เศรษฐา ลุยภูเก็ต กำชับแก้น้ำท่วม ดินสไลด์ ติดตามสร้างอุโมงค์ทางลอด แก้รถติด

วันที่ 5ก.ค. เวลา 13.00 น. ที่ จ.ภูเก็ต  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางบงพื้นที่จังหสัดภูเก็ต ตรวจติดตามการอุโมงค์ทางลอด และปัญหาดินสไลด์ จากเหตุการณ์น้ำท่วมหลังฝนตกอย่างหนักเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมด้วย 

โดยจุดแรกไปรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนในการขุดอุโมงค์ทางลอด บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร อำเภอถลาง ซึ่งมีปัญหาจะจราจรติดขัดอย่างหนักช่วงเวลา 16:00 - 19:00 น.  ซึ่งก่อนจะมีการเริ่มสร้างอุโมงค์ จะมีการทดลองแก้ปัญหาจราจรเพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด 

นายเฉลิมพล เถิดทรัพย์ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ก่อสร้างระบุว่า ชาวบ้านยินดีเรื่องการสร้างอุโมงค์แต่กังวลเรื่องของฝนตกแล้วน้ำจะท่วมขังภายในอุโมงค์ อยากให้การก่อสร้างคำนึงถึงเรื่องนี้มากที่สุด ที่ผ่านมาชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งจากปัญหาจราจรและซ้ำเติมด้วยปัญหาน้ำท่วม อยากให้มีการทำคลองระบายน้ำควบคู่กันด้วย เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่น้ำไหลผ่าน หากมีทางระบายน้ำจะทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขมาก เพราะทุกที่มีฝนตกหนักชาวบ้านก็จะเจอปัญหาน้ำท่วมขังทุกครั้ง

นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาเพิ่มเติมถึงการทำบายพาส หรือเส้นทางระบายน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้มากที่สุด และได้มาติดตามสถานการณ์รถติด น้ำท่วมในอ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยเฉพาะแยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณโครงการขุดเจาะอุโมงค์ เพื่อแก้ไขสถานการณ์รถติดในจังหวัดแล้ว กระทรวงคมนาคมอธิบายถึงสภาพปัญหาว่า ถนนเส้นนี้มีระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร แต่มีสัญญาณไฟจราจร  7 จุด วงเวียน 1 จุด จุดกลับรถ 12 จุด ทำให้การจราจรเคลื่อนตัวได้ช้า ระหว่างรอการก่อสร้างอุโมงค์จึงมีมาตรการในระยะสั้นในการปิดกั้นบางช่วง เพื่อให้รถสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ตลอดจนขยายทางเลียบเมือง เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของรถ ซึ่งโครงการน่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 

นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงปัญหาน้ำท่วมในอุโมงค์ เพราะเป็นทางผ่านของน้ำ จึงให้ทางจังหวัดเตรียมแผนรองรับ เช่น ปั๊มน้ำ และช่องทางระบายน้ำ ที่ไม่กระทบต่อชุมชนโดยรอบ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับผลกระทบถึง 200 หลังคาเรือน ผมเชื่อว่า ปัญหาการจราจรในตัวเมืองภูเก็ต และน้ำท่วม น่าจะคลี่คลายลงไปได้มากจากมาตรการทั้งระยะสั้น และระยะยาว

ต่อมาเวลา 14.20 น. นายเศรษฐา เดินทางต่อมาที่บ้านหัวควนใต้ อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต ที่ดินสไลด์เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางสายฝนที่โปรยลงมา มีนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการภูเก็ต และอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำและอธิบดีกรมทางหลวง 
บรรยายสรุปสถานการณ์และการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ จากที่มีฝนตกหนักหลายวันทำให้ดินอุ้มน้ำไม่ไหว จนเป็นเหตุให้ดินสไลด์หลายจุด ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นมีอย่างน้อย 18 จุด ในพื้นที่ 3 อำเภอ  

นายกรัฐมนตรี จึงสั่งการให้แก้ปัญหาที่จำเป็นและเร่งด่วนเป็นอันดับแรกโดยเฉพาะเรื่องของการทำ ฟลัดเวย์หรือทางระบายน้ำ ได้ขอแผนที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงดินสไลด์ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อไปหารือกับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อวางแนวทางป้องกันทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เพราะจะต้องเร่งดำเนินการในระยะสั้น ช่วงนี้ฝนก็ตกตลอดและยาวไปจนถึงเดือนกันยายน ต้องหาแนวทางป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด

