กอบศักดิ์แนะ SME คว้าโอกาสจาก 4 เทรนด์เปลี่ยนโลกแต่ยังต้องจับตาเศรษฐกิจจีน
ภายในงานสัมมนา “SME Transformation: เปลี่ยนผ่านธุรกิจ เติบโต ยั่งยืน” ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพเปิดเผยถึง 4 เทรนด์เปลี่ยนโลกหรือ 4 แนวโน้มสำคัญที่จะกระทบกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SME) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในภาวะ new normal และเป็นจังหวะสำคัญให้ SME คว้าโอกาส ด้วยการเร่งปรับตัวตั้งแต่วันนี้
สำหรับเทรนด์แรกคือ Technology กำลังเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในยุค Industrial Revolution 4.0 ยิ่งปัจจุบันจะเห็นว่าเทคโนโลยีเริ่มตกยุคเร็วขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ AI จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เช่น ChatGPT จากนี้อีก 3 ปีน่าจะเก่งขึ้นจากเดิมมาก อีกทั้งด้วย Supercomputers และ IOT Connected Devices ที่ทำให้ฐานข้อมูลเปลี่ยนไปมากด้วย รวมถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์เองก็มีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย รวมถึงเรื่อง Metaverse ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้นด้วย
เทรนด์เปลี่ยนโลกที่ 2 คือ Rising Global Tension และโลกสองขั้ว Bipolar World โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วอำนาจของโลกคือสหรัฐฯ และจีน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิภาค ที่จะมีผลต่อโอกาสใหม่ของ ASEAN โดยเฉพาะจะมีลงทุน FDI ไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ไทยก้าวเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคมากขึ้นด้วย
"แต่มีความท้าทายที่ไทยต้องช่วงชิงส่วนแบ่งจาก FDI ที่หลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคให้มากขึ้นให้ได้"
เทรนด์ที่ 3 คือประเทศรอบ ๆ ไทยจะมีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ทั้งใน Asia และ ASEAN เช่นสังเกตุจากตัวเลขผู้มั่งคั่งในเอเชียที่เติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น จะเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้เกิดสังคมเมืองขยายขึ้น ยิ่งเป็นโอกาสสำคัญของ SME เช่นเดียวกับที่ผู้ประกอบการไทยจะสามารถขยายออกไปตลาดระดับภูมิภาคทั้ง Asia และ ASEAN ตลอดจนตลาดระดับโลกได้มากขึ้นด้วยจากการเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
ท้ายสุดเทรนด์ที่ 4 คือเรื่องความยั่งยืนกำลังเป็นมาตรฐานใหม่ของโลก โดยเฉพาะประเด็นหลักในเรื่อง Climate Changes (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) Inequality (ความเหลื่อมล้ำ) และ Transparency (ความโปร่งใส) ที่จะเกิดกฎกติกาใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาบังคับใช้ในการค้าโลกและผู้ประกอบการต่างจำเป็นต้องปฎิบัติตาม เช่น IUU ICAO เป็นต้น
"ดังนั้นจาก 4 เทรนด์ข้างต้น จึงมี 4 ด้านที่ SME ต้องเตรียม ได้แก่ ลงทุนใน Technology ใหม่ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ใหม่ เดินหน้าออกไปหยิบโอกาสที่กำลังเปิดในภูมิภาค และเตรียมรับกับมาตรฐานโลกที่เข้มขึ้น"
อย่างไรก็ตาม แม้หลังตั้งรัฐบาลใหม่แล้วน่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิรอบใหม่น่าจะมาราวกลางปีหน้า หรือ 9 เดือนนับจากนี้ จึงต้องเริ่มเตรียมการตั้งแต่วันนี้ เพื่อเข้าสู่ new normal เช่นเดียวกับที่การต่อสู้เรื่องเงินเฟ้อใกล้จะจบเต็มที มองว่าหากเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยก็น่าจะแค่อีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้น
เช่นเดียวกับที่ในฝั่งของเศรษฐกิจเมืองไทยเอง ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเฟ้อแล้ว เพราะอัตราเงินเฟ้อได้เข้าสู่กรอบปกติแล้ว จึงมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในปีนี้ แต่จะไม่มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตด้วยเช่นกัน เพราะเมืองไทยที่ผ่านมาไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยสูงอยู่แล้ว
"ผมเชื่อว่าเมืองไทยจะผ่านวิกฤติรอบนี้ได้ แต่ปัญหาระบบเศรษฐกิจจนีเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง ที่จะมีนัยยะในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า"
นั่นคือแม้ว่า ปีนี้นักลงทุนจีนมาเมืองไทยสูงมาก ปีนี้มีโอกาสที่มูลค่าการลงทุนราว 1 แสนล้านบาทได้ เช่น BYD Huawei แต่ก็ยังมีประเด็นด้านเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังต้องจับตาคือปัญหาเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้เนื่องจากมองว่าที่ผ่านมาประเทศจีนไม่ได้มีปัญหาเศรษฐกิจมาเลยช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมไว้ก่อนนี้ไม่ได้ถูกแก้ไข ทำให้มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของจีนได้ในระยะอันใกล้นี้ เช่น เรื่องปัญหาหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.