ผ่าร่างประมวลกฎหมายแรงงาน บังคับใช้แรงงานไทยทั้งระบบไม่ทับซ้อน
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน มีหนังสือเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง "การรับฟัง ความคิดเห็นเพื่อยกร่างประมวลกฎหมายแรงงาน"วันที่ 26 ก.ค.2567 ระหว่าง 08.00-14.30น. ห้องจัดประชุมสัมมนา B1-1 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา เพื่อระดมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายแรงงานทั้งระบบและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกร่างประมวลกฎหมายแรงงาน
นายสฤษฏ์พงษ์ เคลื่อนไหวให้มีการยกร่างประมวลกฎหมายแรงงานขึ้นมาใหม่ ตั้งแต่เมื่อมิ.ย.2567 เสนอไปยังประธานสภาฯ พร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบกับเอกสารการดำเนินการตามมาตรา774 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2560
ที่มา ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน (คลิ๊กอ่าน)
โดยที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายที่ใช้บังคับ ในภาคแรงงาน และระบบแรงงาน ได้กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับและการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละฉบับ เป็นหน้าที่และอำนาจของหลายองค์กร ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความสอดคล้องกัน
อีกทั้ง บทบัญญัติ ของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรรรรวบรวมกฎหมายดังกล่าวจัดทำเป็นประมวลกฎหมายแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและใช้กฎหมายที่จะรวมอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ พร้อมกันนี้ได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสม กับสภาพการณ์ปัจจุบัน
นอกจากนี้ จำเป็นต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดการบูรณากาการการทำงาน ของหน่วยงานของรัฐรวมทั้งภาคประชาสังคมทุกฝ้าย เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพในการทำงานและคุณภาพชีวิต ของผู้ทำงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ รวมทั้งการกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษา แรงงานให้มีความเข้มแข็ง สามารถนำพาประชาชนแข่งขันกับต่างประเทศ และสามารถพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตของกำลังแรงงาน อันจะนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขและความเป็นปีกแผ่นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระระราชบัญญัตินี้
กฎหมายแรงงานของประเทศไทยในปัจจุบันมีเป็นจำนวนหลายฉบับ แม้จะครอบคลุมมิติด้านต่าง ๆ ทั้งสิทธิ หน้าที่ และการให้ความคุ้มครอง แต่ก็อยู่กระจัดกระจายหลายองค์กรเข้ามามีอำนาจบทบาทและหน้าที่ ดังนั้นหากมีการรวบรวมเอาไว้เป็นประมวลกฎหมายจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความทับซ้อนกัน
กฎหมายแรงงานไทย ประกอบด้วย
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำทำที่บ้าน พ.ศ.2553
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 26562
- พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
- พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554
- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษนุษย์ พ.ศ.2551
- พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
- พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
- พระราชบัญญัติ เงินทดแทน พ.ศ. 2537
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
- พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2553
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.