คลัง เล็งอัดซอฟต์โลน 50,000 ล้านช่วยน้ำท่วมภาคใต้

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง เร่งดำเนินการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ โดยจะใช้ภาคเหนือเป็นโมเดลในการดำเนินการ สำหรับมาตรการช่วยเหลือนั้นจะเป็นกรอบเดียวกันกับภาคเหนือ ส่วนฟื้นฟูภายหลังน้ำท่วม เชื่อว่ามาตรการซอฟต์โลนจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด 


ให้ทุกคนรับฟังความต้องการของประชาชน ผู้ประกอบการว่ายังต้องการอะไร เหลือตรงไหนที่กระทรวงการคลัง แบงก์รัฐเข้าไปช่วยได้ก็ยินดี สำหรับซอฟต์โลนอัตราดอกเบี้ยจะแล้วแต่เครดิตของลูกหนี้ หรือ ผู้กู้ แต่โดยปกติแล้ว จะถูกลงประมาณ 3-4% โดยสำหรับภาคใต้ถ้ายังเหลือก็ใช้วงเงิน 50,000 ล้านบาทจากซอฟต์โลนตรงนี้ได้ แต่ที่ได้คุยกับธนาคารออมสินไว้ว่าวันนี้ตั้งวงเงินเท่านี้ และยินดีที่จะเพิ่มได้อีก 50,000 ล้านบาท หากมีความต้องการที่มาก เชื่อว่าวงเงินนี้สามารถไปใช้ที่ทางใต้ได้ด้วย

ขณะนี้พื้นที่ภาคเหนือ อยู่ในช่วงของการฟื้นฟูในเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งแม่สาย ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่สำคัญ โดยวันนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่รับทราบปัญหา รวมถึงการช่วยเหลือของภาครัฐที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่งที่ผ่านมา ได้ออกมาตรการช่วยเหลือทั้งพักเงินต้น พักดอกเบี้ย ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาการชำระหนี้ สินเชื่อฉุกเฉิน สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (SoftLoan) ซึ่งเป็นความร่วมมือของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ออกมาเยียวยา พี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

โดยการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 8 แห่ง กระทรวงการคลังยังได้มีมาตรการเสริมสภาพคล่อง สำหรับผู้ประสบอุทกภัย ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น โดยจัดสรรวงเงินจำนวน 50,000 ล้านบาท จากโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินเพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับมาฟื้นฟูกิจการเพื่อประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจได้ต่อไปภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประสบอุทกภัยได้รับสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวรวมถึงโครงการสินเชื่ออื่น ๆ จากสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ รวมถึงสร้างความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน บสย. ได้จัดทำโครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ฟื้นฟู No One Left Behind วงเงินค้ำประกัน 1,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย

ทั้งนี้การประชุมครม.เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติ 2 มาตรการล่าสุด คือ  มาตรการลดหย่อนที่มีภาระในการซ่อมบ้าน ซ่อมรถ ซึ่งกระทรวงการคลัง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ต่อเนื่องหลังจากนี้ ยังขาดตรงไหนหรือไม่ ซึ่งจะมีมาตรการออกมาให้ทันอย่างแน่นอน

จากมาตรการที่กระทรวงการคลังร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วนในตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีประชาชนที่ประสบอุทกภัยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 8 แห่ง เป็นจำนวนมากกว่า 740,000 ราย รวมยอดหนี้มากกว่า 94,000 ล้านบาท สำหรับการดำเนินมาตรการด้านการเงินในระยะต่อไปจะเป็นการเน้นการเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการฟื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ประชาชนสามารถกลับมามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน

สำหรับการค้าชายแดน ยืนยันว่า ธุรกิจยังจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือ โดยเฉพาะเงินทุนที่จะต้องเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ซึ่งยืนยันว่า ซอฟต์โลนจะเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ โดยปริมาณการค้าจะสะดุดไปบ้างในช่วงอุทกภัย เพราะเป็นจุดสำคัญของการค้าชายแดน ซึ่งเชื่อว่าหากฟื้นฟูได้เร็ว ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์อย่างมาก

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.