ระเบียบราชทัณฑ์ คุมขังนอกเรือนจำ เอื้อทักษิณ ปูทาง ยิ่งลักษณ์ ?

ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 ของกรมราชทัณฑ์ เปิดช่อง เอื้อประโยชน์ให้ใครเป็นพิเศษหรือไม่ บุคคลที่สังคม เพ่งเล็งเป็นพิเศษ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่เดินทางเข้าประเทศไทย 22ส.ค.66 ถึงขณะนี้ พักรักษาตัวโรงพยาบาลตำรวจ เป็นเวลามากกว่า 120 วัน โดยยังไม่ถูกคุมขัง แม้แต่วันเดียว
 
แกนนำ รัฐมนตรีในรัฐบาลเพื่อไทยหลายคน รวมทั้ง 'พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง' รมว.ยุติธรรม ปฏิเสธเสียงแข็ง ระเบียบราชทัณฑ์ คุมขังนอกเรือนจำ ไม่ได้เอื้อ ทักษิณ ชินวัตร ก็ตาม

มีความพยามอธิบาย ระเบียบดังกล่าว ออกมาตั้งแต่ปี2560 เพื่อแก้ปัญหา นักโทษล้นเรือนจำ เพียงแต่ในครั้งนี้ นำมาปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น ผู้ถูกคุมขัง ที่เข้าเงื่อนไข ได้รับเกณฑ์การพักโทษ ต้องผ่าน คณะกรรมการพิจารณาก่อนว่าจะ ผู้ถูกคุมขังรายใดบ้าง จะได้รับอนุญาต ให้ไปถูกคุมขัง ภายนอก ที่เป็นสถานที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร แต่ไม่ได้ทำให้ สังคมคลายความสงสัย 

นักวิชาการ นักการเมือง สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ภาคประชาชน บางกลุ่ม ไม่เห็นด้วย ออกมาแสดงความคิดเห็น คัดค้าน โดยปักใจเชื่อว่า เป็นการเปิดช่องเอื้อ ทักษิณ ชินวัตร อย่างชัดเจน พร้อมกับส่งเสียงเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆ พร้อมกับ ส่งสัญญาณไปถึง เจ้าหน้าที่ที่ช่วยเหลือระวัง บทลงโทษทางคดีที่จะตามมา 

บางมุมมอง มีการวิเคราะห์ว่า ทักษิณ ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้ประโยชน์ แต่ระเบียบนี้ อาจเป็นการปูทาง เข้าทาง 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี มากกว่า

ยิ่งลักษณ์ ขณะนี้ที่มีหมายจับอย่างน้อย 2 ใบ

 
1.คดีปล่อยปละละเลยการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และระบายข้าวจีทูจี เป็นเหตุทำให้ต้องหลบหนีออกจากประเทศไทยไปเมื่อปี 2560  
2. คดีกล่าวหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต โดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาโครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020 มูลค่าโครงการ 240 ล้านบาท

โดยเฉพาะคดี รับจำนำข้าว ศาลฎีกาพิพากษาจำคุก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเวลา 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา หาก ยิ่งลักษณ์ ดำเนินตามรอย ทักษิณ หลังจากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ในทุกขั้นตอน กระบวนความ อาจมีลุ้น เข้าข่าย เข้าเงื่อนไข แห่งระเบียบใหม่ของราชทัณฑ์ 

นับตั้งแต่ ทักษิณ เดินทางเข้าประเทศ ยิ่งลักษณ์ พลอยเงียบหายจาก สังคมโลกโซเชียล เช็กอิน อัพเดทชีวิตความเป็นอยู่ในต่างแดน จนถูกกระแสข่าวลือตั้งคำถาม ถาโถมเข้ามาอย่างหนัก บางกระแส พูดไปถึงขนาดระบุ ยิ่งลักษณ์เข้าประเทศมาแล้ว บางกระแส ไม่ปักใจเชื่อ ยังยืนยัน ใช้ชีวิตในต่างแดนเหมือนเดิม เพียงแต่ไม่อยากถูกจับจ้อง เลยงดแสดงความคิดเห็น โพสต์เรื่องราวต่างๆที่อาจถูกนำไปตีความในโลกโซเชียลก็เท่านั้น  

นับตั้งแต่ ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับเข้าประเทศ เริ่มมีการพูดถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ต้องคดี หลบหนีในต่างประเทศ กำลังเฝ้ามอง ประเมินสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด เป็นระยะๆ และ สัญญาณทางบวกส่อเริ่มเป็นใจให้กลับ ยิ่งลักษณ์ มากขึ้น

ล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชนะคดี โยกย้าย 'ถวิล เปลี่ยนสี' อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)

‘วีระ สมความคิด’ หนึ่งในนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ผู้เฝ้าติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด ระบุในเฟซบุ๊คส่วนตัว อย่างน่าสนใจว่า


‘คดีนี้น่าศึกษาและน่าสนใจอย่างมาก เชื่อว่าคดีนี้จะถูกนำมากล่าวถึงอย่างไม่รู้จบ เนื่องจากเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เพิกถอนประกาศแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี โดยชี้ว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ 
ต่อมาในวันที่ 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 182 วรรค 1(7) ประกอบมาตรา 268 จากกรณีการใช้ตำแหน่งหน้าที่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติ แสดงให้เห็นถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีวาระซ่อนเร้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต
แต่มาในวันนี้ 26 ธ.ค. 2566 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยศาลฯเห็นว่าไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลเห็นว่าขาดเจตนาพิเศษ และเป็นการโยกย้ายตามปกติ’


คดีสำคัญๆของ ยิ่งลักษณ์ แม้จะยังมีหลายกรณี อยู่ในชั้น ปปช. หลายคดี อยู่ระหว่างการพิจารณา ตราบใด ยังไม่มี คำพิพากษาของศาลออกมา ยิ่งทำให้ ถูกจับตามอง

จากระเบียบราชทัณฑ์ คุมขังนอกเรือนจำ ถูกตีความจับตามอง เป็นการเอื้อประโยชน์ ปูทางให้ใครคนใดคนหนึ่ง เป็นพิเศษ กับเรื่องราวชวนเซอร์ไพรส์ จะมีอะไรเกิดขึ้นอีกในปี2567 อีกหรือไม่    

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.