"นายกฯอุ๊งอิ๊งค์" ถกหอการค้า-สมาคมธนาคารไทยกู้วิกฤตเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 23สิงหาคม 2567 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทย-จีน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย พบนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือ และเสนอแนะถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่อยากให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยส่งเสริมผลักดัน
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยนำข้อเสนอของภาคเอกชนผ่านการระดมความคิดเห็นจากเครือข่ายเอกชนทั่วประเทศใน 3 เรื่องเร่งด่วน ได้แก่
1)การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ โดยในระยะสั้น ได้แก่ การกระจายงบประมาณ, การกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังประชาชน 3. กลุ่ม ทั้งกลุ่มเปราะบาง กลุ่มที่ยังพอมีกำลังซื้อ และกลุ่มมีกำลังซื้อสูง ,มาตรการช่วยเหลือและเยียวยา เช่น ลดค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ตรึงราคาสินค้าจำเป็น,การกระจายอำนาจ และปรับปรุงกฎระเบียบที่มีอยู่ ในระยะยาว เช่น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน,การวัดผลสำเร็จด้านเศรษฐกิจตั้ง KPI เช่นการกำหนดจีดีพีที่ 3-5%
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs ด้วยกลยุทธ์ (ผลักดัน – ตั้งรับ – จับมือ) ‘การผลักดัน’ คือ ช่วยให้สินค้าไทยแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เช่น การสร้างนโยบาย E-Commerce ของชาติ ‘การตั้งรับ’ คือ มาตรการปกป้องสินค้า ไม่แข่งขันด้านราคา เน้นบังคับใช้ Local content
3) การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน กล่าวว่า ประเทศไทย แม้มีการขาดดุลการค้าจากจีน ส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าปุ๋ยเพื่อการเกษตร ซึ่งถือเป็นสินค้าทุน ที่เกษตรกรไทยนำมาเพิ่มมูลค่าส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งจีนยังเป็นตลาดสินค้าเกษตรแปรรูปที่ใหญ่ที่สุดของไทย ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำสินค้าไทยไปโรดโชว์ที่จีน สร้างมูลค่าเข้าประเทศหลายพันล้านบาท ขอให้เดินหน้าต่อไป
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เราอยากเห็นธนาคารของไทย เข้ามามีส่วนร่วมในนโยบายรัฐบาลให้มากขึ้น พร้อมอัพเดตขั้นตอนการดำเนินนโยบาย Finacial hub ซึ่งอยู่ในขั้นตอนร่างกฎหมาย คาดว่า 3-4 เดือนจะมีความชัดเจน ส่วนการจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (National Credit Guarantee Agency : NaCGA) ตัวร่างกฎหมายคืบหน้า 95% แล้ว
สำหรับข้อเสนอของสมาคมธนาคารไทย โดยนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ สรุปปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ 5 ด้าน ได้แก่
1.ปัญหาหนี้ครัวเรือน 91.4% ต่อจีดีพี และ 27% ของครัวเรือนเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ โดยที่รุนแรงคือหนี้รถ หนี้บ้าน
2.แผลเป็นด้านรายได้
3.เศรษฐกิจนอกระบบสูง
4.ไม่พร้อมในการก้าวสู่เศรษฐกิจใหม่
5.Safety net ไม่ครอบคลุม รายได้ไม่พอรายจ่าย ไม่มีเงินออม
พร้อมข้อเสนอ 5 แนวทาง ได้แก่
1.ผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบ จะสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจได้สูง สร้างรายได่ใฟ้ทันรายจ่าย
2.เติมเครื่องมือเพื่อช่วยให้ SMEs เพื่อให้ปรับตัวได้และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ
3.แก้หนี้ครัวเรือนและให้สินเชื่ออย่างยั่งยืน
4.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการและก้าวทันกระแสโลก
5.เร่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ด้วยการเร่งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค สร้างความต่อเนื่องของโครงการ EEC
นายผยง กล่าวว่า รัฐบาลมองในมิติที่ยืดหยุ่นขึ้น connect the dots ที่มีจุดเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับเราที่แก้หนี้ครัวเรือนให้ครบจบ รัฐบาลมองหนี้บ้าน และรถที่เป็นปัญหาของชนชั้นกลาง เดี๋ยวขอไปทำการบ้านต่อ”
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.