นักวิชาการ ชี้เศรษฐกิจไทยยังไม่วิกฤต ไม่จำเป็นต้องประชุมกนง.เร่งด่วน
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้โพสต์ทวิตเตอร์ หรือแพลตฟอร์ม X เรียกร้องคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เรียกประชุมเป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาการลดดอกเบี้ย โดยไม่ต้องคอยถึงการประชุมตามกำหนด หลังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลง GDP ไทยในไตรมาส 4/66 เติบโตได้เพียง 1.7% และทั้งปี 66 เติบโต 1.9% และปี 67 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 2.7% ต่อปี ว่า ยอมรับตัวจีดีพีของสภาพัฒน์ที่ออกมาล่าสุด เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ สะท้อนว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะชะลอตัว แต่ไม่ถือว่าอยู่ในภาวะวิกฤต
“อย่างพูดเลยว่า วิกฤตมันน่าตกใจ เรียกแค่ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวก็พอ เพราะเศรษฐกิจวิกฤตที่ผ่านมารุนแรงกว่านี้เยอะ เช่น วิกฤตต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ และโควิด-19 ถือว่าจีดีพติดลบหนักน่วงกว่ามาก ซึ่งจำเป็นต้องมีแรงกระตุ้น แต่ไม่ได้เร่งด่วนถึงกับต้องมีการประชุมกนง.ด่วนแต่อย่างใด ” ศ.ดร.พลายพล กล่าว
ศ.ดร.พลายพล ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนีัเศรษฐกไทยอ่อนตัวลงก็จริง แต่เมื่อเที่ยบอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย กับประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ ยังถือว่าดอกเบี้ยไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันจะเห็นว่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปมาก ซึ่งหากลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก โอกาสที่ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงไปอีก อาจจะช่วยการส่งออกได้บ้าง แต่สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้า และราคาน้ำมันก็จะแพงขึ้น
ดังน้น การลดดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้มีผลดีต่อเศรษฐกิจเสมอไป หรือทำให้เศรษฐกิจได้รับการกระตุ้น แต่อาจทำให้เงินทุนไหลออกด้วยซ้ำ ดูจากความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น ตั้งแต่นายกฯรับตำแหน่ง หุ้นไทยก็ไม่ผงกหัวขึ้นมาเลย ซึ่งอาจเกิดจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องระมัดระวัง
“มองว่า การประชุมกน.เป็นเรื่องที่รอได้ ตัวเลขจีดีพีไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า เป็นเรื่องรีบร้อนจะเป็นจะตายขนาดนั้น ควรรอดูสถานการณ์ต่างๆ อีกสักระยะ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ สถานการณ์การสู้รบในต่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยต้องดูให้รอบครอบไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ลดอกเบี้ย” ศ.ดร.พลายพล กล่าว
ส่วนประเด็นที่นายกรัฐมนตรี จี้ให้กนง.ปรับลดอกเบี้ยในการประชุมกนง.วาระเร่งด่วนนั้น มองว่า เป็นการแทรกแซงการดำเนินโนยบายของธนาคารกลาง ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลไม่สามารถเสนอความเห็นได้ แต่ต้องดูเหตุผล ดูสถานการณ์รอบด้านประกอบด้วย เพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้เลวร้าย แม้จะเห็นด้วยว่า จะต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วย แต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการประชุมกนง.ในรอบหน้าในเดือนเม.ย.นี้ แบงก์ชาติคงต้องพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงินหนักมากขึ้น เพราะมีหลายคนเรียกร้องให้ลดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นจังหวะที่ดีจะพิจารณาให้รอบครอบ ซึ่งขณะเดียวกันแบงก์ชาติก็ต้องแสดงให้เห็นว่า แบงก์ชาติมีอิสระ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า การตัดสินใจดอกเบี้ยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแบงก์ชาติ เพราะในบอร์ดกนง.มีบุคคลของแบงก์ชาติเพียง 3 คนเท่านั้น นอกนั้น 4 เป็นบุคคลภายนอก ต้องให้ความเคารพการตัดสินใจให้เขาให้ดุลพินิจของเขาด้วย
ส่วนกรณีที่ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒน์ กล่าวในแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ขอให้แบงก์ชาติ พิจารณาอย่างจริงจัง ถึงเรื่องอัตราลดดอกเบี้ยนโยบายนั้น ส่วนตัวมองว่า เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่เลขาสภาพัฒน์ออกมาระบุเช่นนี้
สำหรับกำหนดการประชุม กนง. ในรอบถัดไปจะมีขึ้นในวันพุธที่ 10 เม.ย.2567 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ของปี 2567 ห่างจากการประชุม กนง.นัดแรก เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2567 หรือกำหนดประชุมปี 6 ครั้ง
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.