'ทวี'ตอบปม'ทักษิณ'นอนรพ.ตำรวจเกิน120วันราชทัณฑ์ยังไม่ส่งความเห็นแพทย์

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เปิดเผยกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนักโทษเด็ดขาดนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจเกิน  120 วันว่า ยังไม่ได้รับรายงานความเห็นแพทย์จากนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เนื่องจากตามกฎระเบียบมีการระบุชัดเจนว่าต้องเป็นการนอนพักรักษาตัวเกินกว่า 120 วัน 

"อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้มีการเสนอขึ้นมา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้รับทราบ" พ.ต.อ.ทวี ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.อ.ทวี ตัดจบประเด็นคำถามนี้ ระหว่างให้สัมภาษณ์นักข่าวที่กองบัญชาตำรวจปราบปรามยาเสพติดเมื่อช่วงเช้าก่อนขึ้นรถไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์นัดส่งท้ายปี2566 

ด้าน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เปิดเผยว่า กมธ.ได้รับคำชี้แจงการกรมราชทัณฑ์ ถึงการพักรักษาตัวของนายทักษิณซึ่งเกิน 120 วันซึ่งผู้บัญชาการเรือนจำ ได้ทำความเห็นผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อทราบ พร้อมหลักฐานความเห็นคำวินิจฉัยของแพทย์ โดยกรมราชทัณฑ์ ไม่มีอำนาจนำตัวผู้ต้องขัง ออกจากโรงพยาบาลเพราะแพทย์ได้ลงนามรับรองในใบการรักษาประกอบ ที่แนบไปพร้อมกับคำขอให้นักโทษพักรักษาตัวต่อเนื่อง 

ดังนั้น จึงเรียกร้องนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ตรวจสอบอาการป่วยของนายทักษิณ เพราะโรคที่ทราบทั้งความดันโลหิตสูง โควิด-19 เส้นเลือดตีบ และติดเชื้อที่ปวด รวมถึงข้อกระดูกเสื่อม ถือเป็นโรคปกติ ที่ไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวเกิน 120 วัน 

"คณะแพทย์ที่ประชุมร่วมกับกรรมาธิการฯ เมื่อวานนี้ (25 ธ.ค.2566) ให้ความเห็นว่า หากเป็นอาการเกิน 120 วัน อาจจะต้องป่วยร้ายแรง เป็นวาระสุดท้าย หรือร้ายแรงมากถึงขั้นติดเตียง จึงเรียกร้องให้ไปตรวจนายทักษิณ ที่โรงพยาบาลตำรวจว่า แพทย์ผู้รักษาโรงพยาบาลตำรวจ ให้การเท็จหรือไม่ และนายทักษิณ ป่วยด้วยโรคใดถึงต้องรักษาตัวต่อเนื่องเกิน 120 วัน เพราะขณะนี้ ยังมีความเคลือแคลบสงสัย 
 

 

ขณะเดียวกัน  น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) และภาคีเครือข่ายรวม8 รายเข้ายื่นฟ้องรมว.ยุติธรรม และอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุ้มครองในสถานที่คุมขัง 2566 และกฎกระทรวงกำหนดสถานที่คุมขัง 2563 พร้อมขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาระหว่างกพิจารณาคดีให้มีการระงับใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวไว้ก่อน เพราะทำให้กรมราชทัณฑ์มีอำนาจเหนือตุลาการ สามารถเปลี่ยนคำพิพากษาของศาลจากโทษจำคุก กลายเป็นโทษคุมขังหรือกักขังได้ ถือเป็นการทำลายระบบตุลาการทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรม 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.