เดชอิศม์ ขาวทอง เมินกระแสขับพ้นพรรคปมโหวตสวนมติรับปชป.ขาดเอกภาพ

นายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และรองหัวหน้าพรรคดูแลพื้นที่ภาคใต้ ชี้แจงถึงการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมรัฐสภา ที่มี16สส.ปชป.โหวตสวนมติพรรค ให้ความเห็นชอบนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีว่า สืบเนื่องจากมีการประชุมสส.พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 21ส.ค.66มีความเห็นเกิดขึ้นในที่ประชุมว่า ทั้งไม่ควรและไม่ให้ความเห็นชอบ 

สส.อาวุโส เห็นว่าเป็นเพราะความขัดแย้งในอดีต แต่ สส.รุ่นใหม่ใหม่ก็ได้โต้แย้ง เพื่อขอให้แยกหน้าที่ สส.และความแค้นในอดีต เพื่อไม่ให้เป็นอคติตลอดไป จนสส.รุ่นใหญ่ออกจากห้องประชุม และส่วนหนึ่งเห็นว่า ควรให้ความเห็นชอบ เพราะปัจจุบัน ประเทศประสบปัญหา ที่ไม่สามารถปล่อยให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองได้ และยังมีสส.อีกส่วนหนึ่งขอให้งดออกเสียง แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอให้ที่ประชุม อย่ามีการลงมติ เพื่อเป็นมติพรรคฯ ก่อนจะปิดประชุมไป และในการประชุมรัฐสภา 22 สิงหาคม สส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ฟังภาพรวมการอภิปรายแล้ว ก็สามารถยอมรับนายเศรษฐาได้ เพราะมีปัญหาเพียงเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ และได้พิจารณาการลงมติของนายจุรินทร์ ที่งดออกเสียง นายชวน และนายบัญญัติ ที่ไม่เห็นชอบ ซึ่งแตกต่างกัน จึงเห็นว่า การลงมติดังกล่าวไม่ใช่มติพรรคแล้ว เพราะหากเป็นมติพรรคฯ จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่สามารถขอยกเว้นได้ 

"จึงได้พิจารณาถึงประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน ซึ่งพรรคเพื่อไทย ยังสามารถรวบรวมเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรได้ และมีแนวคิดการเป็นรัฐบาลสมานฉันท์ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยุคใหม่ จึงไม่ควรรับมรดกความขัดแย้งในอดีต และเพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าได้ จึงสนับสนุนให้นายเศรษฐา เป็นนายกรับมนตรี โดยที่พรรคประชาธิปัตย์ จะทำหน้าที่ฝ่ายค้าน พร้อมยืนยันว่า พวกตนเอง ทำงานเพื่อประชาชน และมาจากการเลือกตั้ง ให้ความสำคัญกับชาติ และประชาชน และพร้อมลาออกทันที สส.หากรู้สึกทรยศประชาชน"นายเดชอิศม์ กล่าว 

นายเดชอิศม์ ยังยืนยันว่า ขณะนี้ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้านในอดีตเต็มตัว ทั้ง สส. และศักดิ์ศรีความเป็นพรรคประชาธิปัตย์  เพียงแต่เปิดโอกาสให้นายเศรษฐา เข้ามาทำหน้าที่ไม่กระเหี้ยนกระหือรือไปร่วมรัฐบาล เพราะการร่วมรัฐบาลต้องมีเทียบเชิญจากพรรคเพื่อไทย ผ่านที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค และ สส.ของพรรคฯ 

ส่วนกรณีนายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคฯ ดูแลภาคกลาง เรียกร้องให้ตั้งกรรมการสอบกรณีที่นายเดชอิศม์ เดินทางไปพบนายทักษิณที่ต่างประเทศ นายเดชอิศม์ เห็นว่า พวกตนเป็นสส.ยุคใหม่ แยกหน้าที่ กับความโกรธแค้น ไม่ผูกพันกับความรักเพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียง กับอคติ ดังนั้น จึงสนิทกับทุกพรรค ซึ่งหากการเดินทางไปพบคนต่างพรรค ตนคงมีโทษประหารไปแล้ว เพราะตนสนิทกับหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค แต่เมื่อทำหน้าที่ สส.ก็ถือเป็นอีกหน้าที่หนึ่ง

นายเดชอิศม์ ยังกล่าวถึงโทษการขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรคว่า จะต้องใช้เสียง 3 ใน 4 ของ สส. ร่วมกับ กก.บห.จึงยังไม่มั่นใจว่า ใครจะขับใครกันแน่ เพราะเสียงส่วนใหญ่อยู่แถลงข่าวตรงนี้เกือบทั้งหมด แต่ยืนยันว่า ตนเองไม่ได้คิดจะขับใครออกจากพรรค และพร้อมเจรจาพูดคุย บนเหตุผล และความเป็นไปได้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีการพูดคุยใด ๆ รวมถึงการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และการทำงานของพรรคฯ ด้วย 

"พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีเอกภาพตั้งแต่การเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ล่ม ทำให้เกิดความเสียหายแก่พรรค และยังไม่ทราบอีกว่า จะสามารถเลือกได้อีกเมื่อใด ซึ่งจะต้องไปถามกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่ทำให้องค์ประชุมล่ม" นายเดชอิศม์กล่าว

ส่วนจะทำอย่างไรให้แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ สามารถกลับมาทำงานร่วมกันได้นั้น นายเดชอิศม์ ระบุว่า จะต้อมเริ่มจากการประชุมวิสามัญฯ เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ให้ได้ และฝ่ายที่ทำให้องค์ประชุมล่ม ก็จะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้องค์ประชุมครบ และการแข่งขัน ถือเป็นเรื่องปกติของพรรคฯ แม้พวกตนจะแพ้ ก็ยังพร้อมให้ความร่วมมือเป็นลูกพรรคที่ดี เหมือนการเลือกเมื่อปี 2562 ที่ไม่ได้เลือกจุรินทร์แต่ก็พร้อมร่วมงานด้วย และปกป้องกรณีที่มีการล้มเก้าอี้หัวหน้าพรรคฯ พร้อมยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่ถึงขั้นแตกหัก เพียงแต่ความคิดเห็นยังไม่ตรงกัน และพอมีเวลาที่พูดคุย ลดทิฐิ และรับฟังกัน 
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.