ผู้นำฝ่ายค้าน ซัดรัฐบาลจัดทำงบปี 67 ไม่ตรงปก ไร้ยุทธ์ศาสตร์ชัดเจน
นายชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นอภิปรายว่า ฟังนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้อ่าน หลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 67 ทำให้นึกถึงบรรยากาศของปีที่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้านี้ ก็มาอ่านแบบนี้ ที่เต็มไปด้วยข้อความสวยหรู แต่ปัญหายังมีอยู่เหมือนเดิม เมื่อเข้าไปดูรายละเอียดของร่างงบประมาณ กล่าวคือแผนงานกว้าง จับต้องไม่ได้ สะเปะสะปะเลื่อนลอย ไม่มียุทธศาสตร์ ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ
นอกจากนี้ 11 ก.ย. 66 นายกแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญทั้งใน เชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองภายในประเทศ เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ วิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของประชาชน และวิกฤตความขัดแย้งในสังคม ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา สร้างความพร้อม และวางรากฐานอนาคตให้กับคนไทยทุกคน รัฐบาลมีกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ขณะเดียวกัน ฝ่ายค้านได้อภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ว่า นโยบายของรัฐบาลไม่เหมือนกับที่เคยหาเสียงเอาไว้ หรือไม่มีความชัดเจน ไม่มีรูปธรรมที่จับต้องได้ นายกฯ บอกว่า เดี๋ยวให้รอดูแผนรายกระทรวง ชัดเจนแน่นอน
พอตามไปดูแผนรายกระทรวง ก็พบปัญหาว่าไม่ได้มีตัวชี้วัดชัดเจน ไม่สามารถวัดความสำเร็จของนโยบายได้จริง หรือไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางนโยบาย เมื่อมาดูไส้ในของแผนงานพบว่าเป็นโครงการเดิมๆ ที่กระทรวงทำอยู่แล้ว เหล้าเก่าในขวดใหม่ ยัดโครงการประจำของกระทรวง เข้ามาในแนวนโยบายที่รัฐบาลจะทำ ค่อนข้างปะปนกันระหว่าง สิ่งที่รัฐบาลจะทำ กับสิ่งที่เป็นงานประจำที่หน่วยงานทำอยู่แล้ว
จนเมื่อ ครม. มีมติครั้งแรกสั่งทบทวน พรบ. งบ 67 ใหม่ ใช้เวลา 3 เดือนในการปรับปรุง เพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบาย แต่สุดท้ายหน้าตาของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้กลับไม่ต่างไปจากเดิม นายกฯบอกว่ามีนโยบายเร่งด่วน ซึ่งควรสะท้อนอยู่ในร่างกฎหมายนี้ แต่กลับต้องผิดหวัง เพราะตั้งงบเพื่อดำเนินนโยบายกไม่ตอบโจทย์ เช่นเดียวกับนโยบายเร่งด่วนในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
ส่วนการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน-งบประมาณเพื่อชดเชยหนี้ให้ กฟผ. จากนโยบายลดค่าไฟ ก็ไม่ได้ถูกตั้งเอาไว้ / ให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งน่าจะต้องทำประชามติ 1-2 ครั้งในปีนี้ รัฐบาลก็ไม่ได้ตั้งงบเอาไว้รอ กกต.ของบไป 2,000 ล้าน แต่ได้มาแค่ 1,000 ล้าน
สำหรับ นโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ตอนแถลงนโยบายบอกว่าจะไม่กู้ แต่วันนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่มีการตั้งงบใดๆ ไว้ในร่าง พ.ร.บ.งบ 67 คงดูต้องว่ารัฐบาลจะสามารถเสนอ พ.ร.บ.เงินกู้เข้าสู่สภาได้หรือไม่
ทั้งนี้ ขอสรุปภาพรวม ร่าง พ.ร.บ. งบ 67 ที่เสนอมา เป็นเบี้ยหัวแตก สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ ทำงานอย่างไม่มีวาระเป้าหมายชัดเจน / หน้าปกอาจจะดูดี แต่พอเข้าไปดูไส้ในแล้วไม่ได้ยึดโยงกับเป้าหมายทางนโยบาย ส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมๆ แต่เอามาโยงให้เข้ากับเป้าหมายใหม่ แถมนับรวมทุกรายจ่ายแล้วเคลมว่าเป็นงบสำหรับการลงทุนใหม่ ที่ชอบทำกันมากที่สุด คืองบตัดถนน กลายเป็นโครงการวิเศษที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกยุทธศาสตร์แบบงงๆ
นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า มี 200 โครงการใหม่ จากทั้งหมด 2000 โครงการ ซึ่งโครงการใหม่ส่วนใหญ่เกิดจากหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นมาก่อนที่จะมีรัฐบาลใหม่ เป็นโครงการที่หน่วยงานราชการเสนอขึ้นมา ไม่ใช่การผลักดันเพื่อขับเคลื่อนโครงการใหม่จริงๆ ซ้ำยังคาดการณ์รายได้เกินจริง (ประมาณแสนล้านบาท) เพื่อที่จะเพิ่มแผนรายจ่ายได้สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ตั้งงบรายจ่ายที่ต้องใช้แน่ๆ ไว้ไม่พอ เช่น บำเหน็จบำนาญ เงินเดือนราชการ งบสวัสดิการ นโยบายเพิ่มเงินเดือนราชการ 10% ค่าชดเชยภาษีรถ EV ค่าไฟชดเชยหนี้ กฟผ. จากนโยบายลดค่าไฟ งบซอฟพาวเวอร์ที่โฆษณาไว้ว่าจะลงงบกว่า 5000 ล้าน ซึ่งรายจ่ายที่ไม่ได้ตั้งงบไว้พวกนี้ รวมๆ แล้วไม่น่าจะน้อยกว่า 1 แสนล้านบาท สุดท้ายก็ต้องปัดไปเป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในปีถัดไป แล้วทุกอย่างโยนไปใช้งบกลาง
