ง เช่น การเพิ่มจำนวนที่จอดรถให้เพียงพอสำหรับพลเมือง และนักท่องเที่ยว การเพิ่มคุณภาพของขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึง เชื่อมต่อกันได้ทุกพื้นที่ การผลิตยานพาหนะที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมไปถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถใช้คู่กับการคมนาคม และการขนส่งได้ด้วยเช่นกัน
Smart Mobility จะเกิดขึ้นได้จริงนั้น จำเป็นต้องมีปัจจัย และการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมที่มากกว่าแค่การเพิ่มทางเลือกสำหรับการเดินทาง แต่ต้องรวมไปถึงการพัฒนาตั้งแต่ด้านการคมนาคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความปลอดภัยคือ
- ความหลากหลายของเส้นทางการเดินรถ (Flexibility) การพัฒนาให้แต่ละพื้นที่มีทางเลือกสำหรับการคมนาคมที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ในการเดินทาง ไม่ว่าจะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว การเดินทางเพื่อไปทำงานไปจนถึงการเดินทางภายในชีวิตประจำวันทั่วไป
- ประสิทธิภาพของการคมนาคม (Efficiency) ช่วยให้คุณภาพการใช้ชีวิตในส่วนของการเดินทางเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด พบอุปสรรคในการเดินทางน้อยที่สุด และใช้ระยะเวลาในการเดินทางน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
- โครงข่ายการสัญจรที่เชื่อมต่อกัน (Integration) ทุกเส้นสายของการคมนาคมควรเชื่อมต่อกัน เพื่อให้การเปลี่ยนเส้นทางการสัญจรง่ายขึ้น และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally friendly) เป็นการผสานกันของสองแกนหลักอย่าง Smart Environment และส่งผลต่อมายัง Smart Mobility ที่จะทำให้การคมนาคมลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์
- ความปลอดภัยของการคมนาคม (Safety) ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และความรุนแรงจากการคมนาคมให้ลดน้อยลง
Smart Mobility ในประเทศไทยทำได้อย่างไร
ประเทศไทยมีอุบัติเหตุเป็นอันดับ 9 ของโลก มีผู้เสียชีวิต 17,379 คน/ปี หรือ กว่า 48คน/วัน มีฝุ่นควันพิษมากเป็นอันดับที่ 30 ของโลก และกรุงเทพรถติดเป็นอันดับ 32 ของโลก
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ “iTIC” ร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา “4th iTIC FORUM 2023: Power of Connectivity and Smart Mobility” เผยแพร่ความรู้ด้าน Connectivity and Smart Mobility ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาระบบขนส่ง การจราจรอัจฉริยะและลดอุบัติเหตุในประเทศไทยแบบ real-time
โดยกระทรวงคมนาคมมุ่งเน้น 4 แนวทางหลัก:
1. เปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ส่งเสริมและพัฒนาระบบโครงข่ายทางถนนและทางพิเศษให้ครอบคลุมความต้องการเดินทางของประชาชน และการส่งเสริมพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางน้ำที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง ตลอดจนการศึกษาโครงการ Land Bridge เชื่อมทะเลอันดามันและอ่าวไทย
2.เน้นความปลอดภัยลดอุบัติเหตุในการเดินทางของประชาชน
3.เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีและลดต้นทุนในการเดินทาง
4. เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นด้วย Green Transport ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และ PM 2.5 โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในการเดินทาง รวมทั้งการบูรณาการ ลร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการจราจร
กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการครอบคลุมการเดินทางอาทิ รถไฟใต้ดิน บนดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 276.84กิโลเมตร ถนนทางหลวง ทางหลวงชนบท และทางหลวงท้องถิ่น รวมระยะทาง 707,364.25 กิโลเมตร
ศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ “ iTIC” ระบุว่า มูลนิธิฯพร้อมระดมพลังความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนข้อมูล Big Data ระหว่างหน่วยงานต่างๆ นำมาประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลแก้ปัญหาจราจรและลดอุบัติเหตุ แบบ real-time เช่น การปิดจราจร, อุบัติภัย, ไฟไหม้, เมฆฝน, และน้ำท่วม ภัยพิบัติ, หรือแม้กระทั่ง ฝุ่น PM2.5 ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญ มีการแจ้งเตือนการเกิดอุบัติเหตุ ให้ผู้ขับขี่ที่เดินทางไปในบริเวณรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุด้วย
ทั้งนี้ iTIC รายงานข้อมูลแบบ real time traffic โดยใช้ข้อมูลจาก Vehicle Probe กว่า 100,000 คัน วิ่งอยู่ทั่วประเทศมาประมวลผล แสดงบนDigital Map มีกล้อง CCTV รวมทั้งหมด 282 กล้อง อนาคตมีแผนขยายการเชื่อมต่อกล้อง CCTV จากเทศบาลเมืองภูเก็ต อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด กล้อง CCTV นอกจากใช้ประโยชน์ในการดูสภาพจราจรแบบ real time แล้ว ยังใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ มีการเสนอจุดฝืดของจราจร 20 จุดใน กทม. และจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่กทม. และที่ฉะเชิงเทรา
รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง “แนวคิดใหม่ในการสัญจรของคนกรุง” การเดินทางที่ดีเป็นนโยบายของกทม. ที่มุ่งเน้นให้ผู้คนเดินทางให้เกิดความสะดวกสบายและปลอดภัย แต่ปัจจุบันยังพบว่าปัญหาการเดินทางของประชาชน คือ การเชื่อมต่อจุดหมายปลายทางของการเดินทาง บางเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง ที่ผ่านมากทม.ได้มีการทำแพลตฟอร์ม Traffic Fongdu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแจ้งเรื่องร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆของประชาชนในกรุงเทพฯ ประมาณ 300,000 เรื่อง
พบว่าปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามาส่วนใหญ่ คือ เรื่องปัญหาการเดินทางถนนและปัญหาบนทางเท้า ทั้งนี้กทม.มีแผนจะปรับปรุงทางเท้าใหม่ โดยใช้มาตรฐานใหม่ในการก่อสร้างทั้งวัสดุผิวทางเท้า,คอนกรีตเสริมเหล็กหนาประมาณ 10 ซม. ทั้งยังมีแผนดำเนินการก่อสร้างทางเดินสำหรับกันแดดและการฝนเพื่อเชื่อมต่อป้ายรถประจำทางและสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้ขณะเดียวกันกทม.ยังมีโครงการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯด้วยการติดตั้งระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรเป็นพื้นที่ (ATC) โดยเป็นการนำข้อมูล Probe Data มาใช้ในพื้นที่โครงการ ซึ่งจะช่วยลดความล่าช้าการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนลง 10% และลดความล่าช้าการเดินทางนอกชั่วโมงเร่งด่วนลง 30% โดย กทม.มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาจุดฝืด-จุดรถติด เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุในกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.