29 กันยายน “วันหัวใจโลก” โรชเผยสถิติโรคหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจที่แข็งแรงเป็นประตูสู่การมีสุขภาพที่ดี ดังนั้นเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease: CVD) ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการช่วยเหลือผู้คนทั่วโลกให้มีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี สหพันธ์หัวใจโลกจึงกำหนดให้วันที่ 29 กันยายนของทุกปี เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) และสำหรับธีมรณรงค์ในปี 2566 นี้ คือ “Use heart, know heart is open-ended” [1]

ด้วยจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และในทุกปีพบว่าผู้คนหลายล้านคนเสียชีวิตด้วยสาเหตุมาจากโรคหัวใจ ทำให้โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) กลายเป็นประเด็นที่น่ากังวล จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก[2]  และในเอเชียพบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้มากที่สุด โดยสูงถึง 58% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากทั่วโลก หรือเป็นจำนวน 10.8 ล้านคน[3] 

ขณะที่ประเทศไทย พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน หรือ 58,681 คนต่อปี และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)

ตามรายงาน “Heart Failure Unseen: Unmasking the gaps and escalating crisis in Asia Pacific” ของ “โรช” (Roche) ระบุว่า ในเวลาไม่ถึงสามทศวรรษ ระหว่างปี 2533-2562 การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นถึง 12% หรือเท่ากับ 5.2 ล้านคน[4]  เนื่องจากจำนวนของประชากรที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย รวมถึงแนวโน้มการเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และคาดว่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งรวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)[5]  ทั้งนี้

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุหลักทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีอัตราเสียชีวิตสูง (เกินกว่า 50% ในระยะเวลา 5 ปี)[6]

ปัจจัยเสี่ยงและอาการโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่สำคัญที่สุดของโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ[7] เมื่อโรคหัวใจมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายทรุดโทรมลง อาจนำไปสู่การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น ดังนั้น การตรวจพบโรคและได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันไม่ให้โรคหัวใจได้มีโอกาสทำลายสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ปัญหาใหญ่ของแพทย์ - การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว

จากรายงาน Heart Failure Unseen: Unmasking the gaps and escalating crisis in Asia Pacific ได้ทำการศึกษาความไม่เพียงพอของมาตรฐานการดูแลรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวในเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบัน โดยพบว่า ปัญหาใหญ่ที่แพทย์ต้องเผชิญเมื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว คือการวินิจฉัยโดยพิจารณาจากอาการเป็นหลัก อาจเนื่องมาจากการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการวินิจฉัย และการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker หรือ biomarker) ที่จำกัด

การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยพิจารณาจากอาการเพียงอย่างเดียวคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจจำนวน 16.1% ได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาดจากโรงพยาบาล[8]  เนื่องจากอาการที่แสดงออกของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น หายใจลำบาก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย มีความคล้ายคลึงกับอาการป่วยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง

ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ หรือ Biomarker ที่มีต่อการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว

การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัยที่ดีขึ้น และการยกระดับการเฝ้าระวังโรคที่ดีขึ้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ หรือ biomarker ต่าง ๆ ของระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiacbiomarker) อย่างเช่น NT-proBNP สามารถมอบภาพรวมที่เป็นประโยชน์กับงานวินิจฉัยและการบริหารจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งการได้เห็นภาพรวมในเรื่องสุขภาพ ร่วมกับการมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ ช่วยให้แพทย์สามารถเลือกรูปแบบการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้เป็นอย่างดี และเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย นอกเหนือจากแนวปฏิบัติทางคลินิกระดับสากลที่

แนะนำให้ใช้ NT-proBNP เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยแล้ว การศึกษาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังแสดงหลักฐานที่สะท้อนคำแนะนำเหล่านี้อีกด้วย[9]

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลวถือเป็นภาระอันหนักหน่วง เมื่อมองในมุมของการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายทางตรง อาทิ ค่าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่ายา ค่าบำบัดฟื้นฟูสภาพ และค่ารักษาสำหรับผู้ป่วยนอก ส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อม อาทิ ค่าความสูญเสียจากการทำงานได้ไม่เต็มที่ ค่ารักษานอกสถานพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเสียชีวิตหรือเกษียณอายุก่อนเวลาอันควร

