พิชัย ถก ผู้ว่าธปท. ชื่นมื่น จับตาประชุมกนง. -แก้หนี้ครัวเรือนทั้งระบบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(3ต.ค.67) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการหารือร่วมกันายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการฯ ธปท. เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย รวมถึงการดูแลค่าเงินบาท ที่แข็งค่ารวดเร็วในช่วงนี้

 

โดยนายพิชัย กล่าวว่า วันนี้คลังและธปท.ได้มีการหารือร่วมกันถึงการหาแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนของไทยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาคลังได้ดำเนินการในส่วนของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐไปแล้ว ส่วนที่เหลือที่จะต้องดำเนินการคือ ธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์ สำหรับแนวทางการดูจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคลที่ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ โดยจะเปิดให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยจะมีการ่วมมือกันระหว่างสถานการเงิน และภาครัฐ โดยมีคอนเซ็ป ไม่ลดหนี้โดยไม่มีเหตุผล เพราะเป็นเรื่องของ Moral hazard ส่วนรายละเอียดการปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นอย่างไรต้องใช้เวลา เพราะต้องลงลึกในรายละเอียด แต่ภาพรวมตหนี้ครัวเรือนต้องเป็นเรื่องที่ผ่อนปรนได้ ซึ่งเบื้องต้นได้มีการหารือกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งแล้ว และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มเปราะบาง พบว่า กลุ่มนี้มีหลายแสนบัญชี และยังเหลืออีกประมาณ 7-8 แสนบัญชี ซึ่งอยู่ในส่วนของเครดิตบูโรด้วย แต่พบว่า มีจำนวนเงินหนี้ต่อหัวน้อยมาก ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างหาแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไร 

“เรื่องนี้ขอเวลาอีกนิด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียด และเวลาทำอยากให้เป็นความร่วมมือสถาบันกเงิน และคลังโดยมีธปท.ลงมาช่วย จะเป็นการยืดระยะเวลาชำระหนี้ การลดดอกเบี้ย ซึ่งก็ต้องดูว่าทำได้มากน้อยแ่ค่ไหน” นายพิชัย กล่าว 

นอกจากนี้ คลังและธปท. ยังได้มีการหารือร่วมกัน ถึงการพิจารณานโยบายการเงิน หรือการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยวันนี้ได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจร่วมกัน จากปัจจัยที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อาทิ การลดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยุโรป และมาตรการต่างๆของจีน ซึ่งมาตรการของ 3 กลุ่มประเทศใหญ่ๆ ซึ่งมีอิมแพคต่อเม็ดเงินไหลเข้า รวมถึงไทย แม้วันนี้ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งอ่อนค่าขึ้นมาเล็กน้อยแล้วก็ตาม  ซึ่งก็ต้องติดตามดูต่อไปว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร 

“วันนี้ก็ได้ทำความเข้าใจว่าถ้าดอกเบี้ยลดลง ก็จะเป็นผลดีต่อคนที่กู้ใหม่ แต่เป็นกลุ่มที่มีความสามารถกู้ สำหรับคนที่ไม่มีความสามารถในการกู้อาจจะไม่ได้กู้ ก็ไม่ควรเป็นแบบนั้น และจะทำให้ Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง ซึ่งโดยรวมเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกัน”นายพิชัย กล่าว

ส่วนค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มีผลต่อการส่งออก ก็มีการวิเคราะห์กันว่าผลกระทบอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบในเชิงปริมาณ โดยส่วนตัวคิดว่าการส่งออกน่าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ รวมถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยด้วย ซึ่งการเคลื่อนไหวของค่าเงินเป็นสิ่งที่ธปท.ต้องดูแล แต่ยอมรับว่า การแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทไม่ได้แก้ตรงๆ จะต้องประกอบด้วยหลายมาตรการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกนง.ว่าจะเลือกใช้เครื่องมือตัวใดในการดูแลค่าเงินบาท ซึ่งมองว่า การพิจารณของกนง.รอบนี้คณะกรรมการต้องพิจารณาโดยละเอียดมากขึ้น

"เรากับธปท.เข้าใจกันมานานแล้ว มองด้านเดียวกัน แต่การจะแก้ไขทันทีคงไม่ได้ ซึ่งต้องพิจารณาว่าดอกเบี้ยที่ลดลง เพื่อให้คนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้ฟื้นตัว อันนี้สำคัญกว่าการที่ดอกเบี้ยลดลงไม่กี่ basis points ผลมันไม่เยอะ แต่การเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำคัญกว่า” นายพิชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการประชุมกนง.ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ กนง.ไม่ลดดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร นายพิชัยกล่าวว่า ถ้ากนง.ไม่ลดดอกเบี้ยก็ต้องมีเหตุผลว่าทำไม่ลด หรือถ้าลดดอกเบี้ยก็ต้องมีเหตุผลว่า ทำไมต้องลด ซึ่งการลดดอกเบี้ยของกนง. รัฐบาลก็น่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่ง แต่ก็เชื่อว่าธปท.น่าจะมีหลายเครื่องมือในการดูแลนโยบายการเงิน ซึ่งเรื่องที่เราห่วงจริงๆเป็นเรื่องของการเข้าถึงสภาพคล่อง ซี่งเรากับธปท.เห็นตรงกันว่า ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ได้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องแต่มีปัญหาเรื่องสถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยสินเชื่อมากกว่า 

 

นอกจากนี้ นายพิชัยกล่าว ว่าภายในเดือนต.ค.นี้ ตนจะเรียกผู้ว่าการธปท.มาหารือร่วมกันอีกครั้งแบบลงลึกในละเอียดมากขึ้น ถึงการกำหนดกรอบเงินเฟ้อ เนื่องจากมองว่า ภายในไตรมาส4 ปีนี้จะเห็นเงินเฟ้ออยู่ที่ 1% และเงินเฟ้อทั้งปีจะหลุดที่กรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 1-3% ต่อปี ซึ่งจะต้องมีการหารือเพื่อทบทวนกันใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไร  
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.