สดร.เผยไม่เห็นฝนดาวตกคืนที่ผ่านมาจากสภาพอากาศ รอชม 14-15 ธ.ค.แทน
จากกรณีที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ออกมาเชิญชวนให้ชมฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ซึ่งเป็นร่องรอยของ ดาวหางฮัลเลย์ ในคืนวันที่ 21 จนถึงรุ่งเช้า 22 ต.ค.นี้ บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ด้วยอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝน จะสามารถลุ้นชมความสวยงามได้ทั่วประเทศนั้น
ล่าสุดเมื่อคืนดังกล่าว สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ได้โพสต์ข้อความลงใน X ในช่วงระยะเวลา 23:10 น.ก่อนเวลาที่ระบุว่าจะได้เห็นฝนดาวตกคือในช่วง 23:30 น. ระบุว่า
“ฝนดาวตก” คือคืนที่มีดาวตกมากกว่าปกติ เกิดจากโลกโคจรตัดผ่านสายธารของฝุ่นดาวหาง/ดาวเคราะห์น้อย ส่วน “ดาวหาง” จะปรากฏอยู่บนท้องฟ้าหลายวัน เนื่องจากจะค่อยๆ เปลี่ยนตำแหน่ง เพราะฉะนั้นเราจะไม่เห็น “ดาวหางฮัลเลย์” ในวันนี้ แต่จะเป็น “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ที่เกิดจากดาวหางฮัลเลย์
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (Orionids) มีอัตราการตกเพียง 20 ดวง/ชั่วโมง ประกอบกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ อาจทำให้คืนนี้ไม่สามารถสังเกตได้ แต่หากใครอยากลุ้น ให้มองหา “กลุ่มดาวนายพราน” (Orion) ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ง่ายจากดาวเรียงเด่นสามดวงที่คนไทยเรียกว่า ดาวไถ
สำหรับใครที่พลาดชม #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ คืนนี้ ขอแนะนำรอชม #ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 14-รุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 ด้วยอัตราการตกสูงสุดมากถึง 120-150 ดวง/ชั่วโมง และเป็นช่วงฤดูหนาวที่ฟ้าใสไม่ต้องลุ้นฝน อีกทั้งปีนี้ไร้แสงจันทร์รบกวนด้วยครับ”
สำหรับดาวหางฮัลเลย์ที่กลายเป็นที่สนอกสนใจจากผู้คน ด้วยความนิยมต่อบทเพลง 'ดาวหางฮัลเลย์' นั้น จะไม่ใช่สิ่งที่จะได้เห็นในปีนี้แน่นอน แต่จะได้เห็นอีกทีในอีก 38 ปีข้างหน้า หรือในปี 2604
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.