ในประเทศไทย มีตัวเลขประมาณการของค่าใช้จ่ายทางตรง 0.6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาทต่อปี และค่าใช้จ่ายทางอ้อม 0.7 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาทต่อปี[10]  แบ่งเป็นค่าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 49% ในขณะที่ค่าตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) รายปีต่อหัว อยู่ที่ 3,513 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 1.25 แสนบาท ค่าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหล้ว (Heart Failure)  7,181 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.5 แสนบาท และระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยคนละ 14.2 วัน[11]

จากข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Cardiology แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในเอเชียมักต้องกลับเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลอีกครั้งหลังออกจากโรงพยาบาลได้ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ การตรวจหาค่า NT-proBNP จะช่วยลดระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ถึง 12% ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยตรงได้ถึง 10% และลดอัตราการแอดมิทฉุกเฉินได้ถึง 50% ดังนั้น การดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ไม่ดีพอนำไปสู่การเพิ่มค่าใช้จ่ายจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ในระบบสาธารณสุข อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางการเงินของผู้ป่วยในประเทศที่ไม่มีสวัสดิการครอบคลุมในส่วนนี้และต้องออกค่าจ่ายด้วยตนเอง

ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) และภาวะหัวใจล้มเหลว

การเลิกสูบบุหรี่ การลดกินเค็ม การรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำ และการงดเว้นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ประเทศต่าง ๆ ควรส่งเสริมนโยบายด้านสุขภาพที่สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการตัดสินใจเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพในราคาที่เอื้อมถึงและหาได้ง่าย เพื่อจูงใจให้ผู้คนมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ[12]

29 กันยายน วันหัวใจโลก

ธีมวันหัวใจโลก (World Heart Day) ปี 2566 “Use heart, know heart is open-ended” กระตุ้นให้ทุกคนดูแลหัวใจของตนเองและผู้อื่น แคมเปญปีนี้เน้นไปที่ขั้นตอนสำคัญในการเข้าใจหัวใจก่อน “เพราะเมื่อเรารู้มากขึ้น เราก็สามารถดูแลได้ดีขึ้น” ซึ่งในโลกที่ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจมีจำกัดและนโยบายไม่เพียงพอในแต่ละประเทศ สหพันธ์หัวใจโลกจึงมีเป้าหมายที่จะทลายกำแพงและมอบอำนาจให้แต่ละบุคคลควบคุมความเป็นอยู่ที่ดีของตนได้ ปีนี้สหพันธ์หัวใจโลกส่งเสริมให้ผู้คนใช้อิโมจิสัญลักษณ์หัวใจ ❤️ เป็นภาษาภาพสื่อสารต่อกันเพื่อแสดงความห่วงใยต่อคนที่อยู่รอบตัว และสร้างความตระหนักถึงการดูแลรักษาให้ใจที่ถูกวิธี

เกี่ยวกับโรช

โรชก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยารายแรกๆ จวบจนวันนี้ โรชเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้นำทางด้านศาสตร์แห่งการตรวจวินิจฉัยแบบภายนอกร่างกาย (in-vitro diagnostics) บริษัทฯ มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาเวชภัณฑ์ รวมถึงวิธีการตรวจวินิจฉัย เพื่อรักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก โรชคือผู้ริเริ่มรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) และมุ่งหวังที่จะพลิกโฉมบริการด้านเฮลต์แคร์ บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ มากมายเพื่อส่งมอบการดูแลที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคล โดยการผสานความแข็งแกร่งของงานด้านเวชศาสตร์ เข้ากับศาสตร์แห่งการวินิจฉัย และใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงทางการแพทย์

ทั้งนี้ ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices, DJSI) ได้ยกย่องให้โรชเป็นหนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในวงการเภสัชกรรมเป็นระยะเวลาติดต่อกันมาแล้วถึง 13 ปี ถือเป็นเครื่องยืนยันความอุตสาหะ และความมุ่งมั่นในการดำเนินตามวิสัยทัศน์ของโรชได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของโรชในการเพิ่มการเข้าถึงบริการเฮลต์แคร์ ผ่านความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ

ยีนเอ็นเทค (Genentech) ในสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่กลุ่มบริษัทโรชเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด และโรชเป็นผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท ชูไก ฟาร์มาซูติคอล (Chugai Pharmaceutical) ในประเทศญี่ปุ่น

###

MC-TH-00984

[1] On World Heart Day 202. Available at https://world-heart-federation.org/world-heart-day/about-whd/world-heart-day-2023/ Accessed Sep. 18, 2023.

