พาณิชย์ตั้งเป้าส่งออกปี67 โต 1-2% มูลค่ากว่า 2.9 แสนล้านเหรียญฯ

นายกีรติ  รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ในเดือนธ.ค. และทั้งปี 2566 รวมถึงแนวโน้มการส่งออกปี 2567 ว่า การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 22,791.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 795,824 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ 4.7% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 2.1% 
 

ซึ่งการส่งออกของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนแต่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการชะลอลงของภาวะเงินเฟ้อสูง ซึ่งส่งผลดีต่ออุปสงค์และความเชื่อมั่นในการบริโภคของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าและความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานโลกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในระยะต่อไป 


 

สำหรับการส่งออกไทยทั้ง ปี 2566  หดตัวอยู่ที่ -1%  คิดเป็นมูลค่า 284,561.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้า หดตัวอยู่ที่ -3.8% มูลค่า 289,754.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ดุลการค้าหดตัวอยู่ที่ – 5,192.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 0.6% ซึ่งถือว่าเป็นการติดลบน้อยกว่าที่คาดไว้

 

“ตัวเลขส่งออกปี 66 เดิมคาดจะติดลบ 2% ขึ้นไป แต่สุดท้ายติดเพียงลบ 1% ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ถึงแม้ยังเป็นตัวเลขที่ติดลบ แต่ก็เป็นการติดลบน้อยกว่าที่คิด และติดลบน้อยกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน เพราะเกิดจากความพยามทั้งจากภาครัฐและและภาคเอกชนที่พยามทำให้ส่งออกติดลบน้อยที่สุด” นายกีรติ กล่าว

 

อย่างไรก็การส่งออกของไทย เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันพบว่า การส่งออกของไทยขยายตัวติดลบต่ำสุดในเดือนธันวาคม 2566

สำหรับแนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายการทำงานไว้ที่ขยายตัวเป็นบวกที่ 1-2% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 290,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10 ล้านล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่บรรเทาลง และการสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลดีต่อปริมาณการค้าโลกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น อuกทั้งยังมีแรงหนุนจากการสำรองสินค้าเกษตรและอาหารตามความมั่งคงทางอาหารและการฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก 

 

อย่างไรก็ดีมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและต้นทุนสินค้า ผลกระทบจากภัยแล้งในหลายพื้นที่ทั่วโลก และเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแผนจัดกิจกรรมส่งเสริม

 

"ปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตามที่สำคัญ คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และปัญหาอสังหาฯ ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งอัตราการว่างงาน ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ เช่น ทะเลแดง ซึ่งจะกระทบต่อห่วงโซอาหาร และต้นทุนการขนส่งสินค้าของไทย ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกับเอกชนมาตลอด โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าขนส่งต้องปรับอย่างสมเหตุสมผล ยอมรับได้ รวมทั้งต้องเผยแพร่ข้อมูลค่าขนส่งสินค้า เพื่อให้ผู้ส่งออกได้ทราบล่วงหน้าเพื่อจะได้โค้ดราคาก่อนตกลงก่อนลูกค้า" นายกีรติ กล่าว
 

การส่งออกมากกว่า 400 กิจกรรมในประเทศต่าง ๆ เช่น มีแผนบุกตลาดเมืองรอง เช่นอินเดีย และโซนแอฟฟิกาใต้มากขึ้น เพื่อทดแทนจีนที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง เนื่องจากมองว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโต และมีความต้องการสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมสูง รวมทั้งการขับเคลื่อนการเจรจา FTA ภายใต้ นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก” ของรัฐบาล ซึ่งได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อผลักดันการส่งออกไทยให้เติบโตเพื่อผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
 

 “เราตั้งเป้าส่งออกปี 67 ไว้ที่บวก 1-2% ถือเป็นตัวเลขที่ท้าทาย และยาก ซึ่งโทนจะเหมือนปี66 อาจมองว่าหวังสูงไป แต่เป็นเป้าที่เราต้องพยามทำให้ได้ ทำให้ดีที่สุด เพราะส่งออกถือเป็นเส้นเลือดของจีดีพี ประเทศ ซึ่งจะเป็นการร่วมมืออย่างบูรณาการภาครัฐและเอกชน ” นายกีรติ กล่าว


 
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.