ปมสงคราม อิสราเอล – ปาเลสไตน์ ไม่กระทบส่งออกไทย เหตุไม่ใช่คู่ค้าหลัก
กระทรวงพาณิชย์ รายงานถึงผลกระทบจากความไม่สงบในอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย จากการประเมินผลกระทบทางตรงต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย กรณีที่สถานการณ์การสู้รบที่อยู่ในพื้นที่จำกัด บริเวณฉนวนกาซา ยังไม่มีการปิดประเทศ หรือปิดกั้นระบบการขนส่งทั้งหมด น่าจะยังไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ขัดแย้ง (อิสราเอลและปาเลสไตน์) หรือหากกรณีที่ไม่สามารถส่งออกไปได้ ก็จะไม่ได้ส่งผลต่อการส่งออกรวมของไทยมากนัก เนื่องจากอิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณการค้าต่างประเทศของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ จึงเชื่อว่าสงครามดังกล่าวจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศในภาพรวมของไทยมากนัก
สำหรับ การค้าระหว่างไทยกับอิสราเอล ปี 2565 มูลค่าการค้ารวมไทยกับอิสราเอล อิสราเอลเป็นคู่ค้าลำดับที่ 42 ของไทย การค้าระหว่างไทย – อิสราเอลมีมูลค่า 1,401.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว10.0% หรือ 49,182 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ของการค้ารวมของไทยเท่านั้น ขณะที่ การส่งออกของไทยไปอิสราเอล อิสราเอลเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 38 ของไทย มีมูลค่า 850.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.9% หรือ 29,728 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.3% ของการส่งออกของรวมของไทย โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สัดส่วน 28.6% อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 9.6% อัญมณีและเครื่องประดับ 9.6% ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 4.1% ข้าว 3.8% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3.0% ผลิตภัณฑ์ยาง 3.0% เม็ดพลาสติก 2.5% ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 2.4% เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 2.2% เป็นต้น
การนำเข้าของไทยจากอิสราเอล อิสราเอลเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 45 ของไทย มีมูลค่า 551.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 22.9% หรือ 19,455 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.2% ของการนำเข้ารวมของไทย โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี สัดส่วน 26.1% ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 15.5% เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 10.3% เคมีภัณฑ์ 6.2% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 5.6% ยุทธปัจจัย 5.3% เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 5.3% แผงวงจรไฟฟ้า 4.9% ผัก/ผลไม้และของปรุงแต่ง 4.0% ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 2.1% เป็นต้น
ขณะที่ การค้าระหว่างไทยกับปาเลสไตน์ ใน ปี 2565 มูลค่าการค้ารวมไทยกับปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์เป็นคู่ค้าลำดับที่ 186 ของไทย การค้าระหว่างไทย – ปาเลสไตน์ มีมูลค่า 5.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (ขยายตัว113.3% หรือ 134.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.001% ของการค้ารวมของไทย
การส่งออกของไทยไปปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์เป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 169 ของไทย มีมูลค่า 5.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 178.3 ล้านบาท (ขยายตัวร้อยละ 113.3) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.002 ของการส่งออกรวมของไทย โดยมีสินค้าส่งออก อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (สัดส่วน 62.8%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (33.7%) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (2.1%) และเครื่องดื่ม (1.4%) เป็นต้น
การนำเข้าของไทยจากปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์เป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 233 ของไทย โดยมีมูลค่านำเข้าน้อยมากเพียง 1,316 เหรียญสหรัฐ ขยายตัว 408.1% หรือ 44,157 บาท โดยมีสินค้านำเข้า อาทิ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ สัดส่วน 56.9% เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 22.1% และนาฬิกาและส่วนประกอบ 21.0%
อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าว ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเส้นทางที่มีสงคราม ผลกระทบที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในพื้นที่ภัยสงครามในเชิงเศรษฐกิจการค้า เช่น ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและค่าประกันภัยในเส้นทางที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติอาจปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งความล่าช้าในการขนส่ง ทั้งนี้ อาจต้องติดตามสถานการณ์ท่าเรือนำเข้าที่สำคัญของอิสราเอลอย่างท่าเรือ Haifa ท่าเรือ Ashdod หากเกิดกรณีที่มีการยกระดับความขัดแย้งขึ้น เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อไป
ผลกระทบทางอ้อม
1) ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก
2) ผลกระทบต่อการค้ากับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
ผลกระทบต่อไทย
การส่งออก หากสถานการณ์ลุกลามจนเกิดภาวะ shock ขึ้นในภูมิภาค เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2554 – 2556 เหตุการณ์ “Arab Spring” ที่เกิดจากการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกกลาง และได้ลุกลามขยายวงกว้างสร้างความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในอียิปต์ ลิเบีย เยเมน และบาห์เรน ทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกให้พุ่งขึ้นเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นทางการค้ากับตะวันออกกลาง และทำให้การส่งออกของไทยไปยังภูมิภาคดังกล่าวขยายตัวชะลอลง โดยการส่งออกไปตะวันออกกลางในช่วง Arab Spring ปี 2554 มีมูลค่า 10,772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.4% ปี 2555 มีมูลค่า 11,448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.3% ปี 2566 มีมูลค่า 11,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.6%
การนำเข้า กรณีที่สถานการณ์ยังอยู่ในวงจำกัด ไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่ออุปทานน้ำมัน เพราะไม่ได้มีการนำเข้าน้ำมันจากอิสราเอลหรือปาเลสไตน์ และมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากหลากหลายแหล่ง แต่หากสถานการณ์ขยายขอบเขตสู่ระดับภูมิภาคจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยค่อนข้างมาก เนื่องจากภูมิภาคตะวันออกกลางคือแหล่งนำเข้าสินค้าพลังงาน คือ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ ที่สำคัญของไทย โดยไทยนำเข้าสินค้าพลังงานจากตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วน 52.3% ของการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวทั้งหมดของไทย
3. ผลกระทบต่อบรรยากาศการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
4. ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลมายังไทย
5. ผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนไทยในอิสราเอล
สุดท้ายนี้ ทางออกทางการทูตมีความจำเป็นเร่งด่วนต่อสถานการณ์นี้ คือ ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกันไกล่เกลี่ย และกำหนดเส้นทางสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและสันติ เพื่อที่จะลดระดับความรุนแรงของวิกฤตและแสวงหาสันติภาพร่วมกันของประชาคมโลก บทเรียนของสงครามรัสเซีย-ยูเครน สะท้อนให้เห็นว่าความเสี่ยงที่วิกฤตจะยืดเยื้อยาวนาน จากรากฐานของปัญหาเกิดจาก ข้อพิพาทเรื่องอาณาเขตที่ดินและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่มีร่วมกันทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และความขัดแย้งได้บานปลายไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ จะก่อให้เกิดผลกระทบกระจายวงกว้างไปทั่วโลก
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.