"หมอเลี้ยบ - สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" ย้ำชัด 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์พาวเวอร์เกิดได้จริง

“1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์” (One Family One Soft Power) เป็นนโยบายที่รัฐบาลที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ผลักดันชูธงนำเป็นโครงการต้นๆที่ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อผลักดัน ซอฟท์ พาวเวอร์ไทยสู่เวทีโลก

โดยนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) จะเริ่มบ่มเพาะคนไทย 20 ล้านคนให้มีทักษะระดับสูง มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร, กีฬา-ฟุตบอล มวยไทย, ดนตรี, แฟชั่น, นักร้อง มาฝึกอบรมฟรี และพัฒนาพร้อมที่จะออกสู่เวทีระดับโลกได้
 

นพ.สุรพงษ์มองว่าส่งเหล่านี้เป็นขุมทรัพย์และภูมิปัญญาที่เรามีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่ได้บริหารจัดการให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วโลก

"เราเพิ่งเริ่ม Kick off กันเมื่อวันที่ 3 ต.ค.66 เองนะครับ ซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังรัฐบาลชุดนี้มารับผิดชอบในหน้าที่นี้แค่ 3 สัปดาห์ แต่ก็เห็นความตื่นตัวเปลี่ยนแปลงเยอะมาก พอเราได้คุยกับทางภาคเอกชนซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทำเวิร์คช็อป พูดคุยบ้างแล้ว ทางภาคเอกชนก็มีความรู้สึกอยากเข้ามาช่วยกันผลักดัน"  สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เผย

"เวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ตั้งรัฐบาล) มีการจัดอันดับ ปัญหาหรืออุปสรรคคืออะไร แล้วข้อเสนออะไรที่อยากให้รัฐฯได้ช่วย ผมว่าจากวันนี้เรามีอีกหลายอย่างที่ต้องเร่งทำ การที่นายกรัฐมนตรีอยากให้มี Quick Win มันไม่ใช่ประเด็นเรื่องทางการเมือง แต่ประเด็นว่าถ้าหากเราสร้างการแข่งขันให้ได้เร็วที่สุดแล้วต่อยอดไปได้มากกว่านี้ น่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้ประเทศไทยยืนอยู่บนเวทีโลกได้ เพราะคนอื่นเขาทำมานานแล้ว เราเสียเวลาไป 17 ปี ดังนั้นเราคงต้องรีบทำ"

ซึ่งโครงการนี้วางกรอบไว้ ใน 100 วันหรือ 3 เดือนเศษๆจะต้องเริ่มเห็นผลและเป็นรูปเป็ยร่าง เริ่มจากการพัฒนาศักยภาพของคนที่มีความสามารถให้เด่นขึ้นมาก่อน เรื่องนี้ไม่ได้เพิ่วเคยเกิด แต่หลายประเทศอย่าง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ทำมาแล้ว

"จากนี้ไปคงเห็นว่า 100 วันที่เราได้พูดในที่ประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม หลายๆเรื่องคงจะออกมา แล้วเราจะคิดต่อไปในเรื่องคน อย่างเรื่อง 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์ พาวเวอร์ ซึ่งเรามองว่าปัญหาเรื่องซอฟท์พาวเวอร์ที่คุยกันมากมายก่อนหน้านี้"
 

"ที่พูดว่าซอฟท์พาวเวอร์ไม่ใช่สินค้า อันนี้ใช่ มันไม่ใช่สินค้า ไม่ใช่บริการ ซอฟท์ พาวเวอร์ที่แท้จริงคือคน บางคนไม่เข้าใจว่าการ ReSkill (เพิ่มทักษะใหม่ๆ) ให้คนนี่เกี่ยวอะไรกับซอฟท์ พาวเวอร์ แต่คนนี่แหละคือพื้นฐานของ ซอฟท์พาวเวอร์ ทุกอย่างของซอฟท์พาวเวอร์ มาจากความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ของคน ถ้าหากเราไม่เริ่มที่คนก่อนเราจะไปติดกับ กับเรื่องของการสร้างความสำเร็จเดิมๆ เรื่อง 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์ พาวเวอร์ คือเรื่องที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ" 