ด้วยสถาพเช่นนี้ จึงมองไม่เห็นวาระเป้าหมายของรัฐบาลผ่านการจัดทำ พ.ร.บ. งบประมาณ ซึ่งการจะบรรลุนโยบายเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องใช้งบเยอะเสมอไป เป็น non-budget policy ได้ แต่การจัดสรรงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ก็ไม่ควรจะแย่ขนาดนี้ อย่างเช่น รัฐบาลแถลงนโยบายเร่งด่วนว่าจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม แต่วันนี้ไม่แน่ใจแล้วว่า รัฐบาลกำลังจะทำให้สถานการณ์เรื่องระบบนิติธรรมนิติรัฐ เลวร้ายลงไปอีกหรือไม่ เพราะสังคมกำลังถูกตอกย้ำให้ยอมรับกระบวนการยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน แบบอภิสิทธิชน กฎหมายและคุกมีไว้ใช้สำหรับประชาชนสามัญที่ไม่ได้มีอำนาจ บารมี หรือเงินทองเท่านั้น
นายชัยธวัช กล่าวต่ออีกว่า ตลอด 3 วันนี้ สมาชิกพรรคก้าวไกลและพรรคฝ่ายค้านทั้งหมด จะมาอภิปรายแจกแจงให้เห็นเป็นรูปธรรม ว่าทำไมร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฉบับนี้ถึงมีปัญหาอย่างที่ได้กล่าวสรุปภาพรวมเอาไว้ แต่ก็อยากจะทิ้งท้ายไว้ว่า ปัญหาของการจัดทำ พ.ร.บ. งบประมาณนี้ สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นเพียงรัฐบาลรวมการเฉพาะกิจ ไม่ได้มีวาระเป้าหมายทางนโยบายที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน แต่รวมการเฉพาะกิจเพื่อแบ่งปันอำนาจ แบ่งกันกินแบ่งกันใช้
จึงเห็นการจัดตั้ง ครม.แบบผิดฝาผิดตัวเต็มไปหมด ไม่ได้แบ่งงานกันตามวาระเป้าหมาย แต่แบ่งกันตามโควตาทางการเมือง วางเจ้ากระทรวงไม่ถูกกับงาน เราจึงเห็นนายกฯที่เอาแต่สั่งราชการลอยๆ รอระบบราชการชงให้ แล้วชอบโวยวายเวลาไม่ได้ดั่งใจ แทนที่จะเห็นนายกฯ ที่ทำงานเชิงรุก เข้าไปปลุกปล้ำนโยบายในระดับปฏิบัติ จากที่เคยบอกว่าคิดใหญ่ทำเป็น วันนี้กลายเป็นคิดไปทำไป คิดสั้นไม่คิดยาว หรือไม่ก็คิดอย่างทำอย่าง
หากการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้จะมีวาระร่วมกันจริงๆ ก็คงเป็นวาระเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางอำนาจของชนชั้นนำ เพราะสภาวะการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลชุดนี้ ได้แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งว่า เป็นการรวมตัวกันเพื่อรักษาสภาวะเดิมของสังคมไทยเอาไว้ รวมตัวกันเพื่อฝืนความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เพื่อปกป้องพลังทางสังคมแบบจารีต และต่อต้านพลังทางสังคมใหม่ๆ ที่ต้องการอนาคตที่ดีกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนการรัฐประหาร 2549 สังคมไทยมีโอกาสได้เห็นความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นความหวังแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้นำทางการเมืองในขณะนั้นเล็งเห็นว่า หากประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้ากว่านี้ได้ จำเป็นต้องปฏิรูประบบรัฐราชการ รวมถึงกระบวนการกำหนดนโยบายและระบบงบประมาณ ที่ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ มีความพยายามที่จะเปลี่ยนระบบงบประมาณ ที่เดิมส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบราชการในกระทรวงต่างๆ มาเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล แต่หลังการรัฐประหารจากนั้นเป็นต้นมา รัฐราชการและชนชั้นนำจารีตได้กลับมาควบคุมสังคมไทยอีกครั้ง เราไม่เห็นเจตจำนงและความพยายามของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในการปฏิรูปรัฐไทยอย่างจริงจังอีก เพราะพลังทางการเมืองที่เคยเป็นพลังใหม่ เคยเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันกลับเข้าไปร่วมสมาคมเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจเก่าแล้ว
เราไม่สามารถอยู่กันแบบเดิมๆ ได้แล้ว พวกเราในฐานะฝ่ายค้านไม่อยากเห็นเพราะระบบงบประมาณที่เหมือนเดิม ในฐานะฝ่ายค้านเราพร้อมสนับสนุนฝ่ายบริหาร 3 วันต่อต่อจากนี้พวกเราจะทำหน้าที่ผู้แทนอย่างซื่อตรง สร้างสรรค์ ขอให้ตัวแทนรัฐบาลรับคำวิจารณ์ รับฟังข้อเสนอแนะ และความเห็นของพวกเรา หวังว่าสุดท้ายการพิจารณางบประมาณจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมากที่สุด
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.