2 The top 10 causes of death. Available at www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death. Accessed Sep. 18, 2023.

3 Global Burden of Disease Collaborative Network. "Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) Results". Seattle, WA: Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME), 2020. Available at: http://ghdx.healthdata.org/gbd-results-tool. Accessed May 1, 2021.

4 Zhao D. Epidemiological features of cardiovascular disease in Asia. JACC Asia. 2021;1(1):1-13.doi:10.1016/j.jacasi.2021.04.007.

5 Sidik SM. Heart-disease risk soars after COVID - even with a mild case. Nature. 2022;602(7898):560-560. doi:10.1038/d41586-022-00403-0.

6 T.E. Owan, D.O. Hodge, R.M. Herges, S.J. Jacobsen, V. L. Roger, M.M. Redfield. Trends in prevalence and outcome of heart failure with preserved ejection fraction. (2006) N. Engl. J Med, 355 251-259.

7 Cardiovascular diseases (CVDs). Available at www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds) Accessed Sep. 18, 2023.

8 Wong, C., et al (2021). Misdiagnosis of Heart Failure: A Systematic Review of the Literature. Journal of Cardiac Failure, 27(9), pp.925-933. Retrieved from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1071916421002049?via%3Dihub

9 Lab Insights. Evidence-based medicine in heart failure: insights from Prof David Sim. Available at https://www.labinsights.com. Accessed June 23, 2023.

10 The Economist Intelligence Unit Limited, editor. The Cost of Silence Cardiovascular disease in Asia. 2018.

11 S. Lee, R. Khurana, K.T.G. Leong. Heart failure in Asia: the present reality and future challenges. Eur. Heart J. Suppl., 14 (Suppl A) (2012), pp. A51-A52.

12 Cardiovascular diseases (CVDs). Available at www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds) Accessed Sep. 18, 2023.

[1] On World Heart Day 202. Available at https://world-heart-federation.org/world-heart-day/about-whd/world-heart-day-2023/ Accessed Sep. 18, 2023.

[2] The top 10 causes of death. Available at www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death. Accessed Sep. 18, 2023.

[3] Global Burden of Disease Collaborative Network. "Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) Results". Seattle, WA: Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME), 2020. Available at: http://ghdx.healthdata.org/gbd-results-tool. Accessed May 1, 2021.

[4] Zhao D. Epidemiological features of cardiovascular disease in Asia. JACC Asia. 2021;1(1):1-13.doi:10.1016/j.jacasi.2021.04.007.

[5] Sidik SM. Heart-disease risk soars after COVID - even with a mild case. Nature. 2022;602(7898):560-560. doi:10.1038/d41586-022-00403-0.

[6] T.E. Owan, D.O. Hodge, R.M. Herges, S.J. Jacobsen, V. L. Roger, M.M. Redfield. Trends in prevalence and outcome of heart failure with preserved ejection fraction. (2006) N. Engl. J Med, 355 251-259.

[7] Cardiovascular diseases (CVDs). Available at www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds) Accessed Sep. 18, 2023.

[8] Wong, C., et al (2021). Misdiagnosis of Heart Failure: A Systematic Review of the Literature. Journal of Cardiac Failure, 27(9), pp.925-933. Retrieved from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1071916421002049?via%3Dihub

[9] Lab Insights. Evidence-based medicine in heart failure: insights from Prof David Sim. Available at https://www.labinsights.com. Accessed June 23, 2023.

[10]  The Economist Intelligence Unit Limited, editor. The Cost of Silence Cardiovascular disease in Asia. 2018.

[11] S. Lee, R. Khurana, K.T.G. Leong. Heart failure in Asia: the present reality and future challenges. Eur. Heart J. Suppl., 14 (Suppl A) (2012), pp. A51-A52.

[12] Cardiovascular diseases (CVDs). Available at www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds) Accessed Sep. 18, 2023.

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.