พัฒนาศูนย์บ่มเพาะให้ความรู้วิทยากร

"เราจะมีการเร่งลงทะเบียนภายใน 100 วันจากนี้ ซึ่งเราได้พูดคุยกับกองทุนหมู่บ้านแล้ว กองทุนหมู่บ้านจะเป็นตัวเริ่มของการรับสมัคร เดี๋ยวเราก็จะใช้ระบบลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสำรวจให้ได้เร็วที่สุดครับ"

"ขณะเดียวกัน ช่วงสำรวจระหว่าง 3 เดือนแรกเราก็จะพัฒนาศูนย์บ่มเพาะไปด้วย ศูนย์บ่มเพาะที่ว่าคือโรงเรียนมัธยม อาชีวศึกษา ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการแล้วว่าให้ดำเนินการ ทำเรื่องของบประมาณในการผลักดันเรื่องซอฟท์พาวเวอร์ "

"ที่ต้องทำก่อนแน่ๆคือพัฒนาศูนย์บ่มเพาะ พัฒนาโรงเรียนอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ทันสมัยที่จะรองรับได้ รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับการที่จะให้ครู วิทยาการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นครูในระบบโรงเรียน แต่เป็นครูที่เขาเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่างๆอยู่แล้ว ให้เข้ามาช่วยกันฝึกอบรมให้เร็วที่สุด" 

"อย่างเรื่องอาหารนี่เราได้คุยกับเชฟชุมพลแล้ว (ชุมพล แจ้งไพร : เชฟกระทะเหล็ก) เชฟชุมพลพร้อมทันที ฉะนั้นเราลุยกันได้แล้วครับ" 

"เราตั้งเป้าไว้ว่า 1 ครอบครัวต้องมีอย่างน้อย 1 คน เพราะฉะนั้นเราอยากให้อย่างน้อย 1 ครอบครัว มีสักคนที่มีความสามารถมีทักษะสูง มีความคิดสร้างสรรค์ที่เขาอยากจะทำ อย่างน้อยก็เป็นฐานรายได้ของครอบครัวที่มากพอที่จะทำให้พ้นจากความยากจน"

"บางคนอาจจะบอกว่า ต้องเป็นเด็กนักเรียนไหม ? บอกเลยว่าไม่ใช่ครับ เป็นแม่บ้านอายุ 40 - 50 ปี ก็ได้ แต่เขาอาจจะมีความฝันที่อยากจะทำหรือเป็นในอยากที่เขาอยากเป็น ที่ผ่านมาพวกเขาอาจจะใช้แรงงานกันไปโดยที่ได้ผลตอบแทนต่ำ เขาอาจจะฝึกฝนเป็นเชฟ เป็นนักเขียน หรืออะไรก็ได้ที่เขาอยากทำ" 

นโยบายนี้ มีเป้าหมายที่ที่จะทำให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง โดยจะทำให้คนไทยอย่างน้อย 20 ล้านคนมีรายได้ไม่น้อยกว่า 2 แสนบาทต่อปี หรือ 20,000 บาทต่อเดือน 

"ที่เราตั้งเป้าไว้ที่ 2 แสนบาทต่อปี หรือ เดือนละ 16,000 บาท นั่นเป็นขั้นต่ำ ซึ่งเรามองแล้วว่านี่เป็นเชิงอนุรักษ์ ไม่ว่าจะยังไงเราทำได้แน่ แต่เราไม่คิดว่าคนที่มาอบรมแล้วมีความคิดสร้างสรรค จะได้รายได้เพียงเท่านี้ เพราะรายได้ของคนที่เป็นเชฟทำอาหารบางคนไปหลัก 4-5 หมื่นบาทต่อเดือน หรือเชฟบางคนอาจจะไปถึงแสนบาท ขึ้นอยู่กับควงามสามารถของเขาหลังจากได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว"  กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติปิดท้าย 
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.