ขณะที่ชาวบ้าน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ดินสไลด์ พร้อมระบุว่าอยู่มา 60 ปีเพิ่งเคยมีดินสไลด์ ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ลงพื้นที่มาดูปัญหาด้วยตนเอง

นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่มาดูสถานที่จริงแล้ว มีหลายมาตรการที่ต้องทำ โดยระยะสั้นเราต้องมาดูว่าพื้นที่ตรงนี้ เพราะช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ฝนจะมีปริมาณ มากกว่านี้อีก ชาวบ้านบอกว่าอยู่ที่นี่มากว่า 60 ปีไม่เคยเจอ พอมาเจอหนหนึ่งก็มีความเป็นไปได้ และเราก็ไม่อยากตั้งอยู่บนความประมาท เพราะฉะนั้นเรื่องของการทำฟลัดเวย์  เรื่องการขยายร่องน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำล้นออกมาจนสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านนี่คือการแก้ปัญหาระยะสั้น

ส่วนระยะกลางระยะยาว จะต้องมีการตั้งศูนย์เตือนภัย แต่ชาวบ้านบอกว่าน้ำมันมาเร็ว แต่การเตือนภัยก็อาจจะช่วยได้บ้าง สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องมาดูแผนที่ทั้งหมด ว่าจุดที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินถล่ม ไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่ตรงนี้เพียงพื้นที่เดียว เพราะเท่าที่ดูจากแผนที่จากอธิบดีกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอีกหลายจุด อย่างน้อย 7-8 จุด ที่เราต้องดูแลทั้งการทำฝาย ฟลัดเวย์ เขื่อน หรือขั้นบันได เพื่อชะลอการไหลของน้ำ ให้ช้าลงซึ่งตรงนี้เป็นแผลระยะกลางและระยะยาว

เมื่อถามว่า บ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดดินสไลด์ จะมีแนวทางป้องกันหรือช่วยเหลืออย่างไร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะเป็นส่วนหนึ่ง และบอกว่าเป็นเขตที่มีความสุ่มเสี่ยง แผ่นดินถล่ม เรามีการแก้ไขได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ามีหนทางแก้ไขได้ก็จะไม่กระทบกับชาวบ้าน

เมื่อถามว่า การบริหารจัดการของจังหวัดที่สามารถแก้ปัญหาได้ภายในวันเดียว พอใจแค่ไหน นายกฯ กล่าวว่า เชื่อว่าทางผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานอย่างเต็มที่อยู่แล้ว 60 ปีไม่เคยเจอก็เห็นใจ ตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ วันนี้เราควรมองไปข้างหน้ามากกว่า เมื่อช่วงต้นหน้าฝนเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นมาแล้ว ช่วงกลางและช่วงปลายฝนจะชุกมากกว่านี้ จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาอีก และไม่ใช่ดูแค่ตรงนี้เพียงเดียว ยังมีพื้นที่สุ่มเสี่ยงอีกจำนวนมาก คืนนี้จะได้พูดคุยกับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะได้ให้ท่านเป็นเจ้าภาพ บริหารจัดการเรื่องนี้ทั้งหมด 

เมื่อถามว่า จะมีการนำแผนพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 54 จังหวัดเข้าสู่ที่ประชุมครม. จะเร่งผลักดันให้เสร็จโดยเร็วหรือไม่ นายเศรษฐากล่าวว่า ในเรื่องเร่งด่วน เชื่อว่าข้าราชการทุกคน เข้าใจถึงความเร่งด่วนอยู่แล้ว แต่ต้องทำให้รอบคอบและสามารถควบคุมได้ทั้งหมด เชื่อว่าทั้งปลัดและอธิบดีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ดูแลอย่างเต็มที่

เมื่อถามว่า พื้นที่ลุ่มต่ำมีบ้านเรือนของประชาชนปลูกสร้างขวางทางน้ำจะแก้ไขปัญหาอย่างไร นายกฯกล่าวว่า เชื่อว่าต้องยึดตามกฎหมาย และแผนการก่อสร้างจะต้องเชื่อมต่อกับทางผู้ว่าราชการจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามในแผนการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหา ต้องดูทั้งหมด ทั้งเรื่องฟลัดเวย์ ขยายทางเดินน้ำใหม่

จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้มาติดตามการระบายน้ำที่คลองระบายน้ำบริเวณหน้าไปรษณีย์กมลา โดยจุดนี้มีประชาชน ที่ทราบข่าวว่านายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ได้ตะโกนเรียกนายกฯและขอถ่ายรูปด้วยความดีใจ
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.