ทศพรสู้! ส่งกลต.ตีความ สกัดการเมืองปลดประธานบอร์ดปตท.
ดร.ทศพร ศริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เรื่อง การตีความข้อบังคับของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อย่างเคร่งครัด ตามสำเนาบันทึกข้อความฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) อาจมีปัญหากรณีการตีความข้อบังคับของ บริษัทฯ ผิดไปจากที่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัดอาจทำให้การกระทำต่างๆที่เกิดจากการตีความข้อบังคับที่ผิดกฎหมาย เป็นการ
กระทำที่ผิดกฎหมายและต่อเนื่อง ดังนี้
ข้อบังคับ ปตท. ข้อ 34 "นอกจากการพันจากตำแหน่งตามวาระตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฉบับนี้
ประธานกรรมการ หรือ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) พ้นตามวาระ
(2) ลาออก
(3) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออกตามข้อ30
(4) ขาดการประชุมคณะกรรมเกินสาม (3) ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5)ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือ ใน
(6) ศาลมีคำสั่งให้ออก
ข้อบังคับ ปตท. ข้อ 32 รรค 3 "ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการและถ้าเห็นสมควรจะเลือกตั้งกรรมการอีกคนหนึ่ง หรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการก็ได้"
ข้อ1) ข้อบังคับของ ปตท. ข้อ 34 ได้บัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประธานกรรมการ หรือ กรรมการ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
1. พ้นตามวาระ
2. ตาย
3. ลาออก
4. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออกตามข้อ30
5. ขาดการประชุมคณะกรรมเกินสาม (3) ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมกวร
6. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือ ในข้อบังคับนี้
7.ศาลมีคำสั่งให้ออก
ดังนั้น จะต้องตีความหรือแปลความให้ตรงตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด จะตีความหรือแปลความเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ข้อ2) ข้อบังคับของ ปตท. ข้อ 34 ดังกล่าว บัญญัติไว้ในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของประธานโดยเฉพาะ ไม่ได้ขัดหรือแย้งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนและกฎหมายว่าหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ3) ข้อบังคับของ ปตท. ข้อ 34 ดังกล่าว ไม่ได้ขัดหรือแย้งข้อบังคับข้อที่ 32 เนื่องจากข้อบังคับข้อที่32 เป็นวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งประธานกรรมการ การจะเลือกประธานกรรมการได้จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
ข้อ4) ข้อบังคับของ ปตท. ข้อ 34 ไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีต่อประชาชนนอกจากไม่ได้ขัดแล้วยังช่วยส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ไม่ให้ถูกแทรกแซงได้โดยง่าย
ข้อ5) ที่สำคัญข้อบังคับของ ปตท. ข้อที่ 34 ณ ปัจจุบันยังใช้บังคับอยู่ ยังมิได้ถูกยกเลิก หรือ มีกฎหมายใดมาใช้บังคับแทนที่ ดังนั้นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ข้อ6) หากมีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการโดยพลการ โดยที่ประธานกรรมการไม่ครบวาระตาม ข้อบังคับข้อที่ 34 เป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อบังกับ เจตนาปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา เ ร7 อย่างชัดเจน ผู้ได้รับความเสียหาย ผู้ถือหุ้น อาจร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องได้
นายทศพร ระบุในหนังสือฉบับนี้ว่า ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพข์และตลาดหลักทรัพย์ ได้โปรดนำเรื่องและประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลต. เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่และมีคำสั่งให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติตามข้อบังดับคังกล่าวอย่างเคร่งครัด และหรือมีคำสั่งอื่นใดเพื่อระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นผลมาจากการจงใจตีความข้อบังคับผิดไปจากลายลักษณ์อักษรต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมบอร์ดนัดพิเศษ ครั้งที่ 7 /2566 เมื่อวันที่16ต.ค.2566 ไม่ได้มีการพิจารณาแต่งตั้ง ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คนใหม่แทนนายทศพร เพราะวาระการประชุมได้ถูกถอนออกไปอย่างไม่มีกำนด ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21ก.ย.2566
ท่ามกลางกระแสข่าวผู้มีอำนาจฝ่ายการเมืองต้องการเปลี่ยนตัวประธานกรรมการและกรรมการ ปตท. ชุดใหม่เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ที่มีเป้าหมายลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งคงต้องจับตาว่า ในการประชุมคณะกรรมการบอร์ด วันที่19 ตุลาคม 2566 จะมีเสนอวาระการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงปตท. ทดแทนตำแหน่งเดิมที่จะเกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566
สำหรับนายทศพร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการ ปตท. ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2565 โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ดร.ทศพรเคยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง กรรมการอิสระและประธานกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2565 โดยระบุว่าเป็นหตุผลส่วนตัว ท่ามกลางกระแสข่าวถูกแรงกดดันทางการเมืองบีบให้ลาออก แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีขณะนั้นเบรกไม่ให้ลาออก
สำหรับรายชื่อบอร์ดปตท.ปัจจุบัน ประกอบด้วย
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการ
- นายกฤษณะ บุญยะชัย กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ
- นายพงศธร ทวีสิน กรรมการ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
- นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
- พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
- ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ กรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
- นายผยง ศรีวณิช กรรมการอิสระ กรรมการสรรหา กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
- รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
- พล.อ.อ.ชานนท์ มุ่งธัญญา กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ
- นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการอิสระ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
- นายลวรณ แสงสนิท กรรมการ กรรมการสรรหา
- รศ.ดร.ชโยดม สรรพศรี กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ
- นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กรรมการ, เลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.