บลจ.อเบอร์ดีน ชี้นโยบาย “ทรัมป์” ดันดัชนีหุ้นไทยปี 68 ทะยาน 1,500-1,600 จุด
Mr. Dongyue Zhang, Head of Investment Specialists APAC, Multi-Asset Solutions, abrdn Investments เปิดเผยว่า หลังจาก นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจากนโยบาย American First ของทรัมป์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินการคลัง และสินทรัพย์ทั่วโลก
ดังนั้น บลจ.อเบอร์ดี ได้มีการปรับประมาณการของสหรัฐฯ ใน 3 ส่วน ได้แก่ 1.อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) มีโอกาสเติบโตสูงขึ้น โดยในปี 2567 จะเติบโต 2.7% และปี 2568 จะเติบโต 2%
2.อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางหสรัฐฯ (เฟด) คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.2567 จำนวน 1 ครั้ง ในอัตรา 0.25% และในปี 2568 ลดอัตราดอกเบี้ยไตรมาสละ 1 ครั้งๆ ละ 0.25% รวมตั้งแต่เดือน ธ.ค.2567 ถึงสิ้นปี 2568 ลดอัตราดอกเบี้ยรวมกัน 1.25% จากเดิมที่คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมกัน 2%
3.ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปที่ 3% ในปี 2568 จากดัชนี CPI ล่าสุด เดือน ต.ค.2567 อยู่ที่ 2.6% เนื่องจากอุตสาหกรรมภาคบริการที่มาจากแรงงานจะมีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับมุมมองการลงทุนทั้งตลาดหุ้นพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ สำหรับตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ได้ผลบวกจากนโยบายทรัมป์ ส่งผลดีต่อบริษัทต่างๆ เช่น การลดภาษี ทำให้ดึงดูดเงินเข้าสหรัฐฯ มาก จึงเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงแนวโน้มเทคโนโลยียังเติบโตจากความต้องการใช้ที่มีมาก จึงยังมองบวกหุ้นเทคโนโลยีในสหรัฐฯ
ขณะที่นโยบายของทรัมป์จะมีผลกระทบต่อตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน แต่มองว่าเป็นโอกาสเข้าลงทุน เช่น จีน และอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศขนาดใหญ่และขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจีนมีศักยภาพและผลักดันเศรษฐกิจได้ หลังผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง บวกกับราคาหุ้นจีนมีราคาถูก 15% เมื่อเทียบในอดีต อีกทั้งปัจจุบันมีการซื้อหุ้นคืนจำนวนมาก จึงมองหุ้นจีนน่าสนใจ
ส่วนอินเดีย ยังมีการเติบโตที่ดีและเป็นตลาดหุ้นที่ไม่ค่อยอิงกับความผันผวนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน เนื่องจากเศรษฐกิจอินเดีย พึ่งพาการผลิตในประเทศและการบริโภคในประเทศเป็นหลัก
ด้านผลต่อตลาดหุ้นไทยในปี 2568 ประเมินเป้าหมายดัชนี SET จะอยู่ในกรอบ 1,500-1,600 จุด ที่ P/E ราว 15 เท่า และ EPS Growth อยู่ที่ 8-10% โดยที่ประเทศไทยยังได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตออกมาจากจีน ทำให้ยังคงเห็นเม็ดเงินลงทุนเข้ามาต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่ายังหนุนต่อการส่งออก ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.