คลังถอยไม่แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตคนรวย

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2  ว่า ที่ประชุมมีความเห็น ได้มีข้อสรุปในเรื่องรัศมีการใช้เงิน โดยให้สามารถใช้ได้ ภายในอำเภอ จากเดิมแค่รัศมี 4 กิโลเมตร เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ไม่ใหญ่เกินไป มีร้านค้าเพียงพอรองรับการใช้จ่าย 

 

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่า โดยยังมีความเห็นแตกต่างในเงื่อนไขอีกหลายประเทศที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อาทิ เรื่องกลุ่มที่จะได้รับสิทธิ โดยมาตรการนี้มีข้อเสนอเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งก็ตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องการให้คนเข้าร่วมจำนวนมากๆ อีกข้อเสนอ ก็มีข้อเสนอให้เอาคนรวยออก เพราะบอกว่ารวยแล้วจะไม่นำเงินนี้ไปใช้ในลักษณะของการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่นำเงินไปออมคณะทำงานก็ต้องพยายามหาคำจำกัดความ

 

ทั้งนี้ จะมีการให้คณะกรรมการตัดสินใจรวม 3 ทางเลือก คือ 


1.ให้สิทธิ์เฉพาะผู้ยากไร้ ราว 15-16 ล้านคน โดยใช้ฐานข้อมูลจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้งบประมาณราว 1.5 แสนล้านบาท  

2.ตัดกลุ่มผู้มีเงินเดือนเกิน 25,000 บาท และ/หรือ มีบัญชีเงินฝากเกิน 1 แสนบาทออก เหลือผู้ได้สิทธิ์ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณราว 4.3 แสนล้านบาท

3.ตัดกลุ่มผู้มีเงินเดือนเกิน 50,000 บาท และ/หรือ มีบัญชีเงินฝากเกิน 5 แสนบาทออก เหลือผู้ได้สิทธิ์ 49 ล้านคน ใช้งบประมาณราว 4.9 แสนล้านบาท

"เมื่อมีความเห็นต่าง เป็นหน้าที่ คณะกรรมการชุดใหญ่ตัดสินใจ คณะอนุกรรมการ จะไปดูแต่ละกลุ่มครอบคลุมเท่าไหร่ และเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ตัดสินใจรายละเอียด"นาย จุลพันธ์ กล่าว 

 

อย่างไรก็ตาม อนุกรรมการฯ เป็นเพียงผู้รวบรวมและนำเสนอแนวทาง เพื่อนำเสนอ คณะกรรมการชุดใหญ่ ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พิจารณา ภายในสัปดาห์หน้า  

 

ทั้งนี้ ในส่วนของแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินการนั้น ยอมรับว่าเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันในหลากหลายแนวทาง ทั้งการใช้งบประมาณแผ่นดิน การใช้เงินกู้ และการใช้กลไกอื่น ๆ เช่น มาตรการกึ่งการคลัง โดยโจทย์ของฝ่ายนโยบายที่คิดไว้ตั้งแต่ต้น คือการใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก กลไกดำเนินการคือผ่านพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณ ซึ่งมีข้อเสนอให้ดำเนินการโดยใช้งบผูกพัน เช่น หากโครงการ 4 แสนล้านบาท ก็ตั้งงบผูกพัน 4 ปี โดยเบิกจ่ายปีละ 1 แสนล้านบาท ดังนั้นการขึ้นเงินของร้านค้าก็อาจจะต้องชะลอไป ซึ่งอาจต้องมีการกำหนดในเงื่อนไข ตรงนี้เป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะเสนอให้มีการพิจารณาอย่างจริงจัง 
 

 

นอกจากนี้ ในส่วนของการกู้เงินเพื่อมาใช้ในโครงการนั้น ก็จะบรรจุในแนวทางที่จะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาด้วยเช่นกัน แต่ยืนยันว่าตรงนี้จะเป็นทางเลือกท้าย ๆ เช่นเดียวกับการใช้มาตรการกึ่งการคลัง ผ่านมาตรา 28 พรบ. วินัยการเงินการคลัง โดยยืนยันไม่ใช้เงินจากธนาคารออมสิน เพราะติดปัญหาด้านกฎหมาย โดยจะไม่ใช้เงินจากธนาคารออมสิน เพราะติดขัดเรื่องข้อกฎหมาย


“ยืนยันว่าจะใช้กรอบงบประมาณแผ่นดินเป็นหลักเหมือนเดิมตามที่ฝ่ายนโยบายได้เคยให้โจทย์ไว้ แต่เมื่อมาพิจารณาเรื่องกรอบงบประมาณปี 2567 ซึ่งอาจจะล่าช้าไปราวเดือน เม.ย. -พ.ค. 2567 ก็ยอมรับว่าโครงการแนวโน้มน่าจะดีเลย์ในระดับหนึ่งจากเดิมวันที่ 1 ก.พ.2567 แต่ก็มีข้อดีคือเราจะมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น ในเรื่องความปลอดภัย กระบวนการทดสอบระบบก็มากขึ้น ส่วนจะเริ่มได้เมื่อไหร่ อย่าเพิ่งสรุป แต่รัฐบาลจะพยายามบริหารจัดการให้ดีที่สุด” นายจุลพันธ์ กล่าว

 

สำหรับประเด็นการยืนยันตัวตน เป็นไปตามสิทธิ์  ครอบคลุมทั้ง บุคคลธรรมดา นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชน ใช้จ่ายได้ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ส่วนระบบการขึ้นเงินได้ร้านค้าระบบภาษี 3 ประเภท ทั้งร้านค้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) เงินได้นิติบุคคล และ บุคคธรรมดา


สำหรับผู้พัฒนาระบบบล๊อกเชน สมาคมธนาคารได้ตกลงให้ทางธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำระบบยืนยันว่า ไม่ใช่ตัวเลข 1.2 หมื่นล้านบาทแน่นอน แต่เป็นตัวเลขที่รับได้ 

 

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าแนวโน้มน่าจะดีเลย์ในระดับหนึ่งจากเดิมวันที่ 1 ก.พ.2567 แต่มีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น ในเรื่องความปลอดภัย กระบวนการทดสอบระบบก็มากขึ้น ส่วนเท่าไหร่ขอพิจารณาก่อน 
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.